จีน หนุนธุรกิจผู้สูงอายุ หลังตัวเลขมากกว่า 220 ล้านคน
“จีน” กำหนดแผนพัฒนาตั้งเป้ากระตุ้นการบริโภคภายใน และเปิดตลาดผู้สูงอายุ (Elderly Care Market)
รัฐบาลจีนวางแผนเศรษฐกิจเน้นทำให้เกิดการลงทุนโดยภาคเอกชนมากขึ้น โดยหน่วยงานด้านวางแผนเศรษฐกิจ ตั้งเป้าหมายกระตุ้นภาคบริการ (Tertiary Sector) การพัฒนาสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Good) ) และการเพิ่มอุปทานในตลาด
นาย Zhao Lidong คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) กล่าวว่า จีนจำเป็นต้องเร่งอัตราการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในการเร่งการลงทุน ซึ่งผนวกกับการพัฒนาสินค้าและบริการ โดยตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคในเมือง จากความต้องการที่สูงขึ้นในกลุ่มสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
รัฐบาลกลางของจีนมีการประกาศแนวทางการกระตุ้นการบริโภคภาคบริการให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเร่งกระบวนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยธุรกิจที่เป็นหัวใจหลักในการพัฒนา ประกอบด้วย ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจวัฒนธรรม ธุรกิจการกีฬา ธุรกิจสุขภาพ และธุรกิจการศึกษา รวมทั้งยังมีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าไอที อาทิ สมาร์ทโฟน Gadget และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนจำเป็นต้องกระตุ้นผู้ประกอบการให้แสดงจุดเด่นด้านคุณภาพสินค้า เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จากประชาชนที่นิยมสินค้านำเข้าให้กลับมาใช้สินค้าจีน โดยการดำเนินนโยบายดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าการบริโภคมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 71 ของ GDP ในปี 2016 คิดเป็นการเติบโตร้อยละ 13.3
ด้านนาย Hao Fuqing คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) กล่าวเสริมว่า จีนกำลังดำเนินการเปิดตลาดธุรกิจด้านผู้สูงอายุ (Elderly Care Market) และสถิติระบุเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป มีมากกว่า 220 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.1 ของจำนวนประชากร และจะมีการขยายตัวมากขึ้นอีกด้วย
นาย Zhao Lidong คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) กล่าวว่า จีนจำเป็นต้องเร่งอัตราการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในการเร่งการลงทุน ซึ่งผนวกกับการพัฒนาสินค้าและบริการ โดยตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคในเมือง จากความต้องการที่สูงขึ้นในกลุ่มสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
รัฐบาลกลางของจีนมีการประกาศแนวทางการกระตุ้นการบริโภคภาคบริการให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเร่งกระบวนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยธุรกิจที่เป็นหัวใจหลักในการพัฒนา ประกอบด้วย ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจวัฒนธรรม ธุรกิจการกีฬา ธุรกิจสุขภาพ และธุรกิจการศึกษา รวมทั้งยังมีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าไอที อาทิ สมาร์ทโฟน Gadget และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนจำเป็นต้องกระตุ้นผู้ประกอบการให้แสดงจุดเด่นด้านคุณภาพสินค้า เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จากประชาชนที่นิยมสินค้านำเข้าให้กลับมาใช้สินค้าจีน โดยการดำเนินนโยบายดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าการบริโภคมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 71 ของ GDP ในปี 2016 คิดเป็นการเติบโตร้อยละ 13.3
ด้านนาย Hao Fuqing คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) กล่าวเสริมว่า จีนกำลังดำเนินการเปิดตลาดธุรกิจด้านผู้สูงอายุ (Elderly Care Market) และสถิติระบุเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป มีมากกว่า 220 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.1 ของจำนวนประชากร และจะมีการขยายตัวมากขึ้นอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น