ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พฤติกรรมการบริโภคผลไม้

พฤติกรรมการบริโภคผลไม้ 1. ผลไม้ที่นิยมบริโภคประจำ ซึ่งได้รับความนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ แตงโม ร้อยละ 44.93 ส้ม ร้อยละ 42.91 และกล้วย ร้อยละ 29.11 ซึ่งเป็นที่นิยมในผู้ตอบเกือบทุกกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค 2. ผลไม้ตามฤดูกาล ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ที่ได้รับความนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน ร้อยละ 58.83 เงาะ ร้อยละ 47.68 และมังคุด ร้อยละ 38.49 ซึ่งเป็นที่นิยมในทุกกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค 3. เหตุผลในการเลือกบริโภคผลไม้แต่ละชนิด คือ ชอบในรสชาติ ร้อยละ 76.44 ตามด้วยปัจจัยด้านราคา ร้อยละ 20.15 การบำรุงสุขภาพ ร้อยละ 20.11 ตามกระแสนิยม ร้อยละ 4.80 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.95 เมื่อพิจารณาตามชนิดผลไม้ พบว่า รสชาติยังคงเป็นปัจจัยหลัก โดยมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ในทุกชนิดผลไม้ 4. รูปแบบการจำหน่ายปลีกผลไม้ ผู้ตอบร้อยละ 65.53 นิยมเลือกซื้อผลไม้แบบที่ไม่ได้บรรจุแพ็ค หรือต้องการคัดเลือกผลไม้เอง รองลงมาคือ ผลไม้ที่แพ็คเรียบร้อยแล้วและตัดแต่งพร้อมทาน ร้อยละ 24.48 และผลไม้ที่แพ็คแล้วแต่ยังไม่ได้ตัดแต่ง ร้อยละ 10.00 หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค พบว่า ผู้ตอบทุกกลุ่มนิยมเลือกซื้อผลไม้แบบที่ไม่ได้บรรจุแพ็ค 5. ปริมาณการบริโภคผลไม้ ช่วงเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม นี้ ผู้ตอบร้อยละ 48.98 จะบริโภคผลไม้เท่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 23.26 บริโภคลดลง ร้อยละ 16.32 และบริโภคมากขึ้นร้อยละ 11.45 สำหรับการพิจารณาตามกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค พบว่า กลุ่มผู้ตอบที่มีสัดส่วนคนที่มีแนวโน้มบริโภคมากขึ้นค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ จะเป็นกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และนักศึกษา นายพูนพงษ์ กล่าวถึงผลสำรวจครั้งนี้ว่า ปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยนิยมบริโภคผลไม้โดยเน้นความชอบในรสชาติเป็นสำคัญ และจะเลือกซื้อ ณ สถานที่จำหน่ายที่มีความสะดวก ราคาเหมาะสม สินค้ามีคุณภาพ และสามารถเลือกสินค้าได้ ส่งผลให้ตลาดสด/ตลาดนัด ร้านผลไม้ และซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีคุณสมบัติข้างต้น รวมถึงการจำหน่ายแบบไม่แพ็ค ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อเลือกสินค้าเอง ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ดังนั้น เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะรสชาติ และเชื่อมโยงผลผลิตไปยังตลาดที่ได้รับความนิยม พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางสั่งซื้อโดยตรงเพื่อจับตลาดผู้มีกำลังซื้อสูง สำหรับบรรยากาศการซื้อขายผลไม้ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคมนี้ คาดว่าจะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วมากนัก ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องบริหารจัดการผลผลิตที่ทยอยออกสู่ตลาด โดยเฉพาะการกระจายผลผลิตทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามดูแลสถานการณ์การจำหน่ายผลไม้ในประเทศอย่างใกล้ชิด ทั้งการดำเนินโครงการ “โมบายธงฟ้า” เพื่อเป็นจุดซื้อทางเลือกให้ผู้บริโภค รวมถึงการประสานผู้ประกอบการ ผู้รวบรวม โรงงาน ห้างค้าปลีกค้าส่ง ห้างท้องถิ่น และสถานีบริการน้ำมัน ตลอดจนโครงการคอนโดมีเนียมและหมู่บ้าน เพื่อกระจายจุดรับซื้อและจำหน่ายผลไม้อย่างทั่วถึง ขณะที่ตลาดต่างประเทศ ได้มีการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อให้การขนส่งผลไม้ทางเรือ และทางถนนผ่านด่านการค้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างคล่องตัว และล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการจัดการผลไม้และพืชเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมผลไม้ 11 ชนิด ได้แก่ (1) ทุเรียน (2) มังคุด (3) เงาะ (4) ลองกอง (5) ลำไย (6) สับปะรด (7) ลิ้นจี่ (8) ส้มโอ (9) ส้มเขียวหวาน (10) มะยงชิด และ (11) มะม่วง ซึ่งเชื่อมั่นว่า การดำเนินการข้างต้น จะสามารถเพิ่มช่องทางกระจายผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมรายได้เกษตรกร และช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลไม้คุณภาพดี ราคาเหมาะสม ตลอดปี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีกา...

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมอง...

คุมงานการก่อสร้างแบบภาคสนาม ขององค์กร มีแบบการทำงานวิชาการทำงานวิศวะกรรม ที่ชำนาญ

รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2 กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพ   เนื่องจากผมเพิ่งได้รับโอกาสในการควบคุมงานก่อสร้างบ้านเพิ่มเติมมาอีกหนึ่งหลัง ซึ่งเป็นงานเริ่มต้นตั้งแต่การเปิดพื้นที่ไปจนถึงปิดจบงานสุดท้าย เป็นโอกาสที่ดีในการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนการทำงานรวมถึงการแก้ไขงานตั้งแต่แรกเริ่มจนจบ ผมจึงอยากรวบรวมขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ศึกษาและติดตามกันครับ จากกระทู้ รานงานการก่อสร้าง ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647   ผมได้ตั้งไปแล้ว วันนี้ผมขอลงตอนที่ 2 เพื่อติดตามงานต่อกันนะครับ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านที่อาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ ผมได้ลงกระทู้   รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ   http://pantip.com/topic/30617973 ว่างๆลองไปอ่านได้นะครับ ...