บริษัท คาสเซ่อร์พีค โฮลดิ้งส์ จักัด(มหาขน) แผนป้องกันความเสี่ยง โครงการสิวารัตน์
โครงการจัดสรรที่ดิน โครงกา สิวารัตน์ บริษัท เอกธนา พร็อพเพ่อตี้ จำกัด และโครงการอื่นๆ
การบริหารความเสี่ยง
โครงการ สิวารัตน์ ๙ ตั้งเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยง ทางธุรกิจไว้ ๔ ด้าน ดั่งนี้
การบริหารความเสี่ยง
โครงการ สิวารัตน์ ๙ ตั้งเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยง ทางธุรกิจไว้ ๔ ด้าน ดั่งนี้
ภัยวิบัติ ธรรมชาติที่ไม่สามารถกำหนดได้ ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด
การป้องกัน คือการเตีรยม บุคลากรและเตรียมองค์กร ให้มีความพร้อม ตลอดเวลา และวิเคราะห์
สถานการต่อเนื่องเกียวกับภัยธรรมขาติ พร้อมจะต่อสู้ตลอดเวลาพร้อมแก้ไขทุกสถานการ
การป้องกัน คือการเตีรยม บุคลากรและเตรียมองค์กร ให้มีความพร้อม ตลอดเวลา และวิเคราะห์
สถานการต่อเนื่องเกียวกับภัยธรรมขาติ พร้อมจะต่อสู้ตลอดเวลาพร้อมแก้ไขทุกสถานการ
PROBLEM SOLVING & DECISION MAKING การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ของผู้บริหาร
PROBLEM SOLVING & DECISION MAKING : การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
เรียบเรียง โดย ศาสตราจารย์ ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์
ดร.สมัย เหมมั่น รองกรรมการ สิวารัตน์ฯ
1. การแก้ปัญหาและการตัดสินใจเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหาร ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง การแก้ปัญหาเป็นการนำข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตมาแก้ไขในปัจจุบัน และการตัดสินใจจะเกี่ยวข้องในขั้นตอนการเลือกแนวทางเพื่อแก้ปัญหา โดยขั้นตอนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจประกอบด้วย
(1) การจำแนกและกำหนดปัญหา
(2) การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
(3) การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา และ
(4) การเลือกวิธีแก้ปัญหา
2. การแก้ปัญหาที่ถูกต้องเริ่มจากการหาปัญหา และจำแนกปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการรวบรวมข้อมูล ซึ่งปัญหาจำแนกได้ 3 ประเภท คือ
(1) ปัญหาประจำวัน
(2) ปัญหาวิกฤต และ
(3) ปัญหาที่เป็นโอกาส
ขั้นตอนสำคัญต่อมา คือ การกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและถูกต้อง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
3. เมื่อกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงานได้ถูกต้องแล้ว ขั้นต่อมาคือ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และเป็นสาเหตุหลักของปัญหาดังกล่าว เครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการตรวจหาสาเหตุ คือ ผังก้างปลา ส่วนเครื่องมือที่ช่วยเลือกสาเหตุหลัก คือ แผนภูมิพาเรโต และเครื่องมืออื่นๆ เมื่อได้สาเหตุหลักของปัญหาแล้วจึงนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและถูกต้องตามหลักการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี
4. ในขั้นตอนการหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งควรหาทางเลือกหลายๆ วิธี และสามารถใช้เทคนิคต่างๆ ช่วยในการหาทางเลือกใหม่ๆ โดยมี 2 แนวทางหลัก คือ การหาทางเลือกด้วยตนเอง โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการหาทางเลือกโดยกลุ่ม ได้แก่ เทคนิคการระดมสมอง กลุ่มนามบัญญัติ และกลุ่มเดลฟาย การใช้เทคนิคเหล่านี้อย่างถูกวิธีจะทำให้ได้ทางเลือกที่หลากหลายและแปลกใหม่
5. ขั้นตอนสุดท้ายของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ คือ การเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีและเหมาะสมที่สุดจากทางเลือกที่มีอยู่ โดยสามารถใช้เทคนิคการให้คะแนนตามเกณฑ์ หรือเทคนิคอื่นๆ มาช่วยในการเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ความหมายและขั้นตอนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหาร การตัดสินใจที่ดีและมีคุณภาพของทุกคนในองค์การโดยเฉพาะผู้บริหาร จะมีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหน่วยงานได้ ดังนั้น ความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจจึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของทั้งพนักงานและผู้บริหารที่องค์การต้องการ ซึ่งทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาได้
1. ความหมายของปัญหา การแก้ปัญหาและการตัดสินใจปัญหา (Problem) หมายถึง ช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่างสภาพการณ์ปัจจุบัน กับ สภาพการณ์ที่เราต้องการให้เกิดขึ้น หรือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การแก้ปัญหา (Problem Solving) หมายถึง กระบวนการในการทำให้เกิดสภาพการณ์ที่เราคาดหวัง อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนไม่น้อยไม่รู้ว่าสิ่งที่คาดหวังคืออะไร รวมถึงบางครั้งก็ไม่สามารถไปถึงสิ่งที่คาดหวังหรือเป้าหมายได้ เพราะไม่มีแนวทางที่ชัดเจนหรือเหมาะสมในการแก้ปัญหา
การตัดสินใจ (Decision–making) หมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติจากทางเลือกที่มีอยู่ 2 ทางเลือกหรือมากกว่า เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเพื่อให้เกิดผลตามสิ่งที่มุ่งหวัง ซึ่งผลของการตัดสินใจของสมาชิกองค์การทุกคนล้วนมีผลกระทบต่องานที่ทำและต่อองค์การของตน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เมื่อมีปัญหาเราต้องทำการตัดสินใจ เพราะปัญหาก่อให้เกิดโอกาสและทางเลือกต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจว่าจะเลือกดำเนินไปทางไหน จึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด หรือเสียหายน้อยที่สุด
ดังนั้น ในกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบต้องอาศัยกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจที่มีคุณภาพ จึงจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหานั้นได้หรือสามารถบรรลุตามสิ่งที่มุ่งหวัง
3. ประเภทของปัญหาและการตัดสินใจภาระรับผิดชอบที่หลากหลายของผู้จัดการ ทำให้ผู้จัดการต้องเผชิญกับการตัดสินใจหลายประเภทแตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งประเภทของปัญหาและการตัดสินใจได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
3.1 ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจนและการตัดสินใจแบบมีโปรแกรม (Well Structured Problem and Programmed Decisions)
ปัญหาประเภทที่มีลักษณะปัญหาตรงไปตรงมาและเป็นปัญหาที่คุ้นเคย เกิดขึ้นบ่อยๆ สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาได้ง่ายและมีข้อมูลครบถ้วน เรียกว่า ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน วัตถุประสงค์ในการตัดสินใจแก้ปัญหาของผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจจึงชัดเจน ตัวอย่างของปัญหาประเภทนี้ เช่น ลูกค้าลืมสิ่งของไว้ในห้องพักโรงแรม ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อย โรงแรมแต่ละแห่งจึงมักกำหนดขั้นตอนมาตรฐานในการแก้ปัญหาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมักเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดี ขั้นตอนแก้ปัญหาที่สามารถกำหนดได้ล่วงหน้าชัดเจนเช่นนี้ จึงเรียกว่า การตัดสินใจแบบมีโปรแกรม ซึ่งช่วยให้ผู้ตัดสินใจไม่ต้องยุ่งยากหรือเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการหาแนวทางตัดสินใจ และบ่อยครั้งที่ผู้บริหารสามารถมอบอำนาจการตัดสินใจให้พนักงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาได้เลย โดยผู้บริหารไม่ต้องไปจัดการด้วยตนเอง โดยยึดตามแนวทางที่ช่วยในการตัดสินใจ ได้แก่ ขั้นตอนการทำงาน กฎระเบียบ หรือนโยบาย
ขั้นตอนการทำงาน (Procedure) คือ ขั้นตอนดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน ที่ ผู้บริหารสามารถใช้ในการจัดการปัญหาที่มีโครงสร้าง สิ่งที่ยาก คือ การกำหนดปัญหา ถ้าปัญหานั้นมี ความชัดเจน ก็สามารถใช้ขั้นตอนการทำงานแก้ปัญหาได้ ปัจจุบันมักมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจโดยอัตโนมัติ เช่น ระบบการจัดซื้อ การคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา เป็นต้น กฎระเบียบ (Rule) คือ ข้อความที่ประกาศอย่างเป็นทางการขององค์การถึงสิ่งที่พนักงานรวมถึงผู้บริหารควรหรือไม่ควรกระทำในกรณีต่างๆ ดังนั้น ถ้าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณีที่ระบุในกฎระเบียบแล้ว ผู้บริหารมักยึดแนวทางของกฎระเบียบในการตัดสินใจเพื่อความคงเส้นคงวาในการปฏิบัติ และความเป็นธรรม เช่น ระเบียบเกี่ยวกับการมาปฏิบัติงาน การมาทำงาน และการขาดงานของพนักงาน เป็นต้น นโยบาย (Policy) คือ ข้อความกว้างๆ ที่ให้แนวทางให้ผู้บริหารคิดในทิศทางที่องค์การต้องการ ซึ่งนโยบายจะชี้แนะถึงตัวแปรหรือปัจจัยที่ควรคำนึงสำหรับผู้ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจยังคงขึ้นกับการใช้วิจารณญาณของผู้ตัดสินใจตามสมควร ซึ่งต่างจาก “กฎระเบียบ” ที่กำหนดด้วยข้อความที่เฉพาะเจาะจงถึงสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ ตัวอย่างนโยบาย เช่น “ลูกค้าสำคัญเป็นอันดับแรกและต้องได้รับความพึงพอใจเสมอ” หรือ “อัตราค่าตอบแทนของพนักงานจะต้องสามารถแข่งขันได้ภายในท้องที่เดียวกัน” เป็นต้น
3.2 ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจนและการตัดสินใจแบบไม่มีโปรแกรม (Ill–Structured Problem and Non-programmed Decisions)
ในสภาพความเป็นจริงของการทำงาน ผู้บริหารไม่อาจเผชิญแต่ปัญหาที่มีโครงสร้างชัดเจน บ่อยครั้งที่ผู้บริหารต้องพบกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน กล่าวคือ เป็นปัญหาที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่ใช่ปัญหาปกติ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นคลุมเครือหรือไม่สมบูรณ์ ตัวอย่างปัญหาประเภทนี้ เช่น ปัญหาการเลือกสถาปนิกเพื่อออกแบบอาคารสำนักงานบริษัทใหม่ ปัญหาว่าควรลงทุนในเทคโนโลยีใหม่หรือไม่ ปัญหาว่าควรยุบเลิกธุรกิจที่ขาดทุนหรือไม่ เป็นต้น เมื่อต้องเผชิญปัญหาที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจนเช่นนี้ ผู้บริหารต้องใช้การตัดสินใจแบบไม่มีโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา โดยเป็นการตัดสินใจเฉพาะเรื่อง ที่ต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจนั้นเหมาะสมในสถานการณ์นั้นที่สุด
4. สภาวะหรือระดับของการตัดสินใจ (Decision–Making Conditions)ระดับของการตัดสินใจที่ผู้บริหารมักเผชิญในการทำการตัดสินใจ ได้แก่ การตัดสินใจภายใต้สภาวะความแน่นอน ความเสี่ยง และความไม่แน่นอน
4.1 การตัดสินใจในสภาวะความแน่นอน (Certainty)
ภายใต้สภาวะที่มีความแน่นอน ผู้บริหารสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง เพราะสามารถทราบผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจในการลงทุนระหว่างฝากเงินในธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือซื้อสลากออมสิน เราจะทราบผลตอบแทนของแต่ละทางเลือกแน่นอน แต่ในความเป็นจริงสภาวะความแน่นอนเช่นนี้ยากที่จะเกิดขึ้น
4.2 การตัดสินใจในสภาวะความเสี่ยง (Risk)
เป็นสถานการณ์ที่มักเกิดขึ้นในชีวิตจริง สภาวะความเสี่ยงหมายถึง ผู้ตัดสินใจไม่ทราบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า แต่สามารถประมาณการโอกาสของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือกในการตัดสินใจ โดยการให้ค่าความน่าจะเป็นของแต่ละผลลัพธ์ โดยใช้ประสบการณ์ในอดีตหรือใช้ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้ ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจลงทุน โดยการซื้อหุ้นของบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ ที่เราทราบข้อมูลมูลค่าหุ้นและอัตราเงินปันผลในอดีต เราสามารถหาความน่าจะเป็นและคาดการณ์ผลตอบแทนที่จะได้จากแต่ละบริษัทได้ แต่ผลตอบแทนดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะไม่เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ได้ ซึ่งต่างจากกรณีแรก
4.3 การตัดสินใจในสภาวะความไม่แน่นอน (Uncertainty) เป็นสถานการณ์ที่ผู้ตัดสินใจไม่แน่ใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือก และไม่สามารถหาค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือก เพราะข้อมูลที่มีเกี่ยวกับแต่ละทางเลือกมักมีจำกัด ซึ่งเป็นสภาวะการตัดสินใจที่ผู้บริหารมักต้องเผชิญในชีวิตจริง ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทใหม่ 2 บริษัทที่เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ กรณีนี้เราไม่มีข้อมูลในอดีตที่จะหาความน่าจะเป็นของผลตอบแทนของทั้งสองบริษัทได้ จึงเป็นการตัดสินใจในสภาวะที่มีความ ไม่แน่นอนในผลตอบแทนสูง
ผู้บริหารส่วนใหญ่มักต้องตัดสินใจภายใต้สภาวะความเสี่ยง สำหรับผู้บริหารระดับสูงมักต้องตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนมากกว่าผู้บริหารระดับล่าง ซึ่งเป็นการยากที่จะระบุทรัพยากรที่จะใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราไม่สามารถขจัดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องตัดสินใจได้ แต่เราสามารถลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนนั้นได้
5. ขั้นตอนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making Process)เพื่อลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของสภาวะการตัดสินใจ และช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น การแก้ปัญหาและตัดสินใจตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้สามารถค้นหาทางออกที่ถูกต้องและเพิ่มโอกาสในการบรรลุสิ่งที่คาดหวัง โดยการดำเนินการตามขั้นตอนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ดังนี้
1) การจำแนกและกำหนดปัญหา (Classify and Define a Problem) ได้แก่ การวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมถึงระบุสภาพการณ์หรือเป้าหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นหลังจากขจัดปัญหานั้นแล้ว
2) การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analysis of Causes of Problem ) ได้แก่ การใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ เช่น แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต เพื่อช่วยวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหา และช่วยในการเลือกเฉพาะสาเหตุที่สำคัญเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขต่อไป
3) การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (Develop Alternatives) ได้แก่ การระบุทางเลือกในการแก้ปัญหา ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ เช่น การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การระดมสมอง และวิธีอื่นๆ เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาให้มากที่สุด และกลั่นกรองให้เหลือเฉพาะวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลจำนวนหนึ่ง
4) การเลือกวิธีแก้ปัญหา (Select an Alternative) ได้แก่ การกำหนดเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการประเมินแต่ละทางเลือกในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์เปรียบเทียบแต่ละทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดหรือที่เหมาะสมที่สุด
5) การวางแผนการปฏิบัติและการนำไปปฏิบัติ (Plan and Implement the Decision) ได้แก่ การกำหนดแผนการนำวิธีการที่เลือกไปปฏิบัติและนำทางเลือกที่ตัดสินใจเลือกไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม และมีการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
6) การประเมินผล (Evaluate the Decision) ได้แก่ การประเมินติดตามผลหลังจากนำทางเลือกไปปฏิบัติเป็นระยะๆ ว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วหรือไม่ มีอุปสรรคใดหรือไม่ และดำเนินมาตรการแก้ไขถ้าผลการดำเนินการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
อนึ่ง การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจดังกล่าว อาจไม่จำเป็นต้องดำเนินการเรียงลำดับทุกขั้นตอน โดยอาจข้ามบางขั้นตอนที่ชัดเจนแล้ว เช่น การกำหนดปัญหา หรือ อาจมีการกลับไปเปลี่ยนบางขั้นตอนก่อนหน้าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปหรือมีข้อมูลเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มทางเลือกที่เป็นไปได้ กลับไปกำหนดปัญหาใหม่ให้ชัดเจนขึ้น เป็นต้น
สรุป ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ต้องการกับสิ่งที่คาดหวัง การตัดสินใจเป็นการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อนำสู่สิ่งที่มุ่งหวัง ปัญหามีทั้งประเภทที่มีโครงสร้างชัดเจนและไม่ชัดเจน ถ้าโครงสร้างชัดเจนจะทำให้การตัดสินใจง่าย สามารถกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน กฎระเบียบ หรือนโยบายได้ แต่ถ้าปัญหามีโครงสร้างไม่ชัดเจนซึ่งมักเกิดขึ้นในชีวิตจริง ทำให้การตัดสินใจยากขึ้นเพราะมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูง จำเป็นต้องมีการตัดสินใจอย่างเป็นระบบโดยสามารถดำเนินการตามระบบการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 6 ขั้นตอน ได้แก่ การจำแนกและกำหนดปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด การวางแผนปฏิบัติตามทางเลือก และ การติดตามผล
การตลาด
การตลาด ในรูปตัวสินค้า คือรูปแบบบ้านที่ออกแบบทันสมัย เป็นแบบที่น่าสนใจ ของผู้บริโภคในยุค ปัจจุบัน ออกแบบที่มีพื้นที่ใช้สอย จำนวนมาก เหมาะสมกับตลาดที่มีความต้องการ การออกแบบที่ทันสมัยนั้น โครงการสิวารัตน์เลือกแบบรูปทรง โมเดิล ออกแบบที่มีสีสัน ที่มีความหมายแบบไทยๆ ให้ตรงใจผู้บริโภคตรงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ทำเลแหล่งที่ตั้งโครงการสิวารัตน์ บริษัท เอกธนา พร็อพเพ่อร์ตี้ จำกัด และ กลุ่มบริษัท ในเครือ บริษัท แม่ คือ บริษัท คาสเซ่อร์พีค โฮลดิ้งส์ จำกัด มหาชน ได้เลือก ต่ำแหน่งที่ดิน เพื่อทำโครงการครั้งนี้ เพราะถือว่าเป็นจุดแข็งของ โครงการสิวารัตน์ ๙ โครงการสิวารัตน์ ๙ ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ ( BOI ) เสนอราคาขั้นต่ำที่ ราคา 1,199,999.บาทต่อหน่วย ทำให้ ในทำเลย่านเดี่ยวกันและคู่แข่งเดี่ยวกัน ไม่มีโครงการที่น่าเป็นอุประสรรคต่อการวางแผนการตลาดของโครงการสิวารัตน์ ๙ แต่การประเมินความเสี่ยงนั้น โครงการประเมินไวที่แผนการตลาด ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายระดับล่างที่อาจมีกำลังซื้อ แต่ไม่มีโอกาส อาจเป็นเพราะ สภาพ สังคมปัจจุบันความแตกแยกของสังคม สภาวะเศษฐกิจที่ตกต่ำและการตกงานอาจเพิ่มขึ้ อาจทำให้ยอดขายลดลง และไม่ตรงต่อเป้าหมายที่แผนงานได้กำหนดเอาไว้ ท้าแผนกำหนดหรืออุปสรรคนี้ได้เกิดขึ้นจริง ๆ บริษัท เอกธนา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้กำหนดราคาขายขั้นต่ำ ไว้ที่ 1,099,999. บาท อาจทำให้บริษัท เอกธนา พร้อพเพ่อร์ตี้ จำกัด มีรายได้ลดลง ถึง 35,000,000, บาท แต่ไม่เป็นผลกระทบต่อต้นทุนและการดำเนินการใด เพราะว่า เป็นโครงการที่ ได้รับการสนับสนุนในภาครัฐ ( BOI) ซึ่งไม่ต้องชำระภาษีหลังการปิดงบลุดปลายปี ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบโครงการอื่นในย่านนี้ . การตลาด ในรูปแบบราคาสินค้า คือ โครงการสิวารัตน์ ๙ มีราคาที่ถูกบังคับด้วยราคาที่สำนักงาน ( BOI ) ได้ควบคุม ราคา ที่ต้องการไม่ให้จำหน่ายเกินราคา ของภาครัฐกำหนด โครงการสิวารัตน์ไม่สามารถกำหนดราคาเกินกว่านี้จึง ถือว่า มาตรการนี้เป็นอุประสรรคต่อการบริหารโครงการด้านการขาย ถ้าต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น เพื่อต้องการกำไร ราคา (BOI ) 1,200,000’. บาท ต่อหน่วย ถ้าราคาวัสดุสูงขึ้น อาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้นจะทำให้มีผลต่อรายได้บริษัทฯ ทันทีทางคณะกรรมการบริษัทไดกำหนดที่ต้นทุนการก่อสร้าง ไว้ว่า ถ้าราคาวัสดุมีความปรับตัวอย่างรุนแรงและมีแนวโน่มว่าจะคงที่ของราคาสินค้า ให้ดำเนินการ ปรับราคาสินค้าทันที่ ทั้งนี้ให้ศึกษาผลกระทบด้านตลาดและกำไรหลังหักภาษีปลายปี ผลประกอบการณ์กำไร นั้นให้มีผลไว้ที่ บวกหรือลบ จำนวน 35,000,000,บาท แล้วให้มีมัติเป็นรายงานการประชุม ในการจำหน่ายลดราคา ต่อหน่วย 1,099,999.บาท และให้ปรับโครงสร้างของรายการจัดซื้อวัดสดุทันที่ แผนการวิธีปรับลดราคานี้โครงการสิวารัตน์ก็ยังได้เปีรยบคู่แข่งทางธุรกิจเป็นอย่างมากทำให้มั่นใจในการขายที่ถูกกำหนดและควบคุมราคของภาครัฐ การตลาดที่เป็นราคาที่น่าเสียงนั้นถ้าโครงการสิวารัตน์ปรับลดราคาลงมาอีกจะเป็นผลให้คู่แข่งทางธุรกิจลดน้อยลงตามไปด้วย . การตลาดที่กำหนดด้วยวิธิการจำหน่ายสินค้า การจำหน่าย บ้าน โครงการสิวารัตน์ ได้กำหนดหลักการการจำหน่ายคือ การจำหน่ายโคยกำหนดที่ที่ตั้งโครงการหรือหน้าโครงการก่อสร้างโครงการสิวารัตน์ และ ตามจุดขายที่เคลื่อนที่ . ๑. การขายที่หน้าโครงการสิวารัตน์ ๙ ในบารบริหารความเสี่ยงโครงการสิวารตน์ จัดให้มีการบริการรับส่งลูกค้าถึงบ้านตั้งแต่ดูโครงการจนกลับที่พัก มีรถรับส่งลูกค้า
. ๒.การขายเคื่ลอนที่ โครงการสิวารัตน์ จัดใหมีการจำหน่ายโครงการตาม ศูนย์การค้า ทุกที่ จะออกศูนย์ บิกซี เป็นหลักเพราะมีลูกค้าเยอะมากใน อ. บางบัวทอง และจ. นนทบุรี . ๓.จำนวนพนักงานขาย โครงการสิวารัตน์ ๙ ตั้งไว้ คือ ๔ คน ทำหน้าที่ด้าน การขายและทำสัญญานิติกรรมแบ๊ง และส่วนหน้าที่องค์ประกอบอื่น พนักงานโครงการจะประสานกัน ตั้งแต่ วิศวะกร จัดซื้อโครงการและ นายช่างโครงการ ร่วมมือการให้บริการ เพื่อการแข่งกับความเสี่ยงในธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ตั้งแต่โครงการสิวารัตน์ปฏิบัติงานมาไม่มีโครงการใดเกิดความเสียงในธุรกิจ ทุกโครงการเป็นไปตามแผนโครงการตลอดมา
๔.การประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ ส่งเสริมให้เจ้าหน้ารัฐซื้อโครงการ โดยมีส่วนลด การซื้อบ้าน ๕% ทุกหลัง ที่มีการซื้อขาย
. การตลาดที่กำหนดด้วย การโปรโมชั่น สินค้า การใช้โปรโมชั่นสินค้า โครงการสิวารัตน์ ๙นั้นได้กำหนอลดราคาสินค้าไว้แล้ว เช่น ตั้งราคาหน้าโครงการ ที่ 1,555,000. บาท แต่ราคาจำหน่ายเป็นรายการโปรโมชั่น ตามราคาที่หน่วยงานรัฐกำหนอให้ เป็นราคาบังคับ มีการแจกรายการแถมสินค้าประกอบบ้าน เช่นแถมแอร์ หรือลดราคาเทากับแอร์ หนึ่งตัว โครงการสิวารัตน์ในการบริหารความเสี่ยงนั้นจะน้นหนักไปที่ราคาเป็นหลัก การขายราคาที่กำหนดเองนั้นจะกระทำก่อน แต่เมื่อมีเหตุความเสียงจะใช้มาตรการลดราคาออกมาใช้เพราะเป็นกลยุทธืที่เตรียมไว้สุดทาย . การวางแผนผลิต
การก่อสร้างโครงการโครงการสิวารัตน์กำหนดการก่อสร้างไว้ตามลำดับ คือ การก่อสร้างระบบสาธาระณูประโภคโครงการสิวารัตน์ให้ความสำสัมคัญต่อการก่อสร้างทุกรูปแบบจะเน้นการบรหารงานการก่อสร้างที่มีความเสียงตลอดเวลา ตั้งแต่การควบคุม คุณภาพ การควบคุมต้นทุน การควบคุมระยะเวลา สิ่งเหล่านี้ โครงการสิวารัตน์เป็นต้นแบบการก่อสร้างได้ดีที่สุด เป็นจุดแข็งของ บริษัทฯ เช่น การจัดซื้อวัสดุ จะจัดซื้อเอง การก่อสร้างจะใช้การจัดจ้างแรงงานเอง จัดจ้างโดยเป็น นายจ้างแรงงานด่างด้าวเอง ให้การรับตัดรับจ้างค่าแรงงานให้กับแรงงานที่มีฝีมือคือแรงงานไทยจะ จัดจ้างเอง จากระบบจัดจ้างเอง ทุกระบบการก่อสร้างทำเอง . การวางแผนการก่อสร้างอาคาร โครงการสิวารัตน์ จัดจ้างแรงงานที่ใช้แรงงานที่จดทะเบียนต่างด้าวเอง เพราะมีค่าจ้างที่ถูก ป็นการลดต้นทุนการผลิต จัดทำระบบบัญชีแรงงานเองทุกๆวัน และการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนควบคุมด้วย วิศวะกรที่เป็นมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ เป็น ๑๐ ปีการควบคุมการผลิตต้นทุนต่ำนั้น ถือเป็นจุดแข็งของ บริษัทฯ ที่ทำทุกวันนี้ ในการบริหารความเสี่ยงจึงถือได้ว่า สิวารัตน์มี ความสามารถปรับตัวได้ดี โครงการ หนึ่งในรูปบบ ธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่นั่นก็เป็นความใส่ใจของผู้บริหารที่ลงมาสนใจแรงงาน จัดเตรียมการเป็นนายจ้างเองเพื่อการลดต้นทุนของการทำงาน ที่มีแผนเตรียมการไว้ร่วงหน้าทุกโครงการ ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าว จำนวน ๔๐๐ คน ที่อยู่ในการดูแล ของโครวการสิวารัตน์ พร้อมทำงานและเป็นแรงงารที่มีคุณภาพ พร้อมให้การคุมครองดูแล เป็นอย่างดีจากโครงการ .
การวางแผน การเงินที่มีความเสี่ยง
(ฉุกเฉิน) .
การวางแผนการเงิน โครงการสิวารัตน์ ๙ เป็นโครงการที่ บริหารและดำเนินงานโดย บริษัท เอกธนา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มีทุนจดทะเบียน ชำระเต็ม ๔๐,๐๐๐,๐๐๐. บาท บริษัท คาสเซ่อร์พีค เรียลเอสเทต จำกัด มีทุนจดทะเบียน ๔๐๐ ล้าน ชำระเต็ม และบริษัทใหญ่ที่จดทะเบียนใจตลาดหลักทรัพย์ ทุนจดทะเบียน ๔๐๐ ล้านบาท และมีผลกำไรในการประกอบการทุกปี และมีเงินสดในการประกอบการธุรกิจขั้นต้น ใจการจัดการซื้อที่ดินเพื่อพัฒนา คืองานถมดิน ๓๐ ล้าน บาท การซื้อที่ดิน ๔๐ ล้านบาท เงินคงเหลือจากการประกอบการจากโครงการที่ผ่านมาคงบัญชีไว ๒๑๕ ล้าน โครงการสิวารัตน์ ๙ ในนามบริษัทฯ นั้นคิดว่า มีเงินจำนวนมากพอในการพัฒนาโครงการแต่การหมุนเวียงนั้น อาจะไม่เพียงพอ และเป็นบริษัทที่มีความจำเป็นต้องประกอบการธุรกิจอื่นในนามบริษัทอื่น จึงคิดว่าน่าจะต้องสำรองเงินสดคงคลังไว้ จึงต้อง หาแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการบริหารและจัดการต่อไป ในคณะกรรมการบริษัท เอกธนาและกลุ่มบริษัทในเครือจึงขอมัติที่ประชุมใหญ่ขออนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนโครงการ สิวารัตน์ ๙
เพื่อ การจัดการและการบริหารตลอดจน เอกสารการ สนับสนุนการเงินเพื่อเป็น หลักค้ำประกันโครงการ กับหน่วยงาน ราชการหรือต่อคณะ กรรมการจัดสรรจังหวัด นนทบุรี ตาม พรบ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ.๒๕๔๓ .
ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้เงินอย่างมีระบบและระเบียบการใช้เงินในการทำธุรกิจความเสี่ยงจึงให้ขออนุมัติขอเงินกู้ต่อสถาบันการเงิน ส่วนเงินสดที่มีอยู่นั้นให้คงประจำไว้ที่สถาบันการเงินเป็นเงินฉุกเฉินในการทำธุรกิจต่ไปให้กรรมการผู้อำนวยการ คุณอารี เต็มพิทยาคมเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป . .
แผนการโอนกรรมสิทธ์ฉุกเฉิน โครงการสิวารัตน์ ๙ เป็นโครงการที่ประกอบการมานานมีความรอบครอบมากพอที่จะรับมือ กับลูกค้าที่มาสนใจซื้อบ้านในโครงการดังกล่าว ฝ่ายนิติกรรม ของบริษัท เอกธนา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จัดการบริหารเพื่อให้ทันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกบ้านเมื่อถึงระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ จะไม่ให้ช้า ทันต่อการขอเปิดโฉนดและส่งมอบเงินคืน สถาบันการเงินและทางโครงการสิวารัตน์ ใช้มาตรการนี้มาโดยตลอด เรียกว่า แผน ๒๐ วันโอน กรรมสิทธิ์ทันที เนื้อหาคือ เริมเก็บเอกสารบ้านและเอกสารลูกค้าในวันทำสัญญา และเรียกเก็บเอกสารอื่นๆในวันอื่นต่อมา ฝ่ายก่อสร้างส่งบ้านส่งบ้านให้ฝ่านนิติกรรม ฝ่ายนิติกรรม ตรวจรับบ้านพร้อมส่งธนาคารประเมินพร้อมกัน ใน ๓ วันและจากนัน รอสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อ ในเวลา ๑๕ วัน จากนั้น เซ็นต์นิติกรรม ๑ วัน และไปโอนในวันรุ่งขึ้น รวมระยะเวลา การทำนิติกรรมหลังจากบ้านเสร็จ และรอนิติกรรมสินเชื่อสถาบันการเงิน พร้อมวันโอนกรรมสิทธิ์ ๒๐ วัน การทำลักษณะนี้ทำให้ชำละหนี้ได้เร็วและทราบการกำหนดโอนร่วงหน้า เช่นการก่อสร้าง ใช้เวลา ๑๐๐วัน การโอนกรรมสิทื ใช้เวลา ๒๐ วัน รวมแล้ว บ้านหนึ่งหลังใช้เวลาการปฏิบัติงานในการทำงานทั้งสิ้นนั้นรวมเวลา ๑๒๐ วัน กำหนดรู้ทันทีว่าการโอนทั้งโครงการใช้เวลาเท่าไร โครงการสิวารัตน์ ใช้ตลอดมาครับ
. ๒.การขายเคื่ลอนที่ โครงการสิวารัตน์ จัดใหมีการจำหน่ายโครงการตาม ศูนย์การค้า ทุกที่ จะออกศูนย์ บิกซี เป็นหลักเพราะมีลูกค้าเยอะมากใน อ. บางบัวทอง และจ. นนทบุรี . ๓.จำนวนพนักงานขาย โครงการสิวารัตน์ ๙ ตั้งไว้ คือ ๔ คน ทำหน้าที่ด้าน การขายและทำสัญญานิติกรรมแบ๊ง และส่วนหน้าที่องค์ประกอบอื่น พนักงานโครงการจะประสานกัน ตั้งแต่ วิศวะกร จัดซื้อโครงการและ นายช่างโครงการ ร่วมมือการให้บริการ เพื่อการแข่งกับความเสี่ยงในธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ตั้งแต่โครงการสิวารัตน์ปฏิบัติงานมาไม่มีโครงการใดเกิดความเสียงในธุรกิจ ทุกโครงการเป็นไปตามแผนโครงการตลอดมา
๔.การประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ ส่งเสริมให้เจ้าหน้ารัฐซื้อโครงการ โดยมีส่วนลด การซื้อบ้าน ๕% ทุกหลัง ที่มีการซื้อขาย
. การตลาดที่กำหนดด้วย การโปรโมชั่น สินค้า การใช้โปรโมชั่นสินค้า โครงการสิวารัตน์ ๙นั้นได้กำหนอลดราคาสินค้าไว้แล้ว เช่น ตั้งราคาหน้าโครงการ ที่ 1,555,000. บาท แต่ราคาจำหน่ายเป็นรายการโปรโมชั่น ตามราคาที่หน่วยงานรัฐกำหนอให้ เป็นราคาบังคับ มีการแจกรายการแถมสินค้าประกอบบ้าน เช่นแถมแอร์ หรือลดราคาเทากับแอร์ หนึ่งตัว โครงการสิวารัตน์ในการบริหารความเสี่ยงนั้นจะน้นหนักไปที่ราคาเป็นหลัก การขายราคาที่กำหนดเองนั้นจะกระทำก่อน แต่เมื่อมีเหตุความเสียงจะใช้มาตรการลดราคาออกมาใช้เพราะเป็นกลยุทธืที่เตรียมไว้สุดทาย . การวางแผนผลิต
การก่อสร้างโครงการโครงการสิวารัตน์กำหนดการก่อสร้างไว้ตามลำดับ คือ การก่อสร้างระบบสาธาระณูประโภคโครงการสิวารัตน์ให้ความสำสัมคัญต่อการก่อสร้างทุกรูปแบบจะเน้นการบรหารงานการก่อสร้างที่มีความเสียงตลอดเวลา ตั้งแต่การควบคุม คุณภาพ การควบคุมต้นทุน การควบคุมระยะเวลา สิ่งเหล่านี้ โครงการสิวารัตน์เป็นต้นแบบการก่อสร้างได้ดีที่สุด เป็นจุดแข็งของ บริษัทฯ เช่น การจัดซื้อวัสดุ จะจัดซื้อเอง การก่อสร้างจะใช้การจัดจ้างแรงงานเอง จัดจ้างโดยเป็น นายจ้างแรงงานด่างด้าวเอง ให้การรับตัดรับจ้างค่าแรงงานให้กับแรงงานที่มีฝีมือคือแรงงานไทยจะ จัดจ้างเอง จากระบบจัดจ้างเอง ทุกระบบการก่อสร้างทำเอง . การวางแผนการก่อสร้างอาคาร โครงการสิวารัตน์ จัดจ้างแรงงานที่ใช้แรงงานที่จดทะเบียนต่างด้าวเอง เพราะมีค่าจ้างที่ถูก ป็นการลดต้นทุนการผลิต จัดทำระบบบัญชีแรงงานเองทุกๆวัน และการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนควบคุมด้วย วิศวะกรที่เป็นมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ เป็น ๑๐ ปีการควบคุมการผลิตต้นทุนต่ำนั้น ถือเป็นจุดแข็งของ บริษัทฯ ที่ทำทุกวันนี้ ในการบริหารความเสี่ยงจึงถือได้ว่า สิวารัตน์มี ความสามารถปรับตัวได้ดี โครงการ หนึ่งในรูปบบ ธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่นั่นก็เป็นความใส่ใจของผู้บริหารที่ลงมาสนใจแรงงาน จัดเตรียมการเป็นนายจ้างเองเพื่อการลดต้นทุนของการทำงาน ที่มีแผนเตรียมการไว้ร่วงหน้าทุกโครงการ ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าว จำนวน ๔๐๐ คน ที่อยู่ในการดูแล ของโครวการสิวารัตน์ พร้อมทำงานและเป็นแรงงารที่มีคุณภาพ พร้อมให้การคุมครองดูแล เป็นอย่างดีจากโครงการ .
การวางแผน การเงินที่มีความเสี่ยง
(ฉุกเฉิน) .
การวางแผนการเงิน โครงการสิวารัตน์ ๙ เป็นโครงการที่ บริหารและดำเนินงานโดย บริษัท เอกธนา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มีทุนจดทะเบียน ชำระเต็ม ๔๐,๐๐๐,๐๐๐. บาท บริษัท คาสเซ่อร์พีค เรียลเอสเทต จำกัด มีทุนจดทะเบียน ๔๐๐ ล้าน ชำระเต็ม และบริษัทใหญ่ที่จดทะเบียนใจตลาดหลักทรัพย์ ทุนจดทะเบียน ๔๐๐ ล้านบาท และมีผลกำไรในการประกอบการทุกปี และมีเงินสดในการประกอบการธุรกิจขั้นต้น ใจการจัดการซื้อที่ดินเพื่อพัฒนา คืองานถมดิน ๓๐ ล้าน บาท การซื้อที่ดิน ๔๐ ล้านบาท เงินคงเหลือจากการประกอบการจากโครงการที่ผ่านมาคงบัญชีไว ๒๑๕ ล้าน โครงการสิวารัตน์ ๙ ในนามบริษัทฯ นั้นคิดว่า มีเงินจำนวนมากพอในการพัฒนาโครงการแต่การหมุนเวียงนั้น อาจะไม่เพียงพอ และเป็นบริษัทที่มีความจำเป็นต้องประกอบการธุรกิจอื่นในนามบริษัทอื่น จึงคิดว่าน่าจะต้องสำรองเงินสดคงคลังไว้ จึงต้อง หาแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการบริหารและจัดการต่อไป ในคณะกรรมการบริษัท เอกธนาและกลุ่มบริษัทในเครือจึงขอมัติที่ประชุมใหญ่ขออนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนโครงการ สิวารัตน์ ๙
เพื่อ การจัดการและการบริหารตลอดจน เอกสารการ สนับสนุนการเงินเพื่อเป็น หลักค้ำประกันโครงการ กับหน่วยงาน ราชการหรือต่อคณะ กรรมการจัดสรรจังหวัด นนทบุรี ตาม พรบ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ.๒๕๔๓ .
ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้เงินอย่างมีระบบและระเบียบการใช้เงินในการทำธุรกิจความเสี่ยงจึงให้ขออนุมัติขอเงินกู้ต่อสถาบันการเงิน ส่วนเงินสดที่มีอยู่นั้นให้คงประจำไว้ที่สถาบันการเงินเป็นเงินฉุกเฉินในการทำธุรกิจต่ไปให้กรรมการผู้อำนวยการ คุณอารี เต็มพิทยาคมเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป . .
แผนการโอนกรรมสิทธ์ฉุกเฉิน โครงการสิวารัตน์ ๙ เป็นโครงการที่ประกอบการมานานมีความรอบครอบมากพอที่จะรับมือ กับลูกค้าที่มาสนใจซื้อบ้านในโครงการดังกล่าว ฝ่ายนิติกรรม ของบริษัท เอกธนา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จัดการบริหารเพื่อให้ทันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกบ้านเมื่อถึงระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ จะไม่ให้ช้า ทันต่อการขอเปิดโฉนดและส่งมอบเงินคืน สถาบันการเงินและทางโครงการสิวารัตน์ ใช้มาตรการนี้มาโดยตลอด เรียกว่า แผน ๒๐ วันโอน กรรมสิทธิ์ทันที เนื้อหาคือ เริมเก็บเอกสารบ้านและเอกสารลูกค้าในวันทำสัญญา และเรียกเก็บเอกสารอื่นๆในวันอื่นต่อมา ฝ่ายก่อสร้างส่งบ้านส่งบ้านให้ฝ่านนิติกรรม ฝ่ายนิติกรรม ตรวจรับบ้านพร้อมส่งธนาคารประเมินพร้อมกัน ใน ๓ วันและจากนัน รอสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อ ในเวลา ๑๕ วัน จากนั้น เซ็นต์นิติกรรม ๑ วัน และไปโอนในวันรุ่งขึ้น รวมระยะเวลา การทำนิติกรรมหลังจากบ้านเสร็จ และรอนิติกรรมสินเชื่อสถาบันการเงิน พร้อมวันโอนกรรมสิทธิ์ ๒๐ วัน การทำลักษณะนี้ทำให้ชำละหนี้ได้เร็วและทราบการกำหนดโอนร่วงหน้า เช่นการก่อสร้าง ใช้เวลา ๑๐๐วัน การโอนกรรมสิทื ใช้เวลา ๒๐ วัน รวมแล้ว บ้านหนึ่งหลังใช้เวลาการปฏิบัติงานในการทำงานทั้งสิ้นนั้นรวมเวลา ๑๒๐ วัน กำหนดรู้ทันทีว่าการโอนทั้งโครงการใช้เวลาเท่าไร โครงการสิวารัตน์ ใช้ตลอดมาครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น