รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2
กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพ
เนื่องจากผมเพิ่งได้รับโอกาสในการควบคุมงานก่อสร้างบ้านเพิ่มเติมมาอีกหนึ่งหลัง
ซึ่งเป็นงานเริ่มต้นตั้งแต่การเปิดพื้นที่ไปจนถึงปิดจบงานสุดท้าย
เป็นโอกาสที่ดีในการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนการทำงานรวมถึงการแก้ไขงานตั้งแต่แรกเริ่มจนจบ
ผมจึงอยากรวบรวมขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ศึกษาและติดตามกันครับ
จากกระทู้ รานงานการก่อสร้าง ฉบับที่ 1 http://pantip.com/topic/30590647 ผมได้ตั้งไปแล้ว
วันนี้ผมขอลงตอนที่ 2 เพื่อติดตามงานต่อกันนะครับ
ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ
1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน
2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านที่อาจถูกเอาเปรียบได้
ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ
เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ
ผมได้ลงกระทู้
รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ http://pantip.com/topic/30617973
ว่างๆลองไปอ่านได้นะครับ
เนื่องจากผมเพิ่งได้รับโอกาสในการควบคุมงานก่อสร้างบ้านเพิ่มเติมมาอีกหนึ่งหลัง
ซึ่งเป็นงานเริ่มต้นตั้งแต่การเปิดพื้นที่ไปจนถึงปิดจบงานสุดท้าย
เป็นโอกาสที่ดีในการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนการทำงานรวมถึงการแก้ไขงานตั้งแต่แรกเริ่มจนจบ
ผมจึงอยากรวบรวมขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ศึกษาและติดตามกันครับ
จากกระทู้ รานงานการก่อสร้าง ฉบับที่ 1 http://pantip.com/topic/30590647 ผมได้ตั้งไปแล้ว
วันนี้ผมขอลงตอนที่ 2 เพื่อติดตามงานต่อกันนะครับ
ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ
1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน
2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านที่อาจถูกเอาเปรียบได้
ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ
เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ
ผมได้ลงกระทู้
รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ http://pantip.com/topic/30617973
ว่างๆลองไปอ่านได้นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 18 มิถุนายน 2556 เวลา 08:21 น.
33 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จากกระทู้ฉบับที่ 1 ผมได้ลงเนื้อหาเกี่ยวกับ เสาเข็ม
ครั้งนี้ผมจะลงเนื้อหาในส่วนของ footing และเสาตอม่อครับ
ก่อนอื่นเราต้องย้อนกลับไปที่แบบก่อสร้างส่วนฐานรากก่อน
จะเห็นว่าในแบบก่อสร้างส่วนฐานรากจะมี 3 ส่วนหลักๆคือ
1)จำนวนและตำแหน่งเข็มเจาะ
2)รหัส Footing ขึ้นต้นด้วย F จะบอกว่าตำแหน่งนั้นใช้รหัสอะไร
3)รหัสเสาตอม่อ ขึ้นต้นด้วย C จะบอกว่าตำแหน่งนั้นใช้เสาตอม่อรหัสอะไร
นี่คือภาพขยายส่วนหนึ่งของแบบ
จะเห็นว่ารหัส footing ของเข็มเดี่ยวจะเป็น F1 และรหัสของ footing ของเข็มคู่จะเป็น F2
เราก็จะดูต่อไปว่ารหัส F1 และ F2 หน้าตาเป็นแบบไหน
เราก็จะทำการผูกเหล็กตามแบบครับ
ครั้งนี้ผมจะลงเนื้อหาในส่วนของ footing และเสาตอม่อครับ
ก่อนอื่นเราต้องย้อนกลับไปที่แบบก่อสร้างส่วนฐานรากก่อน
จะเห็นว่าในแบบก่อสร้างส่วนฐานรากจะมี 3 ส่วนหลักๆคือ
1)จำนวนและตำแหน่งเข็มเจาะ
2)รหัส Footing ขึ้นต้นด้วย F จะบอกว่าตำแหน่งนั้นใช้รหัสอะไร
3)รหัสเสาตอม่อ ขึ้นต้นด้วย C จะบอกว่าตำแหน่งนั้นใช้เสาตอม่อรหัสอะไร
นี่คือภาพขยายส่วนหนึ่งของแบบ
จะเห็นว่ารหัส footing ของเข็มเดี่ยวจะเป็น F1 และรหัสของ footing ของเข็มคู่จะเป็น F2
เราก็จะดูต่อไปว่ารหัส F1 และ F2 หน้าตาเป็นแบบไหน
เราก็จะทำการผูกเหล็กตามแบบครับ
ความคิดเห็นที่ 2
จากเดิมที่มีแต่เสาเข็มเปล่าๆที่เทคอนกรีตหยาบไว้ เราก็จะทำเหล็ก footingมาลง และเข้าแบบให้ได้ตำแหน่ง
จากรูปจะเป็นแบบของ footing รหัส F1 เราจะตรวจเหล็กโดยเริ่มจาก
1. เหล็กตะแกรง อยู่บนเสาเข็ม ในแนวราบ มี 5 เส้น อันนี้ครบครับ
2. เหล็กยืน ขอบ footing ในแนวดิ่ง มี 8 เส้น อันนี้ครบครับ
3. เหล็กปลอก รัดรอบ footing สี่เหลี่ยมใหญ่รัดรอบ และ สี่เหลี่ยมไขว้ มี 4 เส้น อันนี้ครบครับ
ถือว่าเหล็ก footing ครบแล้ว
จากรูปจะเป็นแบบของ footing รหัส F1 เราจะตรวจเหล็กโดยเริ่มจาก
1. เหล็กตะแกรง อยู่บนเสาเข็ม ในแนวราบ มี 5 เส้น อันนี้ครบครับ
2. เหล็กยืน ขอบ footing ในแนวดิ่ง มี 8 เส้น อันนี้ครบครับ
3. เหล็กปลอก รัดรอบ footing สี่เหลี่ยมใหญ่รัดรอบ และ สี่เหลี่ยมไขว้ มี 4 เส้น อันนี้ครบครับ
ถือว่าเหล็ก footing ครบแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 มิถุนายน 2556 เวลา 07:48 น.
ความคิดเห็นที่ 3
การดำเนินงานในส่วนตอม่อ เราจะย้อนกลับไปดูแบบก่อสร้างส่วนฐานรากอีกครั้ง
จะเห็นว่าในรหัส F1 จะมีเสาตอม่อรหัส C0 และ C1 เราก็จะกลับไปดูที่แบบก่อสร้างในส่วนของเสาซึ่่งจะมีรายละะเอียดส่วนตอม่อด้วย
จะเห็นว่า ในแบบเสาจะมีรายละเอียดขนาดและการเสริมเหล็กอยู่และจะแบ่งออกเป็นชั้น ตั้งแต่ เสาตอม่อจนถึงหลังคา
เสาตอม่อ คือเสาที่รับ คานชั้น 1
เสาชั้น1 คือเสาที่รับ คานชั้น 2
เสาชั้น 2 คือเสาที่รับ โครงหลังคา
สรุปรายละเอียดคร่าวๆ
เสา C0 จะเริ่มที่ footing และ หยุดที่ ตอม่อ ก็จะไม่ขึ้นแล้ว
และขนาด 20x20
เสา C2 จะเริ่มที่ footing ไปสุดที่ระดับรับหลังคา
และลดขนาดจาก 30x30 ในระดับเสาตอม่อ เป็น ขนาด 25x25 ในเสาชั้น 1 และ 2 โดยเหล็กใช้เท่ากันทุกเสา
เสา C3 จะเริ่มที่ footing ไปสุดที่ระดับรับหลังคา
และลดขนาดจาก 30x30 ในระดับเสาตอม่อ เป็น ขนาด 25x25 ในเสาชั้น 1 และ 2
และลดจำนวนเหล็ก 8 เส้น ในเสาตอม่อ เหลือ 6 เส้น ในเสาชั้น1 และ 2
ในส่วนนี้เรามองเฉพาะส่วนตอม่อก่อนครับ ก็จะใช้รายละเอียดเฉพาะแถวล่างสุด
เมื่อได้แล้วเราก็จะได้รายละเอียดเหล็กในเสาและทำการผูกเหล็กและนำไปวางบนเหล็ก footing ครับ
จะเห็นว่าในรหัส F1 จะมีเสาตอม่อรหัส C0 และ C1 เราก็จะกลับไปดูที่แบบก่อสร้างในส่วนของเสาซึ่่งจะมีรายละะเอียดส่วนตอม่อด้วย
จะเห็นว่า ในแบบเสาจะมีรายละเอียดขนาดและการเสริมเหล็กอยู่และจะแบ่งออกเป็นชั้น ตั้งแต่ เสาตอม่อจนถึงหลังคา
เสาตอม่อ คือเสาที่รับ คานชั้น 1
เสาชั้น1 คือเสาที่รับ คานชั้น 2
เสาชั้น 2 คือเสาที่รับ โครงหลังคา
สรุปรายละเอียดคร่าวๆ
เสา C0 จะเริ่มที่ footing และ หยุดที่ ตอม่อ ก็จะไม่ขึ้นแล้ว
และขนาด 20x20
เสา C2 จะเริ่มที่ footing ไปสุดที่ระดับรับหลังคา
และลดขนาดจาก 30x30 ในระดับเสาตอม่อ เป็น ขนาด 25x25 ในเสาชั้น 1 และ 2 โดยเหล็กใช้เท่ากันทุกเสา
เสา C3 จะเริ่มที่ footing ไปสุดที่ระดับรับหลังคา
และลดขนาดจาก 30x30 ในระดับเสาตอม่อ เป็น ขนาด 25x25 ในเสาชั้น 1 และ 2
และลดจำนวนเหล็ก 8 เส้น ในเสาตอม่อ เหลือ 6 เส้น ในเสาชั้น1 และ 2
ในส่วนนี้เรามองเฉพาะส่วนตอม่อก่อนครับ ก็จะใช้รายละเอียดเฉพาะแถวล่างสุด
เมื่อได้แล้วเราก็จะได้รายละเอียดเหล็กในเสาและทำการผูกเหล็กและนำไปวางบนเหล็ก footing ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 19:55 น.
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อนำไปติดตั้งแล้วจะได้หน้าตารวมๆจะได้ประมาณนี้
เมื่อมองลงไปก็จะได้หน้าตาประมาณนี้
ก่อนที่จะลงเหล็กผมจะตรวจสอบสอบแต่ละรายการครับว่าขนาดและจำนวนเหล็กตรงตามแบบหรือไม่
เมื่อมองลงไปก็จะได้หน้าตาประมาณนี้
ก่อนที่จะลงเหล็กผมจะตรวจสอบสอบแต่ละรายการครับว่าขนาดและจำนวนเหล็กตรงตามแบบหรือไม่
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อเราลงเหล็กหมดแล้ว ต่อไปจะพูดถึงเรื่องการตรวจสอบ
ผมขอลำดับเลยนะครับ
ขั้นแรกเราจะทำการขึงเอ็นโดยให้ตำแหน่งเอ็นคือตำแหน่งของริมเสาตอม่อพอดี
หมายความว่าเมื่อมีการเทคอนกรีตเสาตอม่อ ผิวของเสาจะเท่ากับตำแหน่งเอ็น
และเมื่อขึงเอ็นแล้ว แนวเอ็นตรงกัน เสาแต่ละต้นในแนวเอ็นนั้นๆก็จะตรงกัน
ผมจะใช้เอ็นชุดเดิมจากการหาตำแหน่ง footing มาปรับใช้กับเสา
เอ็นที่ใช้ก็จะใช้เพียง 2 เส้นครับ แทนแกน X และ แกน Y
เวลาวัดเราจะวัดจากขอบเอ็นมาถึงเหล็กก่อน แล้วจึงวัดหน้าเหล็กก็จะรู้แล้วว่าระยะต่างๆถูกต้องหรือไม่
หลายคนอาจสงสัยว่า เราจะเท footing แล้ว จะตรวจสอบเสาทำไม
คำตอบคือ ในการเทคอนกรีต footing ต้องใส่เหล็กตอม่อเพื่อให้ footing ยึดตอม่อไว้และขึ้นเสาทีละชั้นไปเรื่อยๆครับ
เพราะฉะนั้น ถ้าตรวจตำแหน่งเสาไม่ดี เสาหลุดตำแหน่ง ผิดตั้งแต่ชั้นล่างๆ ชั้นบนๆก็ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
ก้จะหลุดตามๆกันไป ควรทำให้ดีและเน้นมากๆตั้งแต่ชั้นล่าง จะได้ไม่ต้องแก้งานมาก
สำหรับผม งาน เสา คาน พื้น ผมจะเน้นงานเสามากที่สุดเพราะแก้ยากที่สุด
จะเห็นว่ามีเอ็นอยู่เส้นหนึ่งอยู่ใกล้เสามากๆ วิ่งตามยาวผ่านเอ็นทั้ง 3 เส้น
เอ็นเส้นนั้นแหละครับที่จะใช้แทนตำแหน่งผิวของเสา
จากนั้นเราจะ วัดระยะห่างระหว่างเอ็นไปถึงเหล็ก ซึ่งระยะห่างจะเท่ากับระยะหุ้มเหล็กของเสา หรือ covering นั่นเอง
ประโยชน์ของ covering ดูได้ตามนี้เลยครับ http://www.coe.or.th/e_engineers/knc_detail.php?id=53
จากข้อกำหนดของผู้ออกแบบให้ใช้ covering เสาเท่ากับ 3 ซม.
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปตามแบบทุกประการ ผมจะวัดระยะจากเอ็นไปถึงเหล็กได้เท่ากับ 3 ซม.
เนื่องจากวันนี้เป็นการตรวจหน้างานทั่วไป ผู้รับจ้างไม่ได้ request ตรวจ
เลยยังไม่มีการวัด ขอเป็นคร่าวๆก่อนนะครับ
ค่าที่ผมยอมให้ได้อยู่ที่ 5 มม. เพราะถ้ามากกว่านี้เหล็กจะเบียดผิวคอนกรีตมากเกินไปครับ
ทีนี้เราลองมาดูว่าเสาแต่ละต้นเป็นอย่างไรบ้าง
รูปแรก ไม่ผ่านแน่ๆครับ เพราะเอ็นแตะเหล็กพอดี ต้องขยับเสาเหล็กอีกครั้ง
รูปที่สอง กะด้วยสายตาน่าจะประมาณ 1.5 ซม. หายไป 1.5 ซม. ไม่ผ่านครับ ต้องขยับอีกครั้ง
ภาพที่สาม กะด้วยสายตาประมาณ 3.5 ซม. ถือว่าผ่านครับ เกิน 3.0 ซม. แต่อยู่ในระยะที่ยอมให้ได้ 3.5 ซม.
ผมขอลำดับเลยนะครับ
ขั้นแรกเราจะทำการขึงเอ็นโดยให้ตำแหน่งเอ็นคือตำแหน่งของริมเสาตอม่อพอดี
หมายความว่าเมื่อมีการเทคอนกรีตเสาตอม่อ ผิวของเสาจะเท่ากับตำแหน่งเอ็น
และเมื่อขึงเอ็นแล้ว แนวเอ็นตรงกัน เสาแต่ละต้นในแนวเอ็นนั้นๆก็จะตรงกัน
ผมจะใช้เอ็นชุดเดิมจากการหาตำแหน่ง footing มาปรับใช้กับเสา
เอ็นที่ใช้ก็จะใช้เพียง 2 เส้นครับ แทนแกน X และ แกน Y
เวลาวัดเราจะวัดจากขอบเอ็นมาถึงเหล็กก่อน แล้วจึงวัดหน้าเหล็กก็จะรู้แล้วว่าระยะต่างๆถูกต้องหรือไม่
หลายคนอาจสงสัยว่า เราจะเท footing แล้ว จะตรวจสอบเสาทำไม
คำตอบคือ ในการเทคอนกรีต footing ต้องใส่เหล็กตอม่อเพื่อให้ footing ยึดตอม่อไว้และขึ้นเสาทีละชั้นไปเรื่อยๆครับ
เพราะฉะนั้น ถ้าตรวจตำแหน่งเสาไม่ดี เสาหลุดตำแหน่ง ผิดตั้งแต่ชั้นล่างๆ ชั้นบนๆก็ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
ก้จะหลุดตามๆกันไป ควรทำให้ดีและเน้นมากๆตั้งแต่ชั้นล่าง จะได้ไม่ต้องแก้งานมาก
สำหรับผม งาน เสา คาน พื้น ผมจะเน้นงานเสามากที่สุดเพราะแก้ยากที่สุด
จะเห็นว่ามีเอ็นอยู่เส้นหนึ่งอยู่ใกล้เสามากๆ วิ่งตามยาวผ่านเอ็นทั้ง 3 เส้น
เอ็นเส้นนั้นแหละครับที่จะใช้แทนตำแหน่งผิวของเสา
จากนั้นเราจะ วัดระยะห่างระหว่างเอ็นไปถึงเหล็ก ซึ่งระยะห่างจะเท่ากับระยะหุ้มเหล็กของเสา หรือ covering นั่นเอง
ประโยชน์ของ covering ดูได้ตามนี้เลยครับ http://www.coe.or.th/e_engineers/knc_detail.php?id=53
จากข้อกำหนดของผู้ออกแบบให้ใช้ covering เสาเท่ากับ 3 ซม.
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปตามแบบทุกประการ ผมจะวัดระยะจากเอ็นไปถึงเหล็กได้เท่ากับ 3 ซม.
เนื่องจากวันนี้เป็นการตรวจหน้างานทั่วไป ผู้รับจ้างไม่ได้ request ตรวจ
เลยยังไม่มีการวัด ขอเป็นคร่าวๆก่อนนะครับ
ค่าที่ผมยอมให้ได้อยู่ที่ 5 มม. เพราะถ้ามากกว่านี้เหล็กจะเบียดผิวคอนกรีตมากเกินไปครับ
ทีนี้เราลองมาดูว่าเสาแต่ละต้นเป็นอย่างไรบ้าง
รูปแรก ไม่ผ่านแน่ๆครับ เพราะเอ็นแตะเหล็กพอดี ต้องขยับเสาเหล็กอีกครั้ง
รูปที่สอง กะด้วยสายตาน่าจะประมาณ 1.5 ซม. หายไป 1.5 ซม. ไม่ผ่านครับ ต้องขยับอีกครั้ง
ภาพที่สาม กะด้วยสายตาประมาณ 3.5 ซม. ถือว่าผ่านครับ เกิน 3.0 ซม. แต่อยู่ในระยะที่ยอมให้ได้ 3.5 ซม.
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 20:06 น.
ความคิดเห็นที่ 6
หลังจากที่เราตรวจตำแหน่งเสาแล้ว ต่อมาเราจะทำการตรวจเหล็กเสากันครับ
เหล็กเสามี 2 ส่วนหลักๆคือ เหล็กยืน ตามแนวดิ่ง จะดูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กและนับตามจำนวนเลยครับ
ถัดมาก็คือเหล็กปลอก จะอยู่ตามแนวขวาง ก็จะดูขนาดเหล็ก ลักษณะการดัด และ ระยะห่าง
จากรูปเป็นเสา C1 ตามแบบ มีเหล็กยืน 6 เส้น ครบตามจำนวน
ในส่วนของเหล็กปลอก ตามแบบระยะห่างที่ 20 ซม.
เท่าที่เห็นในรูปเหล็กปลอก อยู่ที่ระยะ 89 ซม. 104 ซม. และ 128 ซม. ของตลับเมตร
แสดงว่าช่วงล่างอยู่ห่างกันที่ 15 ซม. และช่วงบนอยู่ห่างกัน 24 ซม. ช่วงแรกแคบไป ช่วงหลังกว้างไป
แก้ได้โดยเคาะปลอกเหล็กตัวกลางขึ้นมาอีก 5 ซม. ก็จะเข้าตำแหน่งพอดี
เมื่อจบตรงนี้ถือว่าจบขั้นตอนของเสาตอม่อแล้วครับ
เหล็กเสามี 2 ส่วนหลักๆคือ เหล็กยืน ตามแนวดิ่ง จะดูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กและนับตามจำนวนเลยครับ
ถัดมาก็คือเหล็กปลอก จะอยู่ตามแนวขวาง ก็จะดูขนาดเหล็ก ลักษณะการดัด และ ระยะห่าง
จากรูปเป็นเสา C1 ตามแบบ มีเหล็กยืน 6 เส้น ครบตามจำนวน
ในส่วนของเหล็กปลอก ตามแบบระยะห่างที่ 20 ซม.
เท่าที่เห็นในรูปเหล็กปลอก อยู่ที่ระยะ 89 ซม. 104 ซม. และ 128 ซม. ของตลับเมตร
แสดงว่าช่วงล่างอยู่ห่างกันที่ 15 ซม. และช่วงบนอยู่ห่างกัน 24 ซม. ช่วงแรกแคบไป ช่วงหลังกว้างไป
แก้ได้โดยเคาะปลอกเหล็กตัวกลางขึ้นมาอีก 5 ซม. ก็จะเข้าตำแหน่งพอดี
เมื่อจบตรงนี้ถือว่าจบขั้นตอนของเสาตอม่อแล้วครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 20:10 น.
ความคิดเห็นที่ 7
ถัดมาคือการตรวจงาน footing ครับ
สิ่งแรกเลยคือ ขนาดของแบบหล่อ footing ความกว้างความยาวได้หรือเปล่า
เราก็ทำการวัดครับ ความกว้างและความยาวตรงตามแบบหรือไม่
ซึ่งผมดึงระยะไว้ก่อนแล้ว ที่ใช้ในการวัดค่าความเยื้องศูนย์เข็ม สามารถนำไปใช้ต่อได้เลย
ถัดมาคือ คือปริมาณเหล็ก มีการลงเหล็กครบตามรูปแบบและจำนวนหรือเปล่า
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราดูกันในตอนแรก
จากนั้นจะเป็นการตรวจ covering ของ footing ครับ
สิ่งที่เราจะใช้ในงาน covering ก็คือลูกปูน
ลูกปูนนี้ เราจะใช้เนื้อปูนจากปูนประเภทโครงสร้างรับกำลัง หรือ ปูนถุงแดง ทำการหล่อลูกปูนขึ้นมา และผึ่งให้แห้ง
ขนาดความสูงของลูกปูนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่นำไปใช้งาน
เช่น กำหนด ค่า covering ของ footing ที่ 7 ซม.ลูกปูนก็ต้องมีขนาด 7 ซม.
เราจะเอาลูกปูนนี้กั้นเอาไว้ระหว่างแบบหล่อกับเหล็กครับ เราก็จะได้ covering ตามต้องการ
ต่อมาคือเรื่องความสะอาดครับ
จะเห็นว่าที่ก้นบ่อจะมีขี้ดินขี้โคลนอยู่มาก ก็ต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนเทคอนกรีต
จากนั้นเราก็จะตรวจค้ำยันที่ใช้ค้ำแบบ footing เพื่อป้องกันแบบแตกเนื่องจากการเทคอนกรีต
เพราะคอนกรีตโดยสภาพขณะเทนั้นเป็นของเหลว มีแรงดันเหมือนแรงดันน้ำ
ต้องมีการทำค้ำยันป้องกันแบบพัง
โดยทั่วไปผมจะให้ค้ำยันภายนอกบริเวณตีนแบบและกลางแบบ และเชื่อมรัดบริเวณปากแบบครับ
ก่อนที่จะเทคอนกรีต ผมจะให้คนลองขึ้นไปขย่มๆดูก่อน เพื่อความแน่ใจว่าค้ำยันมีความมั่นคงแข็งแรง
สิ่งแรกเลยคือ ขนาดของแบบหล่อ footing ความกว้างความยาวได้หรือเปล่า
เราก็ทำการวัดครับ ความกว้างและความยาวตรงตามแบบหรือไม่
ซึ่งผมดึงระยะไว้ก่อนแล้ว ที่ใช้ในการวัดค่าความเยื้องศูนย์เข็ม สามารถนำไปใช้ต่อได้เลย
ถัดมาคือ คือปริมาณเหล็ก มีการลงเหล็กครบตามรูปแบบและจำนวนหรือเปล่า
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราดูกันในตอนแรก
จากนั้นจะเป็นการตรวจ covering ของ footing ครับ
สิ่งที่เราจะใช้ในงาน covering ก็คือลูกปูน
ลูกปูนนี้ เราจะใช้เนื้อปูนจากปูนประเภทโครงสร้างรับกำลัง หรือ ปูนถุงแดง ทำการหล่อลูกปูนขึ้นมา และผึ่งให้แห้ง
ขนาดความสูงของลูกปูนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่นำไปใช้งาน
เช่น กำหนด ค่า covering ของ footing ที่ 7 ซม.ลูกปูนก็ต้องมีขนาด 7 ซม.
เราจะเอาลูกปูนนี้กั้นเอาไว้ระหว่างแบบหล่อกับเหล็กครับ เราก็จะได้ covering ตามต้องการ
ต่อมาคือเรื่องความสะอาดครับ
จะเห็นว่าที่ก้นบ่อจะมีขี้ดินขี้โคลนอยู่มาก ก็ต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนเทคอนกรีต
จากนั้นเราก็จะตรวจค้ำยันที่ใช้ค้ำแบบ footing เพื่อป้องกันแบบแตกเนื่องจากการเทคอนกรีต
เพราะคอนกรีตโดยสภาพขณะเทนั้นเป็นของเหลว มีแรงดันเหมือนแรงดันน้ำ
ต้องมีการทำค้ำยันป้องกันแบบพัง
โดยทั่วไปผมจะให้ค้ำยันภายนอกบริเวณตีนแบบและกลางแบบ และเชื่อมรัดบริเวณปากแบบครับ
ก่อนที่จะเทคอนกรีต ผมจะให้คนลองขึ้นไปขย่มๆดูก่อน เพื่อความแน่ใจว่าค้ำยันมีความมั่นคงแข็งแรง
ความคิดเห็นที่ 8
สุดท้าย เมื่อทุกอย่างตรวจผ่านหมดแล้ว เราจะกำหนดระดับเทคอนกรีตครับ
ผมจะมักจะลงไปวัดและกำหนดระดับเทเอง และแปะเทปทำระดับเทคอนกรีตไว้ที่เหล็ก
เวลาเทคอนกรีตจะได้ทราบถึงระดับคอนกรีตที่ต้องการไม่ต้องวัดอีก
และใช้เป็นสัญลักษณ์ด้วยว่า footing ต้นไหนจบแล้ว ต้นไหนยังไม่จบ
ผมขอสรุปขั้นตอนงาน footing ดังนี้นะครับ
1. ผูกเหล็ก footing ตามแบบและนำไปติดตั้ง
2. เข้าแบบ footing และติดตั้งค่ำยันให้มั่นคงแข็งแรง
3. ผูกเหล็ก ตอม่อ ตามแบบ และนำไปติดตั้ง และยึดให้มั่นคงแข็งแรง
4.ติดลูกปูน covering สำหรับ footing
ขั้นตอนการตรวจสอบงาน footing
1. ขึงเอ็นสำหรับแนวเสาโดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้าง โดยตำแหน่งเอ็นคือตำแหน่งผิวคอนกรีตของเสา
2. วัดระยะจากเอ็นถึงเหล็กเสา โดยใช้ระยะ covering เสาที่ 3.0 ซม. และค่ายอมให้อยู่ที่ 0.5 ซม.
ระยะที่วัดต้องอยู่ในช่วง 2.5-3.5 ซม.
3. ตรวจสอบเหล็กโครงสร้างเสาโดยตามแบบ โดยมีเหล็กยืน ดูจากประเภทและจำนวน
ส่วนเหล็กปลอกดูจากประเภท ลักษณะการดัดและระยะห่าง
4. ตรวจสอบความกว้างและความยาวของแบบ footing
5. ตรวจสอบเหล็กเสริมตามแบบของ footing
6. ตรวจลูกปูน covering ของ footing อยู่ที่ 7 ซม.
7. ตรวจสอบความสะอาด บริเวณก้นหลุม
8. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของค้ำยันแบบหล่อ footing
9. กำหนดระดับเทคอนกรีตของ footing
10. เตรียมความพร้อมหน้างานก่อนเทคอนกรีต
สุดท้าย เมื่อทุกอย่างตรวจผ่านหมดแล้ว เราจะกำหนดระดับเทคอนกรีตครับ
ผมจะมักจะลงไปวัดและกำหนดระดับเทเอง และแปะเทปทำระดับเทคอนกรีตไว้ที่เหล็ก
เวลาเทคอนกรีตจะได้ทราบถึงระดับคอนกรีตที่ต้องการไม่ต้องวัดอีก
และใช้เป็นสัญลักษณ์ด้วยว่า footing ต้นไหนจบแล้ว ต้นไหนยังไม่จบ
ผมขอสรุปขั้นตอนงาน footing ดังนี้นะครับ
1. ผูกเหล็ก footing ตามแบบและนำไปติดตั้ง
2. เข้าแบบ footing และติดตั้งค่ำยันให้มั่นคงแข็งแรง
3. ผูกเหล็ก ตอม่อ ตามแบบ และนำไปติดตั้ง และยึดให้มั่นคงแข็งแรง
4.ติดลูกปูน covering สำหรับ footing
ขั้นตอนการตรวจสอบงาน footing
1. ขึงเอ็นสำหรับแนวเสาโดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้าง โดยตำแหน่งเอ็นคือตำแหน่งผิวคอนกรีตของเสา
2. วัดระยะจากเอ็นถึงเหล็กเสา โดยใช้ระยะ covering เสาที่ 3.0 ซม. และค่ายอมให้อยู่ที่ 0.5 ซม.
ระยะที่วัดต้องอยู่ในช่วง 2.5-3.5 ซม.
3. ตรวจสอบเหล็กโครงสร้างเสาโดยตามแบบ โดยมีเหล็กยืน ดูจากประเภทและจำนวน
ส่วนเหล็กปลอกดูจากประเภท ลักษณะการดัดและระยะห่าง
4. ตรวจสอบความกว้างและความยาวของแบบ footing
5. ตรวจสอบเหล็กเสริมตามแบบของ footing
6. ตรวจลูกปูน covering ของ footing อยู่ที่ 7 ซม.
7. ตรวจสอบความสะอาด บริเวณก้นหลุม
8. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของค้ำยันแบบหล่อ footing
9. กำหนดระดับเทคอนกรีตของ footing
10. เตรียมความพร้อมหน้างานก่อนเทคอนกรีต
ความคิดเห็นที่ 9
ในส่วนการแก้ไขงานและความปลอดภัยมีข้อผิดพลาดให้เห็นอยู่บ้างครับ
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นกลางมีระยะทาบน้อยเกินไป และเป็นการเชื่อมติด
แจ้งให้หน้างานของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นบนบิดผิดรูปเกินไป เก็บงานไม่เรียบร้อย
แจ้งให้หน้างานรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นบนบิดผิดรูปเนื่องจากมีการเชื่อจี้เพื่อบิดเหล็ก
แจ้งให้ผู้รับจ้างรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นบนไม่ต่อเนื่อง
แจ้งให้หน้างานรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกบิดผิดรูป เก็บงานไม่เรียบร้อย
แจ้งให้ผู้รับจ้างรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นกลางมีระยะทาบน้อยเกินไป และเป็นการเชื่อมติด
แจ้งให้หน้างานของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นบนบิดผิดรูปเกินไป เก็บงานไม่เรียบร้อย
แจ้งให้หน้างานรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นบนบิดผิดรูปเนื่องจากมีการเชื่อจี้เพื่อบิดเหล็ก
แจ้งให้ผู้รับจ้างรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกเส้นบนไม่ต่อเนื่อง
แจ้งให้หน้างานรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
ภาพนี้เหล็กปลอกบิดผิดรูป เก็บงานไม่เรียบร้อย
แจ้งให้ผู้รับจ้างรื้อของเดิมออกและลงงานใหม่
แก้ไขข้อความเมื่อ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 20:28 น.
ความคิดเห็นที่ 10
ในส่วนของปลั๊กไฟแบบนี้ถือว่าไม่ปลอดภัยครับ แจ้งให้หน้างานทราบเป็นครั้งที่สอง
และแจ้งหน้างานว่าถ้าพบอีก ทางผู้ควบคุมงานจะขอเอาเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆกลับไปใช้ที่บ้าน
ลักษณะการค้ำยันที่ไม่ปลอดภัย แจ้งให้ดำเนินการแก้ไข
มีเศษคอนกรีต เนื่องจากงานเทเสาเข็มมีคอนกรีตเหลือ จึงเททิ้งหน้างาน
แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและดำเนินการขอนย้ายออกนอกพื้นที่
มีเศษเสาเข็มเหลือจากการตัด แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและดำเนินการขอนย้ายออกนอกพื้นที่
ในส่วนของปลั๊กไฟแบบนี้ถือว่าไม่ปลอดภัยครับ แจ้งให้หน้างานทราบเป็นครั้งที่สอง
และแจ้งหน้างานว่าถ้าพบอีก ทางผู้ควบคุมงานจะขอเอาเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆกลับไปใช้ที่บ้าน
ลักษณะการค้ำยันที่ไม่ปลอดภัย แจ้งให้ดำเนินการแก้ไข
มีเศษคอนกรีต เนื่องจากงานเทเสาเข็มมีคอนกรีตเหลือ จึงเททิ้งหน้างาน
แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและดำเนินการขอนย้ายออกนอกพื้นที่
มีเศษเสาเข็มเหลือจากการตัด แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและดำเนินการขอนย้ายออกนอกพื้นที่
ความคิดเห็นที่ 11
ปัญาเรื่องแบบก่อสร้าง
ตอนนี้มีปัญหาตัวใหม่ที่ผมพบก็คือปัญหาเรื่องขนาดเสาชั้น 1 และชั้น 2
รูปแรก คือ แบบของงานสถาปัตย์ พบว่ามีขนาดกำหนดไว้ที่ 20x20 ซม.
รูปสอง คือ แบบของงานโครงสร้าง พบว่ามีขนาด 25x25 ซม. ถ้าฉาบเสร็จจะอยู่ที่ 28x28 ซม.
ซึ่งแบบทั้งสองอันนี้มันแย้งกัน
ถ้ายืนตามแบบโครงสร้าง แบบเสาก็จะผิดไปจากงานสถาปัตย์ 8 ซม.
ทางผมจึงแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ และให้ผู้ออกแบบสถาปัตย์และโยธาสรุปแบบที่ถูกต้องของทางผู้รับจ้าง
งานส่วนนี้หลายๆโครงการจะหลุดกันมาก
เพราะงานโครงสร้างมักใช้ขนาดของสถาปัตย์ไปใช้งานทันทีโดยไม่ได้ลดขนาดเสาเผื่องานฉาบ
และหน้างานก็ไม่ได้ combine แบบก่อนทำงาน
จะหยิบแบบก่อสร้างไปใช้ทันที ทำให้เกิดความคิดพลาด
ส่วนใหญ่กว่าจะรู้อีกทีหนึ่งว่าทำขนาดเสาผิดก็ตอนงานก่อฉาบ หรือ งานปูกระเบื้อง
ซึ่งตอนนั้นเราก็เทคอนกรีตคานและพื้นไปหมดแล้ว
เจ้าของบ้านจะถูกหักคอด้วยคำว่า แบบโครงสร้างมาแบบนี้ หน้างานก็ทำไปตามแบบโครงสร้าง ทำอะไรไม่ได้แล้ว
ซึ่งมันก็ทำอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ เพราะคานและพื้นมันเทไปหมดแล้ว
เจ้าของบ้านจะเสียประโยชน์ในแง่ที่ว่า เสาจะเป็นติ่งออกมาไม่สวย
ถ้าจะปิดติ่งเสาก็ต้องก่อออกมาอีก 1 ชั้น ซึ่งจะทำให้พื้นที่ใช้สอยลดลงไป
อันนี้เป็นการเสียประโยชน์ของผู้บริโภคโดยตรงครับ
หลาย บริษัทก็รู้เรื่องความผิดพลาดส่วนนี้ครับ เพราะไม่ได้ผ่านมาแค่งานเดียว แต่ก็ยังหลับหูหลับตาทำไป ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องมาอยู่เอง เลยไม่สนใจความรู้สึกของเจ้าของบ้านจะเป็นยังไง
ในส่วนของผม ผมมักเสนอว่าให้แก้ไขแบบที่งานโครงสร้าง เพราะถ้าแก้งานสถาปัตย์จะกระทบภาพรวมค่อนข้างมาก
และสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงก็คือส่วนงานโครงสร้าง
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องรอให้ผู้รับจ้างสรุปให้จบถ้าผู้รับจ้างยอมแก้ไขที่แบบโครงสร้าง ยอมลดขนาดเสาเรื่องก็จบ
แต่ถ้าผู้รับจ้างไม่สามารถทำได้ ติดปัญหาเรื่องความมั่นคงแข็งแรง ก็ต้องประชุมทั้งทางผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง เพื่อสรุปอีกครั้ง
ตอนนี้มีปัญหาตัวใหม่ที่ผมพบก็คือปัญหาเรื่องขนาดเสาชั้น 1 และชั้น 2
รูปแรก คือ แบบของงานสถาปัตย์ พบว่ามีขนาดกำหนดไว้ที่ 20x20 ซม.
รูปสอง คือ แบบของงานโครงสร้าง พบว่ามีขนาด 25x25 ซม. ถ้าฉาบเสร็จจะอยู่ที่ 28x28 ซม.
ซึ่งแบบทั้งสองอันนี้มันแย้งกัน
ถ้ายืนตามแบบโครงสร้าง แบบเสาก็จะผิดไปจากงานสถาปัตย์ 8 ซม.
ทางผมจึงแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ และให้ผู้ออกแบบสถาปัตย์และโยธาสรุปแบบที่ถูกต้องของทางผู้รับจ้าง
งานส่วนนี้หลายๆโครงการจะหลุดกันมาก
เพราะงานโครงสร้างมักใช้ขนาดของสถาปัตย์ไปใช้งานทันทีโดยไม่ได้ลดขนาดเสาเผื่องานฉาบ
และหน้างานก็ไม่ได้ combine แบบก่อนทำงาน
จะหยิบแบบก่อสร้างไปใช้ทันที ทำให้เกิดความคิดพลาด
ส่วนใหญ่กว่าจะรู้อีกทีหนึ่งว่าทำขนาดเสาผิดก็ตอนงานก่อฉาบ หรือ งานปูกระเบื้อง
ซึ่งตอนนั้นเราก็เทคอนกรีตคานและพื้นไปหมดแล้ว
เจ้าของบ้านจะถูกหักคอด้วยคำว่า แบบโครงสร้างมาแบบนี้ หน้างานก็ทำไปตามแบบโครงสร้าง ทำอะไรไม่ได้แล้ว
ซึ่งมันก็ทำอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ เพราะคานและพื้นมันเทไปหมดแล้ว
เจ้าของบ้านจะเสียประโยชน์ในแง่ที่ว่า เสาจะเป็นติ่งออกมาไม่สวย
ถ้าจะปิดติ่งเสาก็ต้องก่อออกมาอีก 1 ชั้น ซึ่งจะทำให้พื้นที่ใช้สอยลดลงไป
อันนี้เป็นการเสียประโยชน์ของผู้บริโภคโดยตรงครับ
หลาย บริษัทก็รู้เรื่องความผิดพลาดส่วนนี้ครับ เพราะไม่ได้ผ่านมาแค่งานเดียว แต่ก็ยังหลับหูหลับตาทำไป ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องมาอยู่เอง เลยไม่สนใจความรู้สึกของเจ้าของบ้านจะเป็นยังไง
ในส่วนของผม ผมมักเสนอว่าให้แก้ไขแบบที่งานโครงสร้าง เพราะถ้าแก้งานสถาปัตย์จะกระทบภาพรวมค่อนข้างมาก
และสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงก็คือส่วนงานโครงสร้าง
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องรอให้ผู้รับจ้างสรุปให้จบถ้าผู้รับจ้างยอมแก้ไขที่แบบโครงสร้าง ยอมลดขนาดเสาเรื่องก็จบ
แต่ถ้าผู้รับจ้างไม่สามารถทำได้ ติดปัญหาเรื่องความมั่นคงแข็งแรง ก็ต้องประชุมทั้งทางผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง เพื่อสรุปอีกครั้ง
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 มิถุนายน 2556 เวลา 07:39 น.
ความคิดเห็นที่ 12
ก็จบแล้วนะครับสำหรับรายงานฉบับที่ 2 คิดว่าคงพอมีประโยชน์กับหลายๆท่าน
ผมจะพยายามเอาความคืบหน้ามาลงให้ได้ทุกๆสัปดาห์
และขอขอบคุณมากนะครับที่อุตส่าห์เสียเวลาอ่านจนจบ
ขอบคุณครับ
ผมจะพยายามเอาความคืบหน้ามาลงให้ได้ทุกๆสัปดาห์
และขอขอบคุณมากนะครับที่อุตส่าห์เสียเวลาอ่านจนจบ
ขอบคุณครับ
คุมงานการก่อสร้างแบบภาคสนาม ขององค์กร มีแบบการทำงานวิชาการทำงานวิศวะกรรม ที่ชำนาญ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอสอบถามค่ะ ค่าcovering คอนกรีตส่วนที่สัมผัสพื้นดินหรือโดนแดดฝน เห็นใน วสท. กำหนดว่า 5cm. ค่ะ มันคือส่วนไหนบ้างค่ะ
ตอบลบนาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
ตอบลบนาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
และคณะ บริหารร่วมบริษัท ร่วมค้า ดังนี้
1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด...