ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา รตอ. วรจักร ระย้ายาว

 


 

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา

4.กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา    การมีเพียงกฎหมายรับรองสภาพบุคคล  ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์วินและในครอบครัวของบุคคลถือว่ายังไม่ครบถ้วน  เพราะยังขาดเครื่องมือที่จะทำให้บุคคลทำการเปลี่ยวแปลงสิทธิของตน  หรือทำสินทรัพย์หมุนเวียนเปลี่ยนมือกัน
    กฎหมายจึงต้องกำหนดนิติกรรมและสัญญาขึ้น  เพื่อให้บุคคลเปลี่ยนแปลงสิทธิของตนได้ด้วยความตั้งใจ  ซึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลจะมีการติดต่อกับผู้อื่นเสมอ  จึงจำเป็นต้องอาศัยนิติกรรมและสัญญาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เช่น  การซื้ออาหารกลางวันและของใช้ต่างๆเป็นต้น
   นิติกรรม  ได้แก่  การแสดงเจตนาของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย  มุ่งโดยตรงต่อการผูกความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคล  เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  โอนสงวน  หรือระงับสิทธิ  เช่น  การแสดงเจตตนาทำพินัยกรรม  การทำคำเสนอไปยังบุคคลอื่น  เพื่อชักชวนให้ทำสัญญาด้วย  การทำคำสนองตอบรับคำเสนอ  การบอกเลิกสัญญา  เป็นต้น
   นิติกรรมต้องเป็นการแสดงเจตนาหรือความตั้งใจออมาภายนอก  เช่น   โดยวาจาหรือการเขียนหนังสือ  การนิ่งอาจถือว่าเป็นการแสดงเจตนายอมรับได้ในบางครั้ง
   อนึ่ง นิติกรรมต้องทำโดยสมัครใจ  คือ  ไม่เกิดจากความเข้าใจผิด  หรือถูกขู่เข็ญบังคับ  หรือขาดสติสัทปชัชญญะ  นิติกรรมซึ่งทำโดยผู้หย่อนความสามารถ  เช่น  ผู้เยาว์  อาจถูกบอกล้างด้วยผู้แทนโดยชอบธรรมได้  ในกรณีที่ทำให้ผู้เยาว์เสียเปรียบเนื่องจากหย่อยความสมารถนั้น
  สัญญา  คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง  แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2  ฝ่าย  หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน  โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน  ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
    สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้  คือก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างบุคคลที่เรียกว่า  เจ้าหนี้  กับบุคคลที่เรียกว่า  ลูกหนี้  ขึ้น  ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำรำหนี้ได้ตามแต่ลักษณะของหนี้นั้น  สัญญาหลายชนิดจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
   โดยหลักทั่วไปบุคคลยอมมีความสามารถในการทำนิติกรรม  แต่มีข้อยกเว้นในเรื่องความสามารถ  คือ  บุคคลบางประเภทในทางกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา  เช่น  ผู้เยาว์  คนไร้ความสามารถ  คนเสมือนไร้ความสามารถ  และบุคคลล้มละลาย  โดยกฎหมายได้กำหนดความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคลเหล่านี้ไว้  ดังนี้
    ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาโดยซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิง  หรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่  หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัว  หรือกิจกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพ  ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
   คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาล  กิจการใดๆ  ของคนไร้ความสามารถ  ผู้อนุบาลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลต้องเป็นผู้ทำเองทั้งสิ้น  ส่วนคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่าง  เว้นแต่กิจกรรมบางอย่างจะทำได้  ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์  เช่น  สัญญาซื้อขายที่ดิน  เป็นต้น
   บุคลลล้มละลายจะทำนิติกรรมใดๆ  ไม่ได้  เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำสั่งศาลจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน
   ดังนั้น  นิติกรรมและสัญญาที่กระทำโดยบุคคลข้างต้น  โดยปราศจากความยินยอมจากบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้จะกลายเป็นโมฆียะ  ซึ่งอาจถูกบอกล้างได้
  ทั้งนี้ในการทำนิติกรรมสัญญาใดๆ  นั้น  จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหาย  ไม่เป็นการพ้นวิสัย  และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  เพราะถ้าหากฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว  นิติกรรมสัญญานั้นก็จะถือเป็นโมฆะ  หรือใช้ไม่ได้  ไร้ผลบังคับโดยสิ้นเชิง
   นิติกรรมสัญญาสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  ได้แก่
1.นิติกรรมฝ่ายเดียว  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย  ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้  เช่น  การก่อตั้งมูลนิธิ  การรับสภาพหนี้  การผ่อนเวลาชำระให้ลูกหนี้  คำมั่นจะซื้อจะขาย  การทำพินัยกรรม  การบอกกล่าวบังคับจำนอง  เป็นต้น
   2.นิติกรรมสองฝ่าย(หรือนิติกรรมหลายฝ่าย)  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างตกลงยินยอมระหว่างกัน  กล่าวคือ  ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นนำเสนอ  แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง  เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน  จึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น  หรือเรียกกันว่า  สัญญา  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญากู้ยืม  สัญญาแลกเปลี่ยน  สัญญาขายฝาก  จำนอง  จำนำ  เป็นต้น
   นิติกรรมสัญญาจะพบบ่อยและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของบุคคล  เนื่องจากทำให้เราหาสิ่งที่ต้องการมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ  หรือหลักประกันความมั่นคงในการติดต่อระหว่างเรากับผู้อื่น
  4.1  สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย  ได้แก่  สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ขาย  ฌอนกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของเหนือทรัพย์สิยให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ซื้อ  โดยผู้ซื้อตกลงจะให้ราคาทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 453)  สัญญาซื้อขายบมีอยู่ด้วยกัน  2  ชนิดคือ
   1.สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบรูณ์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด  คือ  สัญญที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันทีอย่างเด็ดขาด  เมื่อการซื้อขายสำเร็จบริบรูณ์
   2.สัญญาจะซื้อจะขาย  คือ  สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกัน  แต่เป็นสัญญาซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ  ในเวลาภายหน้าเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินอันเป็นราคาของทรัพย์สิน  มีผลผูกพันให้แก่คู่สัญญาต้องทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป
      ตัวอย่างเช่น  ปองศักดิ์ตกลงจะซื้อขายบ้านและที่ดินให้แก่นพดล  เป็นเงิน  1  แสนบาท  โดยนพดลได้ชำระเงินให้แก่ปองศักดิ์จนครบถ้วนในวันที่ทำสัญญา ซึ่งปองศักดิ์สัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการโอนที่ดินภายใน  7  วัน  ดังนี้  กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังนพดลภายในเวลาดังกล่าว  แต่มีผลผูกพันปองศักดิ์ที่จะต้องไปจดทะเบียนการโอนที่ดินและบ้านให้แก่นพดลภายในเวลาดังกล่าว  สัญญาเช่นนี้เรียกว่า  สัญญาจะซื้อจะขาย
   โดยปกติสัญญาจะซื้อจะขายทำได้โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน  โดยผู้ซื้อชำระราคาสินทรัพย์แก่ผู้ขายและผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ  ทัพย์สินบางอย่างมีความสำคัญหรือราคาสูงมากในทางกฎหมาย  ได้แก่  อสังหาริมทรัพย์  เช่น  ที่ดิน  อาคาร  สวนผลไม้  หรือการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ประเภทเรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป  แพที่ใช้อยู่อาศัยหรือเรือนแพ  และสัตว์พาหนะ  ซึ่งมีการจดทะเบียนหรือตั๋วรูปพรรณ  ที่เรียกกันว่า  "สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ"  รวมทั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา  20,000  บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป  กฎหมายบังคับให้ต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร  หรือมีการวางมัดจำ   หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไว้ล่วงหน้า  จึงจะฟ้องร้องให้ทำตามสัญญากันได้
   นอกจากนี้  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มีการจดทะเบียนหรือเรียกว่าสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ  ยังต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายกับเจ้าหน้าที่ด้วย  มิฉะนั้น  สัญญาจะเป็นโ มฆะคือเสียเปล่าไม่มีผงทางกฎหมาย  ถ้าคู่สัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น  ปกติกรรมสิทธิ์ที่ซื้อขายกัน  ย่อมโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อทำสัญญากัน  ดังนั้น  หากผู้ขายยยังไม่พร้อมที่จะโอนหรือกลับกันถ้าผู้ซื้อไม่พร้อมจะรับโอน  อาจตกลงกันเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย  ซึ่งมีผลให้ต้องทำการซื้อขายเสร็จสิ้นในอนาคตก็ได้  หรือหากผู้ซื้อยังไม่พร้อมที่จะชำระราคาสินทรัพย์เต็มจำนวนอาจทำเป็นสัญญาซวื้อขายเงินผ่อน  โดยตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินเป็นงวดจนกว่าจะครบหรือทำสัญญาซื้อขายเงินเชื่อ  เพื่อชำระราคาภายหลังได้    
    
สาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย  คือ  การตกลงโอนกรรมสิทิ์  ผู้ขายจึงจำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน  เพื่อจะโอนให้แก่ผู้ซื้อได้  ทรัพย์สินที่โอนต้องไม่มีผู้อื่นมาอ้างได้ว่ามีสิทธิดีกว่ากับผู้ซื้อได้  และผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินทรัพย์ให้แก่ผู้ขายตามที่ตกลงกันไว้     หากผู้ขายหรือผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมสามารถฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญารวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้
   4.2  สัญญาขายฝาก    สัญญาขายฝาก  ได้แก่  สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ  โดยที่มีข้อตกลงขณะซื้อขายกันว่า  ผู้ขายอากซื้อหรือไถ่ทรัพย์สินกลับคืนได้ในระยะเวลาที่ตกลงกัน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 491)  ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ต้องกำหนดเวลาใช้สิทธิไถ่คืนสูงสุดไว้ไม่เกิน  10  ปี  ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน  3  ปี  นับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน
   หากเริ่มต้นคู่สัญญาตกลงกันไว้ต่ำกว่ากำหนดเวลาสูงสุด  อาจตกลงกันภายหลังเพ่อขยายเวลาใช้สิทธิไถ่คืนได้อีก  แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดเวลาสูงสุด
   สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษได้แก่  เรือ  แพ  สัตว์พาหนะ  ต้องทำเป็นหนังสือ  และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่    ณ  สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา  สำหรับเรือจดทะเบียนที่กรมเจ้าท่า  เป็นต้น  มิฉะนั้นจะถือเป็นโมฆะ  คือ  ไม่มีผลตามกฎหมาย
การขายฝากสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ  หรือมีการวางมัดจำ  หรือมีการชำระหนี้บางส่วน  จึงจะฟ้องร้องกันได้  เช่นเดียวกับกรณีที่กล่าวมาแล้ว  โดยที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝาก  ซึ่งอาจนำไปขายให้แก่ผู้อื่นได้  หากไม่ต้องการให้ผู้ซื้อฝากทำเช่นนี้ต้องตกลงห้ามกันไว้  เมื่อตกลงกันแล้วหากผู้ซื้อนำไปฝากขายให้แก่ผู้อืนทำให้ผู้ขายฝากเสียหาย  จะต้องรับผิดชอบต่อผ฿้ขายฝาก
   การทำสํญญาขายฝากเป็นวิธีการให้หลักประกันอย่างหนึ่งแก้ผู้ซื้อฝาก  ซึ่งเอาสเงินของผู้ซื้อฝากไปใช้  โโยทรัพย์สินที่ซื้อขายฝากไว้เป็นประกัน  และเมื่อผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ก็จะได้ประโยชน์โดยกำหนดสินไถ่ไว้ในอัตราที่สูงพอเป็นการตอบแทน 
     กฎหมายระบุไว้ว่าให้กำหนดสินไถ่ได้สูงสุดไม่เกินราคาที่ขายฝากกับประฌยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15  ต่อปี  เพื่อมิให้ผู้ซื้อฝากกำหนดสินไถ่สูงจนเป็นการเอาเปรียบผู้ขายฝากเกินไป  และถ้าตกลงกันไว้ว่าเกินนั้น  ผู้ขายฝากสามารถใช้สิทธิไถ่ได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ  15  ต่อปี  หากไม่ได้กำหนดว่าสินไถ่มีอัตราเท่าใดให้ผู้ขายฝากไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากไว้
   หากผู้ซื้อฝากไม่ยอมให้ผู้ขายฝากใช่สิทธิไถ่  ผู้ขายฝากสามารถนำเงินสินไถ่ไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์  เช่น  สำนักงานวางทรัพย์กลาง  สังกัดกรมบังคับคดี  กระทรวงยุติธรรม  ซึ่งกฎหมายถือว่าทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของผู้ขายฝากทันที
  แม้ผู้ซื้อฝากจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามสัญญาขายฝาก  แต่หากระหว่างหารขายฝากนั้นทรัพย์สินเกิดดอกผงขึ้น  เช่น  ต้นไม้มีผลระหว่างอายุสัญญาหรือสัตว์ที่ซื้อฝากออกลูก  ดอกผลนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก  แต่เมื่อผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินแล้ว  ผู้ซื้อฝากก็ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายฝากกลับคืนให้แก่ผู้ขายฝากในสภาพที่เป็นอยู่
   ขณะที่มีการไถ่  หากทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือเสื่อมเสียไป  เพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก  ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฝากขาย
    4.3  สัญญาเช่าทรัพย์
สัญญาเช่าทรพย์ได้แก่  สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า  "ผู้ให้เช่า"  ตกลงให้บุคคลอีกบุคลหนึ่งเรียกว่า  "ผู้เช่า"  ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันจำกัดโดยผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  537)
    การเช่าทรัพย์ต่างจากการซื้อขาย  คือ  มิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน  และมีกำหนดเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  เช่น  ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าได้ไม่เกิน  30  ปี  ดังนั้น  ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน  เพียงแต่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นก็นำไปให้เช่าได้  แต่ผู้เช่าทรัพย์จากผู้อื่นไว้จะนำไปให้เช่าต่อ  ซึ่งเรียกว่าให้เช่าช่วงไม่ได้  เว้นแต่ว่าจะมีข้อตกลงในสัญญาเช่าอนุญาตไว้
   การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ  ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนในรูปแบบสัญญา  เพียงมีข้อความแสดงว่าตกลงกันหรือยอมให้ใช้  หรือรับประโยชน์ในทรัพย์สินตอบแทนกับค่าเช่าก็พอแล้ว)  มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้ปฎิบัติตามสัญญาไม่ได้
   สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า  3  ปี  หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เช่น  เช่าที่ดินต้องจดทะเบียน  ณ  สำนักงานที่ดิน  เช่าบ้านต้องจดทะเบียน  ณ  ที่ว่าการอำเภอหรือเขตที่ดินหรือบ้านนั้นตั้งอยู่  เป็นต้น
   ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้เช่า  รวมทั้งชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าต้องใช้ไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน  เว้นแต่ที่ต้องทำเพื่อบำรุงรักษาตามปกติหรือซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย  ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินในสภาพที่ไม่เหมาะสำหรับผู้เช่าใช้ประโยชน์ตามสัญญา  ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
  ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องใช้ทรัพย์ที่เช่าตามที่ตกลงไว้ในสัญญา  หรือตามประเพณีนิยมปกติต้องชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้  ต้องสงวนทรัพย์ที่เช่าเหมือนเช่นที่บุคคลทั่วไปจะทำกับทรัพย์สินของตัวเอง  ต้องยอมให้ผู้เช่าหรือตัวแทนตรวจตราทรัพย์สิมที่เช่าได้ตามสมควรเป็นครั้งคราว  ไม่ดัดแปลงแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่เช่า  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อน   ต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือบุบสลาย   ซึ่งเกิดกับทรัพย์สินที่เช่าเนื่องจากความผิดของผู้เช่าหรือบริวารของผู้เช่า  รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินทีร่เช่า  ในสถาพที่ซ่อมแซมดีแล้วให้แก่ผู้เช่าสัญญสเมื่อสิ้นสุดลง
    สัญญญาเช่าระงับลงเมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงกันไว้  หรือเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาล่วงหน้าก่อนกำหนดค่าชำระค่าเช่าที่ตกลงกันระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย  เช่น  ถ้ากำหนดค่าเช่าเป้นรายเดือนก็บอกเลิดล่วงหน้าเดือนหนึ่งเป็นอย่างน้อย  แต่ไม่จำเป็นต้องบอกเลิกล่วงหน้าเกินกว่า  2  เดือนไม่ว่ากรณีใด  นอกจากรี้  สัญญาเช่ายังระงับไปเมื่อทรัพย์สินที่เช่านั้นสูญหายไปทั้งหมดด้วย
    4.4  สัญาเช่าซื้อ 
    สัญญาเช่าซื้อ  คือ  สัญญาซึ่งเจ้าของนำเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น  หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิของผู้เช่า  โดยมีเงื่อนไงว่าผู้เช่าได้เช่าหรือชำระเงินเป็นจำนวนครั้งตามที่ตกลงกันไว้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  572)
     จะเห็นได้ว่าสัญญาเช่าซื้อมีลักษณะของสัญญษเช่ากับซื้อขายผสมกัน  โดยให้ผู้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำออกมาให้เช่า  และตกลงให้ผู้เช่าซื้อนำไปใช้ประโยชน์  พร้อมกับให้ผู้เช่าซื้อต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้ให้เช่าในมี่สุด  เมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อเป็นคราวหรืองวดรวดเดียวตามปกติ  โดยคำนวณดอกเบี้ยรวมเข้ากับประโยชน์ให้ผู้เช่าซื้อจะได้รับด้วย
   ขณะเดียวกันการเช่าซื้อก็ต่างกับสัญญาซื้อขายผ่อนส่ง  เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อเพียงแต่ได้ครอบครอง  และใช้ประโยชน์ทรัพย์เท่านัน้
   สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษณ  ลงลายมือชื่อคู่สัญญษทั้งสองฝ่าย  มิฉะนั้น  จะตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี  สำหรับการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์นอกจากการทำสัญญาเป็นหนังสือแล้ว  แม้ผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อจนครบตามสัญญาก้ต้องจดทะเบียนการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  มิฉะนั้น  การได้มาจะไม่สมบรูณ์  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  1299)
      ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้  เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดกันและสามารถกลับเข้าครอบครองสินทรัพย์  รวมทั้งริบเงินซึ่งผู้เช่าซื้อชำระมาแล้วได้  แต่ถ้าผู้เช่าซื้อทำผิดสัญญาโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้าย  ผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินกลับคืนและริบที่ชำระแล้วไว้ได้ต่อเมื่อเวลาผ่านไปอีกงวดหนึ่งแล้ว
     อนึ่ง  ถ้าผู้เช่าซื้อทำผิดสัญญาในข้อที่สำคัญ  เช่น  ใช้ทรัพย์สินนั้นไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข  ผู้ให้เช่าซื้อก็บอกเลิกสัญญาได้  โดยยึดทรัพย์สินกลับคืนและริบค่าเช่าซื้อที่ชำระไว้แล้วได้เช่นกัน
   ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อและมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนและริบค่าเช่าซื้อที่ชำระไว้แล้วได้เช่นกัน
   ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อและมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนและให้ค่าเช่าซื้อเฉพาะที่ยังค้างชำระเงินที่ผ่านมาแก่ผ๔้ให้เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อต้องสงวนและบำรุงรักษาทรัพย์ระหว่างที่ตนเช่าซื้อ  รวมทั้งยังต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง
     ในที่สุดหลังจากได้ชำระค่าเช่าซื้อตามสัยญาครบถ้วนแล้ว  ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ให้เช่าซื้อเปลี่ยนแปลงทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน  เช่น  ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เป็นต้น
     4.5  สัญญากู้ยืม
     สัญญากู้ยืม  หมายถึง  สัญญาซึ่งผู้ที่ต้องการเงิน  เรียกว่า  ผู้กู้  ตกลงยืมเงินจำนวนหนึ่งจาก  ผู้ให้กู้  เพื่อนำไปใช้ตามความต้องการ  และตกลงว่าจะคืนเงินตามกำหนดที่ตกลงกันไว้  โดยผู้กู้ให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เป็นค่าตอบแทน  สัญญากู้ยืมเงินจึงต่างกับสัญญายืมทั่วไป   ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมยอมให้ผ฿้ยืมใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้โดยไม่เรียกค่าตอบแทน
   การกู้ยืมเงินจะมีผลต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินให้แก่ผู้กู้และกฎหมายบังคับว่าการกู้ยืมเงินเกินกว่า  2,000  บาทขึ้นไป  จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้เงินกันจริง  ซึ่งขอให้เป็นเพียงหนังสือแวดงว่ามีการรับเงินยืมไปจริง  ลงลายมือชื่อผู้กู้  หรือในกรณีที่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้  ต้องมีลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ประทับในหนังสือดังกล่าว   ดดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นอย่างน้อยสองคน  หลักฐานดังกล่าวนี้อาจทำขึ้นภายหลังการมอบเงินให้แก่กัน  เช่น  เป็นหนังสือขอผัดผ่อนการชำระเงินได้  และในกรณีที่ตกลงกันว่าให้เรียกดอกเบี้ยได้แต่ไม่ระบุอัตราไว้  ผู้ให้กู้มีสิทธิได้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 7)  ถ้ามีการหนดอัตราดอกเบี้ยไว้  ผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ  15  ต่อปี  ถ้าผู้กู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่านี้แม้ผู้กู้จะยิยอมก็ไม่มีผล  หมายความว่า  การเรียกดอกเบี้ยเป็นอันใช้ไม่ได้ทั้งหมด  และผู้ให้กู้มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  พุทธศักราช  2475
      ยกเว้นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน  เช่น  ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายคือ  พระราชบัญญัตดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขิงสถาบันการเงิน  พ.ศ.2523  ยอมให้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ  15  ต่อปีได้
     ในการชำระหนี้เงินกู้แต่ละครั้ง  ผู้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ออกหลักฐานการใช้เงินให้  เช่น  ออกใบรับเงอนและเมื่อชำระหนี้หมดแล้ว   มีสิทธิเรียกสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้กลับคืนมา  หรือให้ระบุในสัญญาว่าได้มีการชำระเงินกู้และดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วด้วย  แต่ถ้าผู้กู้บิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา  ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยที่ยังค้างชำระได้ตามสัญญา  โดยกฎหมายกำหนดอายุความไว้ให้ต้องฟ้องภายใน  10  ปี  นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินคืน
     4.6  สัญญาจำนำ      สัญญาจำนำ  ได้แก่  สัญญาซึ่งผู้จำนำส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรพย์  ตือ  ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชำระหนี้  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  747)  ซึ่งหมายความว่าสัญญานี้เกิดขึ้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีหลักประกันการชำระหนี้ยึดไว้  เช่น  ลูกหนี้อาจนำนาฬิกาของตนจำนำไว้กับเจ้าหนี้  เป็นต้น
    การจำนำไม่ต้องมีหลักฐานหรือทำตามแบบแต่อย่างใด  เมื่อมอบทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้รับจำนำแล้ว  เขาก๋มรสิทธิยึดทรัพย์นั้นไว้ จนกว่าจะได้รับการชำระหนี้ครบถ้วน  ซึ่งรวมทั้งเงินต้น  ดอกเบี้ย  ค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้  ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ  ค่าใช้จายเพื่อรักาาทรัพย์สินที่จำนำรวมทั้งค่าทดแทนความเสียหาย  ซึ่งเกิดจากคว่มชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่จำนำ  ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นเมื่อรับจำนำไว้
     ผู้จำนำมีหน้าที่ต้องเก้บรักษาและสงวนทรัพย์สินที่จำนำให้ปลอดภัยไม่สูญเสีย  หรือเสียหายไป  หากผู้รับจำนำใช้สอย  หรือให้ผู้อื่ยใช้สอย  หรือเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นและเกิดเสียหายขึ้นจะต้องรับผิดชอบ  แต่ถ้าผู้รับจำนำต้องเสียค่าใช้จ่ายมรการรักษาบำรุงทรัพย?ฃ์ที่จำนำนั้นไปตามปกติ  ผู้จำนำมีสิทธิเรียกจากผู้จำนำได้
     เนื่องจากสัญญาจำนำทำขึ้น  เพื่อใช้ประกันการชำระหนี้  ดังนั้น  เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้(ผู้จำนำ)  ผิดนัดไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิบังคับจำนำ  โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่ลูกหนี้ให้ชำระหนี่รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ(ถ้ามี)  ภายในกำหนดเวลาอันสมควร  หลังจากนั้นหากลุกหนี้ไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด  คือ  การขายทรัพย์สินที่ทำโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปด้วยวิธีการเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์จะซื้อสู้ราคากัน  ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดตกลงรับเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น  โดยจะต้องแจ้งเป็นหนังสือ  บอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบกำหนดเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย
   อย่างไรก็ตามหากผู้จำนำค้างชำระหนี้เกินกว่าหนึ่งเดือน  และไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้  ผู้รับจำนำก็นำทรัพญืสินนั้นออกขายทอดตลาดได้  โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน  การบังคับจำนำต้องทำโดยการขายทอดตลาดเท่านั้น  ผู้รับจำนำจะทึกทักว่าทรัพย์สินที่จำนำหลุดการเป็นของตนโดยพลการไม่ได้  ถึงแม้จะตกลงกันไว้ล่วงหน้ายกเว้นการบังคับจำนำข้อตกลงนั้นก้ใช้ไม่ได้
   เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนำแล้วได้เงินสุทธิเท่าใด  ผู้รับจำนำมีสิทธิหัดมาใช้หนี้ได้จนครบ  หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ  แต่เมื่อขายทอดตลาดแล้วเงินยังขาดอยู่เท่าใด  ผู้จำนำยังต้องใช้คืนจนครบ(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  767)
     การบังคับจำนำจะทำได้ต่อเมื่อยังมีทรัพย์สินที่จำนำอยู่กับผู้รับจำนำ  ดังนั้น  หากผู้รับจำนำคืนทรัพย์สินให้ผู้จำนำไปแล้ว  การจำนำเป็นการระงับไป  ผู้รับจำนำไม่มีทางบังคับกับทรัพย์สินนั้นอีก  คงทำได้เพียงฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ที่ค้าง  ดังเช่น  การเรียกให้ชำระหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอย่างปกติเท่านั้น
     4.7  สัญญาจำนอง
      
สัญญาจำนอง  คือ  สัญญาซึ่งผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์  เช่น  ที่ดิน  อาคารบ้านเรือน  เป็นต้น  หรือสังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ของตนเองไปตราไว้แก้ผู้รับจำนองโดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองนั้นให้  เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้  ซึ่งอาจเป็นตัวผู้จำนองหรือบุคคลอื่นก็ได้(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  702)
      การนำทรัพย์สินไปตาฃราไว้ที่นี้  หมายถึง  การเอาทรัพย์สินนั้นไปทำหนังสือจกทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เช่น  นำที่ดินไปจดทะเบียนการจำนอง  ณ  สำนักงานที่ดิน  เป็นต้น
      แม้จำนองอสังหาริมทรัพย์แล้ว  เจ้าของก็ยังครอบครองต่อไปได้อีกไม่ต้องส่งมอบแก่เจ้าหนี้เหมือนกับการจำนำ  เนื่องจาการจำนองมีหลักฐานปรากฏอญุ่ใรทะเบียนหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นสามารถตรวจพบได้นั่นเอง
    อนึ่ง  การเพียงแต่มอบโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพยืให้เจ้าหนี้ยึดไว้ยังไม่ได้จำนอง  เพราะการจำนองจะเกิดขึ้นดดยการจดทะเบียน
    การชำระหนี้จำนองไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม  การสิ้นสุดหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในการจำนองก็ตาม  ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  มิฉะนั้นจะนำไปใช้อ้างกับบุคคลภายนอกไม่ได้
   การจำนองมีผลเป็นหลักประกันการชำระหนี้  ทั้งเงินต้น  ดอกเบี้ย  ค่าเสียหาย  จากการไม่ชำระหนี้  เช่น  ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม  รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง  ทำให้ผ฿้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ  แม้มีการทอนทรัพย์สินจำนองให้แก่บุคคลภายนอกแล้วผู้รับจำนองก็ยังบังคับจำนองจากทรัพย์สินนั้นได้
     การบังคับจำนำทำโดยผู้รับจำนองมีหนังสือแจ้งลุกหนี้ให้ชำระภายในเลาอันสมควร  มิฉะนั้นจะใช้สิทธิบังคับจำนองต่อไป  หากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาลโดยขอต่อศาลว่าหากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้  ให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินจำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนอง  หรือให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อไป
     อย่างไรก็ตามเมื่อลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง  5  ปี  และผู้จำนองแสดงต่อศาลไม่ได้ว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระ  รวมทั้งทรัพย์สินนั้นไม่ได้จดทะเบียนการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิ์(คือ  สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น)  ไว้  ผู้รับจำนองขอต่อสาลให้ทรัพย์สินนั้นหลุดเป็นสิทธิได้โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาด
    หลังจากมรการขายทอดตลาดแล้ว  หากำด้เงินสุทธิต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ  ตามหลักลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ในเงินที่ยังขาดอยู่อีก  แต่ถ้าตกลงยกเว้นไว้ในสัญญาจำนองว่าให้ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดชอบหลังการบังคับจำนองแล้วจนมีการชำระเงินครบถ้วน  เมื่อได้มีการบังคับจำนองแล้ว  ได้เงินไม่พอชำระหนี้  ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดชอบในเงินที่ค้างอยู่

   

ความคิดเห็น

  1. กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา การมีเพียงกฎหมายรับรองสภาพบุคคล ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์วินและในครอบครัวของบุคคลถือว่ายังไม่ครบถ้วน เพราะยังขาดเครื่องมือที่จะทำให้บุคคลทำการเปลี่ยวแปลงสิทธิของตน หรือทำสินทรัพย์หมุนเวียนเปลี่ยนมือกัน
    กฎหมายจึงต้องกำหนดนิติกรรมและสัญญาขึ้น เพื่อให้บุคคลเปลี่ยนแปลงสิทธิของตนได้ด้วยความตั้งใจ ซึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลจะมีการติดต่อกับผู้อื่นเสมอ จึงจำเป็นต้องอาศัยนิติกรรมและสัญญาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เช่น การซื้ออาหารกลางวันและของใช้ต่างๆเป็นต้น

    ตอบลบ
  2. สัญญา คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
    สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้ คือก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างบุคคลที่เรียกว่า เจ้าหนี้ กับบุคคลที่เรียกว่า ลูกหนี้ ขึ้น ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำรำหนี้ได้ตามแต่ลักษณะของหนี้นั้น สัญญาหลายชนิดจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยหลักทั่วไปบุคคลยอมมีความสามารถในการทำนิติกรรม แต่มีข้อยกเว้นในเรื่องความสามารถ คือ บุคคลบางประเภทในทางกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย โดยกฎหมายได้กำหนดความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคลเหล่านี้ไว้ ดังนี้

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม