ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สอนงาน การควบคุมงานก่อสร้างบ้าน จำทำให้องค์กร มีคนที่มีคุณภาพ

รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1

กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์

เนื่องจากผมเพิ่งได้รับโอกาสในการควบคุมงานก่อสร้างบ้านเพิ่มเติมมาอีกหนึ่งหลัง
ซึ่งเป็นงานเริ่มต้นตั้งแต่การเปิดพื้นที่ไปจนถึงปิดจบงานสุดท้าย

เป็นโอกาสที่ดีในการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนการทำงานรวมถึงการแก้ไขงานตั้งแต่แรกเริ่มจนจบ
ผมจึงอยากรวบรวมขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจได้ศึกษาและติดตามกันครับ

ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ
1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน
2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้

ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ
เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ

ผมลงฉบับที่ 2 ไว้แล้วนะครับ ว่างๆลองไปอ่านดูได้ครับ
http://pantip.com/topic/30609981
แก้ไขข้อความเมื่อ 
56 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เรามารู้จักภาพรวมขอบ้านหลังนี้ภาพรวมๆก่อนนะครับ

บ้านหลังนี้ถูกสร้างอยู่ภายในเขตบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร 
ความสูง 2 ชั้น กว้างประมาณเฉลี่ย 20 ม. ยาวประมาณ 30 ม. 
พื้นที่ใช้สอยประมาณชั้นละ 600 ตร.ม. รวม 2 ชั้น 1200 ตร.ม.

ฐานรากบริเวณบ้านเป็นเข็มเจาะ Dia 0.35 ม. บริเวณถนนทางเข้าบ้านเป็นเข็มตอก I 18
โครงสร้างเป็นแบบ คสล. พื้นสำเร็จรูป ผนังก่ออิญมอญ ฉาบเรียบทาสี ปูพื้นไม้มะค่าและแกรนิตโต้
อาคารที่จอดรถ 8 คัน และ ถนนทางเข้าบ้าน และบ่อน้ำพุ

มูลค่าก่อสร้างรวม ประมาณ 18.00 ล้านบาท



ความคิดเห็นที่ 2
ขั้นแรก เราต้องสำรวจพื้นที่เพื่อวางผังอาคารก่อนครับเพื่อให้ว่ารูปแบบอาคารนั้นสามารถสร้างในพื้นที่ได้จริง
ระยะร่นต่างๆครอบคลุมเพียงพอสำหรับข้อกำหนดต่างๆ 

และเริ่มวางผังสำหรับแนวเข็มเจาะทั้งหมด 
โดยเริ่มวางหมุดอ้างอิง และไล่ไปแนวก่อสร้างแนวแรกและแนวถัดๆไป





ความคิดเห็นที่ 3
รอติดตามครับเยี่ยม
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อสำรวจและวางหมุดแล้ว งานถัดมาคืองานเข็มเจาะครับ 

จากแบบผังเข็มกับแบบแสดงรายละเอียดเข็ม จะเห็นว่าผู้ออกแบบได้กำหนดตำแหน่งและขนาดเข็มไว้แล้ว
ทั้งความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยไว้ที่ 35 ตัน/ต้น พร้อมรายละเอียดการเสริมเหล็ก



ก่อนที่จะเริ่มงานเข็มทั้งหมดต้องมีการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ
ผมให้ผู้รับจ้างเจาะเข็มตัวอย่าง 2 ต้น และให้ดำเนินการทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยว่าได้ที่ 35 ตัน
โดยวิธี Dynamic test ซึ่งเป็นรูปแบบในการทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยรูปแบบหนึ่ง เพื่อใ้หได้ตามข้อกำหนดของผู็ออกแบบ





เมื่อทดสอบแล้วสรุปได้ว่าเข็มเจาะที่เราทำไว้สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ที่ 35 ตันจริง
ก็ใช้อ้างอิงกับเข็มต้นอื่นๆได้ครับว่าถ้าใช้เข็มขนาดเดียวกันก็สามารถรับได้ 35 ตัน เช่นเดียวกัน
เราก็ดำเนินงานเข็มเจาะต้นอื่นๆได้เลยครับ

ความคิดเห็นที่ 5
น่าสนใจมากค่ะ
ความคิดเห็นที่ 6
เมื่อเจาะเข็มเสร็จแล้วและทิ้งระยะบ่มคอนกรีตไว้ประมาณ 14 วัน 
ก็จะดำเนินงานเปิดหน้าดิน เพื่อทำการตัดเข็มและตรวจสอบเข็มครับ



ตอนเปิดหน้าดิน สภาพเข็มจะไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไร ต้องปรับแต่งหลุม 
ปรับดินให้แน่น รองทรายหยาบ และเทคอนกรีตหยาบ และทำการตัดเข็ม

ในการตัดเข็มที่ดีนั้น ควรดำเนินการเทคอนกรีตหยาบก่อน จึงทำการกรีดคอนกรีตรอบเข็มด้วยใบตัด
และค่อยๆย่อยคอนกรีตจากด้านบนของคอนกรีต มาถึงบริเวณรอยตัดของคอนกรีต 
และทิ้งเหล็กหนวดกุ้งประมาณ 30 ซม. เพื่อเป็นเหล็ก Dowel ยื่นเข้าไปใน footing



การกรีดคอนกรีตก่อนนั้น ช่วยแยกเนื้อคอนกรีต ไม่ให้ความเสียหายจากการย่อยคอนกรีต
ลามไปถึงส่วนที่เราต้องการใช้งาน ไม่เช่นนั้น บริเวณขอบจะเกิดการบิ่นและเสียหายได้ครับ



ภาพนี้เป็นตัวอย่างความเสียหายเนื่องจากการไม่เทคอนกรีตหยาบก่อนการตัดเข็มครับ
แม้ว่าจะเทคอนกรีตหยาบหลังการตัดไปแล้ว ความเสียหายก็อาจปรากฏในภายหลังได้ครับ

โดยปกติแล้วผมให้ดำเนินการแก้ไขด้วยการนำคอนกรีตที่เสียหายออก และให้เข้าแบบใกล้เคียงรูปแบบเดิม
และหล่อคอนกรีตซ่อมแซมโดยใช้คอนกรีตรับแรงอัดกำลังสูง

คอนกรีตที่ใช้ซ่อมแซมผมจะใช้ตัวนี้ครับ
http://th01.webdms.sika.com/fileshow.do?documentID=141
จะแนะนำให้หน้างานมีติดไว้อย่างน้อยๆ 4 ถุงได้เลยครับ



ถ้ามีความเสียหายมากๆ อย่างเช่นในตัวอย่างคาดได้ว่า ได้ทำการกรีดคอนกรีตรอบเข็มแล้ว
แต่ในช่วงแรกคนงานทำการย่อยคอนกรีตจากบริเวณรอยตัดก่อน จึงทำให้ความเสียหายต่ำกว่ารอยตัดมาก

วิธีแก้โดยปกติ จะทำการลดระดับรอยตัดให้ต่ำกว่าบริเวณที่เกิดความเสียหาย และตัดใหม่อีกครั้ง
ซึ่งผมก็ต้องให้ทางผู้ออกแบบเห็นชอบก่อน เพราะการลดระดับตัดจะมีผลต่อค่าความชะลูดของเสาตอม่อ

แต่ถ้าดูแล้วเกิดจากการละเลยของหน้างานทำให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นแบบนี้
ผมจะใช้วิธีขู่ด้วยการบอกกับหน้างานว่า ถ้ามีความเสียหายแบบนี้เกิดขึ้นอีก
ต้องให้ผู้ออกแบบทำรายการคำนวณรับรองเรื่องการลดระดับการตัดทุกต้นก่อนถึงให้ทำงานได้



เราอาจพบปัญหาอื่นๆอีกครับเช่น เหล็กอยู่ต่ำกว่าระดับคอนกรีต ไม่โผล่ออกมาจากเข็ม
แก้ไขด้วยการลดระดับตัดเข็มครับ แต่เนื่องจากเราไม่ทราบว่าเหล็กอยู่ที่ระดับความสูงเท่าไร
ก็ต้องสุ่มตัดลงไปครั้งละ 50 ซม. ซึ่งค่อนข้างมาก 
เมื่อเราเจอตำแหน่งเหล็กแล้ว ก็ต้องส่งให้ผู้ออกแบบแก้ไขแบบเพิ่มเติมครับ
ความคิดเห็นที่ 7
ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเข็ม 
เพื่อตรวจสอบว่าตำแหน่งเข็มเจาะในแบบกับตำแหน่งเข็มเจาะจริง อยู่ตำแหน่งเดียวกันหรือไม่ 

ถ้าไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน การเยื้องศูนย์ของเข็ม ยังอยู่ในขอบเขตที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้หรือเปล่า

โดยการตรวจสอบเราจะยึดผังเข็มที่เราได้วางตั้งแต่แรก
และทำการขึงเอ็นเพื่อสร้างเป็นแนวจำลองขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ



ความคิดเห็นที่ 8
ต่อมาเราก็จะทำการดิ่งจากแนวเอ็นลงมายังบริเวณเข็ม
เพื่อสร้างผังเข็มลงบนคอนกรีตหยาบรอบๆเข็ม และใช้ระยะบนคอนกรีตหยาบตรวจสอบเข็มครับ





ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อเราได้ทำผังเข็มลงบนคอนกรีตหยาบครับ โดยการวัดจากเส้นเอ็นบนคอนกรีตหยาบและวัดไปถึงเข็ม

โดยก่อนหน้านี้ ผมได้รับข้อมูลจากผู้ออกแบบว่าค่าความเยื้องศูนย์ให้ไม่เกิน 6 ซม.

ถ้าวัดจากเส้นเอ็นไปถึงขอบเข็มเจาะ ผมจะวัดได้ 17.50 ซม. 
บวก ลบ อีก 6 ซม. ดังนั้น ค่าที่วัดได้ต้องอยู่ระหว่าง 11.50 ซม. ถึง 23.50 ซม. เพื่อให้ครอบคลุมค่าที่ผู้ออกแบบแจ้งไว้ครับ

เมื่อเราได้ข้อมูลครบแล้วเราก็ทำการวัดได้เลยครับ


ต้นนี้ วัดได้ 22.50 ยังอยู่ในเกณฑ์ครับ ถือว่าผ่าน



ต้นนี้วัดได้ 22.50 ก็ถือว่าผ่านครับ



ต้นนี้วัดได้ 26.50 ไม่ผ่านนะครับ อยู่นอกข้อกำหนด 3.00 ซม. ต้องส่งให้ผู้ออกแบบทำการแก้ไขแบบก่อสร้างครับ

เมื่อตรวจสอบเข็มเจาะทุกต้นแล้วปรากฏว่ามีผิดพลาดเพียงต้นเดียวครับ
ถือว่างานค่อนข้างมีคุณภาพดีทีเดียว
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 10
ในส่วนสุดท้ายของการตรวจสอบเข็มคือการตรวจสอบความสมบูรณ์ โดยวิธี seisemic test 
เป็นการตรวจสอบว่าเข็มอยู่ในสภาพเป็นแท่งดีหรือเปล่า
สภาพเข็มไม่มีการขาดตอน หลุมเข็มไม่พัง ไม่เป็นปล่องหรือตีบบริเวณกลางเข็มมากจนเกินไป





ถ้าผลการทดสอบออกมาว่าเข็มอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ก็สามารถดำเนินงานขั้นต่อไปซึ่งเป็นส่วนงาน footing ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 11
ผมขอสรุปเนื้อหาสำคัญของเสาเข็มเจาะประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญๆครับ
1. เสาเข็มเจาะรับน้ำหนักได้ตามต้องการหรือไม่ ทดสอบโดยวิธี Dynamic test
2. เสาเข็มเจาะอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ ตรวจสอบโดยการขึงเอ็นและวัดตามจริง
3. เข็มสมบูรณ์หรือไม่ ตรวจสอบโดยวิธี seisemic test 

และขอสรุปขั้นตอนในส่วนงานเข็มเจาะคือ
1. วางผังเข็ม
2. เจาะเข็มตัวอย่าง
3. ทดสอบการรับน้ำหนักเข็ม Dynamic test
4. เจาะเข็มต้นอื่นๆ
5. งานเปิดหน้าดิน เทคอนกรีตหยาบ และตัดเข็มเจาะ
6. ขึงเอ็นและตรวจสอบความเยื้องศูนย์
7. ทดสอบความสมบูรณ์เข็ม seisemic test 
8. ขึ้นงานต่อไป
ความคิดเห็นที่ 12
ในส่วนการแก้ไขงานและความปลอดภัยมีข้อผิดพลาดให้เห็นอยู่บ้างครับ





ในส่วนของงาน footing ที่ขึ้นถัดจากงานเข็มเจาะ มีการผูกเหล็กด้วยวิธีการเชื่อมเหล็กซึ่งเป็นวิธีที่ผิด
วิธีนี้ทำให้เหล็กสูญเสียกำลังได้ได้ จึงแจ้งให้หน้างานทำการรื้อออกและลงงานใหม่อีกครั้ง





ระหว่างการทดสอบ seisemic ผู้ทดสอบแจ้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้เนื่องจากมีการเทซ่อมคอนกรีต
ซึ่งผมได้แจ้งหน้างานก่อนแล้วว่าอย่าเพิ่งทำ จึงต้องทำการรื้อแบบและทุบรื้อคอนกรีตที่เททับออก

ในกรณีนี้ผมถือว่าเป็นการลักไก่แอบทำโดยไม่แจ้งครับ 
ผมจึงแจ้งให้หน้างานต้องส่งแบบแก้ไขเข็มทุกต้นที่ทำการลักไก่ครับ ถือว่าเป็นการเพิ่มควมเข้มข้นครับ
เพื่อให้หน้างานตระหนักในการปฏิบัติงานโดยไม่แจ้ง ซึ่งในกรณีอื่นอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้




ในส่วนของปลั๊กไฟแบบนี้ถือว่าไม่ปลอดภัยครับ แจ้งให้หน้างานเปลี่ยนทันทีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
ผมจึงแจ้งหน้างานว่าถ้าไม่มีการแก้ไขผมจะให้เลิกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆทันที
ความคิดเห็นที่ 13
ในส่วนของการใช้วัสดุและงานเพิ่มงานลด



จากภาพจะเห็นว่าจุดนี้จะเป็นการเจาะเข็มกลุ่ม 3 เนื่องจากตำแหน่งเข็มเดิมเจาะลงไปเจอเข็มเก่า
ทำให้ต้องมีการปรับแก้ฐานราก ซึ่งต้องเจาะเข็มเพิ่มอีก 1 ต้น

แต่ในส่วนงานนี้ทางผู้รับจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่ม เนื่องจากลักษณะการรับจ้างเป็นงานเหมา
ซึ่งทางผู้รับจ้างต้องประเมินเผื่อในลักษณะงานเหมาเอาไว้แล้ว
ประกอบกับผู้รับจ้างรับทั้งงานในส่วนออกแบบและก่อสร้าง 

ดังนั้นจึงไม่สามารถปฏิเสธภาระทั้งในแง่ของความผิดพลาดทั้งการสำรวจเพื่อออกแบบ
และการสำรวจเพื่อดำเนินการก่อสร้างได้เลย
ซึ่งสรุปแล้วทางผู้รับจ้างก็รับสภาพภาระครับ เพราะไม่หาสาเหตุอื่นมาหักล้างได้





ต่อมาเป็นเรื่องสีน้ำมันทาเหล็กครับ เนื่องจากในแบบคู่สัญญาในส่วนของงานสีน้ำมันสำหรับทาโครงหลังคาเหล็ก
ไม่ได้ระบุคุณสมบัติเอาไว้ ผมจึงระบุให้โดยใช้สียี่ห้อ JOTUN หรือ rust oleum ซึ่งเป็นสีน้ำมันคุณภาพสูง
ราคาค่อนข้างสูงตามไปด้วย

ซึ่งผมแจ้งกับผู้รับจ้างไปว่า เนื่องจากสัญญาเป็นลักษณะของงานเหมา
และในแบบคู่สัญญาไม่มีการระบุคุณสมบัติเอาไว้ จึงเป็นสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างในการระบุคุณสมบัติ
ซึ่งสรุปแล้วทางผู้รับจ้างก็รับว่าจะจัดหามาให้ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง


สิ่งที่สำคัญที่สุดในการควบคุมงานคือเจ้าของบ้านได้บ้านตามต้องการและสมราคา
การที่จะยกเหตุผลใดๆมาอ้างกับผู้รับจ้าง ก่อนอื่นผมต้องดูก่อนว่ามูลค่างานที่จ้างนั้น
กับสิ่งที่ขอนั้น สมเหตุสมผลหรือไม่ อย่างงานที่นี่ถือว่างานราคาต่อเมตรค่อนข้างสูง
ผมมั่นใจว่าผู้รับจ้างมีกำไรแน่นอน จึงดูมองได้ว่าเป็นสิ่งที่เราสามาตรขอได้
แต่ถ้าราคาต่อตารางเมตรค่อนข้างต่ำ เราก็ต้องว่ากันตามความสมเหตุสมผล
ก็ต้องเลือกใช้เหตุผลให้เหมาะสมกับสถานะการณ์เช่นกันครับ

ความคิดเห็น

  1. นี่คือประโยคพื้นฐานที่พนักงานรับเรื่องร้องเรียนมักพูดออกมา ส่วนหนึ่งอาจเพราะต้องการให้ปัญหาจบไป แต่อีกส่วนหนึ่งอาจเพราะพนักงานคนนั้นไม่มีอำนาจตัดสินใจด้วยตนเอง

    ตอบลบ
  2. สร้างบ้าน ข้อมูลดีๆๆ ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม