ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ

กระทู้คำถาม
สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์

จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้ 
รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1 http://pantip.com/topic/30590647
รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2 http://pantip.com/topic/30609981

ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่
ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ

ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ
1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน
2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้

ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ
เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ
18 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เบื้องต้น ผมขออธิบายก่อนว่า สัญญาจ้าง จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ

1. ส่วนของ BOQ 
เป็นรายละเอียดการสรุปราคาค่าจ้างระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ซึ่งถ้าเซ็นต์สัญญากันแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนของการดำเนินการก่อสร้าง
BOQ เป็นปริมาณและราคาต่อหน่วยที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างตกลงกันไปแล้ว อาจจะมีการซ่อนราคา การเผื่อราคาและอื่นๆ 
โดยปกติถ้าคุยกันจบแล้ว เราจะไม่ย้อนกลับมาแก้ไข BOQ กันอีก ถือว่าเป็นงานเหมา ที่ผู้รับจ้างมองเห็นและมองไม่เห็นซึ่งผู้รับจ้างต้องทำให้แล้วเสร็จ

2. ส่วนของการจัดจ่ายงวดงาน
เป็นรายละเอียด เนื้องาน และ จำนวนเงิน ที่ได้ตกลงกันเมื่อเนื้องานนั้นๆแล้วเสร็จ

3. ส่วนของรายละเอียดสัญญาและข้อบังคับ
เป็นรายละเอียดของความรับผิดชอบของทางผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
โดยปกติแล้วเราจะไม่ค่อยยกเนื้อหาตรงนี้มาคุยครับ เพราะมันจะเสียบรรยากาศซึ่งกันและกัน
คนว่าจ้างเองก็อยากได้งาน คนรับจ้างเองก็อยากได้เงิน จะเอาเรื่องของทำได้ไม่ได้กำไรขาดทุนมาคุยกันมากกว่า

เพราะฉะนั้นตัวที่จะ ป้องกันผู้รับเหมาทิ้งงาน และ ลดความเสียเปรียบ ก็จะมาใช้หัวข้อที่ 2 กันครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ผมขอยกงวดงานที่ผมระบุไว้ในรายงานการประชุมมาใช้อธิบายนะครับ

บางท่านที่ได้รับรายงานประจำเดือนของผมอาจจะบอกว่าไม่ตรงกัน
ซึ่งผมจะตัดรายละเอียดยิบย่อยออกบางส่วนเพื่อให้กระชับมากขึ้น
และมีการเติมรายละเอียดเนื้องานที่ไม่ปรากฏในงวดแต่ปรากฏใน BOQ เพื่อให้เนื้องานครบตาม BOQ นะครับ

รายการในงวดงาน
มูลค่างานที่นี่มีมูลค่ารวม 18.40 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 13 งวด
1 งวด เป็นงวดมันจำ และ 12 งวด เป็นงวดการทำงาน

งวดงานมัดจำ จัดจ่าย 920,000.00 บาท (เก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้ว่าจ้างลงนามจ้างเหมาผู้รับจ้าง

งวดที่ 1 จัดจ่าย1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) 
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน วางผัง และตอกเข็ม ของบ้านแล้วเสร็จ

งวดที่ 2 จัดจ่าย 920,000.00 บาท (เก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน) 
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน โครงสร้าง ฐานราก ,เสาตอม่อ ,วางถังน้ำดีและน้ำเสียใต้ดิน ของบ้านและโรงจอดรถแล้วเสร็จ

งวดที่ 3 จัดจ่าย1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) 
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน โครงสร้าง คานชั้น1 , พื้นชั้น 1 , เสาชั้น 1 ของบ้านและโรงจอดรถแล้วเสร็จ

งวดที่ 4 จัดจ่าย 920,000.00 บาท (เก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน คานชั้นที่ 2 , พื้นชั้นที่ 2 , เสาชั้น 2 ของบ้าน
โครงหลังคาเหล็ก ยกเว้นแป ของโรงจอดรถ
และ พื้นถนน แล้วเสร็จ 

งวดที่ 5 จัดจ่าย 920,000.00 บาท (เก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน โครงสร้างหลังคาเหล็กยกเว้นแป , งานก่ออิฐชั้น 1 งานติดตั้งระบบสุขาภิบาล ชั้น 1 ของบ้านแล้วเสร็จ

งวดที่ 6 จัดจ่าย 1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน โครงสร้างเหล็กหลังคา , งานก่ออิฐชั้น2 และติดตั้งระบบท่อน้ำสุขาภิบาลชั้น2 ของบ้าน 
โครงหลังคาเหล็ก ของโรงจอดรถ แล้วเสร็จ

งวดที่ 7  จ่าย 1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงานติดตั้งหลังคา , ติดตั้งท่อไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า ชั้น 1 และ 2 , งานฉาบปูนภายใน ของบ้าน
งานฉาบปูนภายในโรงจอดรถ แล้วเสร็จ

งวดที่ 8 จัดจ่าย 920,000.00 บาท (เก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน ฉาบภายนอก , งานโครงฝ้า, งานติดตั้งร้อยสายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า ชั้น 1 และ 2 ของบ้าน
งานฉาบภายนอก , งานโครงฝ้า โรงจอดรถ แล้วเสร็จ

งวดที่ 9 จัดจ่าย 1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน ทาสีรองพื้น ภายในและภายนอก , งานปูกระเบื้องพื้นชั้น 2 , งานติดตั้งบานประตูและหน้าต่างชั้น 2 ของบ้าน แล้วเสร็จ

งวดที่ 10 จัดจ่าย 1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน ติดตั้งฝ้าเพดาน , งานติดตั้งบานประตูและหน้าต่างชั้น 1 และ งานปูกระเบื้องพื้นชั้น 1 ของบ้าน
งานติดตั้งฝ้าเพดาน โรงจอดรถ แล้วเสร็จ

งวดที่ 11 จัดจ่าย 1,840,000.00 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน ติดตั้งวัสดุปูผิวปิดบันไดและทางเดินทั้งหมด , ติดตั้งราวบันไดทั้งหมด , ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทั้งหมด
และ ทาสีจริงภายนอกและภายในแล้วเสร็จ

งวดที่ 12 จัดจ่าย 920,000.00 บาท (เก้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
เมื่อผู้รับจ้างดำเนินงาน ปลั๊ก และ สวิทไฟฟ้า , ทำความสะอทาดพื้นที่ และเก็บรายละเอียดภายนอกและภายในแล้วเสร็จ
ความคิดเห็นที่ 3
ผมสร้าง ตารางที่ 1 โดย เอางวดงานมาใส่ และ แตกเนื้องานในงวดงานนั้นๆ  และ ใส่เงินงวดตามสัญญา
ตั้งแต่งวดมัดจำไป ถึง งวดการทำงานทั้ง 12 งวด จะเห็นว่า มีมูลค่าแต่ละงวด ร้อยละแต่ละงวด 
มูลค่ารวมทุกงวด อยู่ที่ 18.40 ล้านบาท ตรงกับรายการ และ ร้อยละสะสมอยู่ที่ 100%

ความคิดเห็นที่ 4
ผมปรับตารางที่ 1 ให้กระชับขึ้น เป็นตารางที่ 2 นะครับ
อยากให้เน้นที่ร้อยละสะสมเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

ความคิดเห็นที่ 5
ผมสร้างตารางที่ 3 โดยใช้เนื้องานเดิม จากตารางที่ 1 
แต่ไม่ใช้ราคาตามงวดงานมาใส่
แต่จะเอาราคาจาก BOQ มาใส่แทน 
เพื่อ นำไปใช้เปรียบเทียบว่า เนื้องานที่ผู้รับจ้างขอเบิกนั้น ขาด หรือ เกิน ไปจาก BOQ

ในช่องที่ 2 คือ มูลค่าจริง ใน BOQ 
ในช่องที่ 3 คือ ยอดรวมในเนื้องานในแต่ละงวดงาน 
ในช่องที่ 4 คือ ร้อยละของงวดงานนั้นๆ
ในช่องที่ 5 คือ ร้อยละสะสม

จะเห็นว่ายอดรวมเนื้องานจะอยู่ที่ 18.40 ล้านบาทเช่นกัน และ ร้อยละสะสมอยู่ที่ 100%

ความคิดเห็นที่ 6
ผมปรับตารางที่ 3 ให้กระชับขึ้น เป็นตารางที่ 4 นะครับ
อยากให้เน้นที่ร้อยละสะสมเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

ความคิดเห็นที่ 7
ต่อมาผมเพิ่มตารางที่ 5 ขึ้นามาโดยใช้เปรียบเทียบ
โดยยึดเนื้องานเดียวกัน 

สีฟ้า คือ เงินงวดงานที่ผู้รับจ้างขอเบิกเมื่อแล้วเสร็จเนื้องานตามรายการนั้นๆ
สีเขียว คือ มูลค่าจริงตามเนื้องานโดยยึดมูลค่าใน BOQ
สุดท้าย สีส้ม คือผลต่างระหว่าง ร้อยละสะสมในงวดงาน และ ร้อยละสะสมตาม BOQ

พูดง่ายๆก็คือ เอาสีฟ้า มาลบ สีเขียว จะได้สีส้ม
ถ้าส้มเป็นบวก ก็คือ ได้เงินเกินจาก BOQ ถ้าเป็นลบ ก็คือ ได้เงินขาดจาก BOQ

เช่น
ในงวดที่ 2 ผลต่างอยู่ที่ +9.85% หมายความว่า เมื่อจ่ายเงินไปแล้ว ผู้รับเหมาได้เงินเกินจาก BOQ 9.85%
ในงวดที่ 3 ผลต่างอยู่ที่ +11.81% หมายความว่า เมื่อจ่ายเงินไปแล้ว ผู้รับเหมาได้เงินเกินจาก BOQ 11.81%
ในงวดที่ 5 ผลต่างอยู่ที่ -2.43% หมายความว่า เมื่อจ่ายเงินไปแล้ว ผู้รับเหมาได้เงินขาดจาก BOQ 2.43%
และในงวดสุดท้ายจะไม่มีส่วนต่างเพราะร้อยละสะสมจะเป็น 100% เท่ากันพอดี

ความคิดเห็นที่ 8
การวิเคราะห์เป็นเพียงประสบการณ์จากผมเอง ที่เคยทำทั้งบริษัทผู้รับเหมาและบริษัทผู้ควบคุมงาน
ซึ่งจะเป็นการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงและวางแผนทางการเงินของบริษัท
และผมวิเคราะห์ไว้เพื่อให้เจ้าของโครงการนำไปพิจารณาลดความเสี่ยงอีกทอดหนึ่งนะครับ

ถ้าเข้าใจตารางแล้วผมจะลองวิเคราะห์ดูนะครับ

ในช่วงงวด 1 , 2 และ 3 เจ้าของโครงการมีความเสี่ยงที่จะโดนทิ้งงานสูงเพราะผู้รับจ้างได้รับเงินเกินไปมาก
เกินจาก BOQ ไปถึง 11.81% จาก BOQ 

ต่อมาในงวดที่ 4 และ 5 ผลต่างสะสมแทบจะเป็นศูนย์ และ ติดลบ
ถ้าผู้รับจ้างเอาเงินเกินมาโปะในส่วนนี้ งานก็จะดำเนินไปได้เรื่อยๆไม่เร่งเร็วนักเพราะเงินติดลบ
แต่ถ้าผู้รับจ้างเอาเงินไปเปิดโครงการอื่นหรือหมุนโครงการอื่น
ในช่วงนี้ก็จะช้ามาก เพราะโครงการเรา ก็ต้องรอเงินจากโครงการอื่นเช่นกัน

ต่อมาในงวดที่ 6 , 7 และ 8 ผลต่างสะสมถือว่าได้เปรียบไม่มากนัก โครงการยังวิ่งไปได้เรื่อยๆ

ต่อมาในงวดที่ 9 และ 10 จะเห็นว่าผลต่างสะสมขึ้นเรื่อยๆไปถึง 9.98% 
ถ้ามาถึงจุดนี้ ผู้รับจ้างคงไม่ทิ้งงานแล้ว แต่เลือกที่จะเอาเงินส่วนกำไรเก็บไว้กับตัวเองก่อน 
งานในส่วนนี้เป็นงาน finishing เจ้าของบ้านจะเรื่องมากเป็นพิเศษ ต้องแก้นู่นแก้นี่
แต่ก็ไม่ต้องกลัวมากเพราะตัวเองถือเงินไว้แล้ว เจ้าของบ้านอาจจะเรื่องมากหน่อย เราก็ถือกำไรไว้แล้ว อุ่นใจกว่า

และงวดที่ 10 ยังเบิกไม่ยาก เพราะยังไม่ใช่งวดปลาย งวดปลายจะเบิกเงินยากกว่า ดังนั้น ดึงเงินมาในช่วงนี้ดีที่สุด

ต่อมาในงวดที่ 11 และ 12 จะเห็นว่าส่วนต่างลดลงและกลายเป็นศูนย์
ก็หมายความว่า ถ้าเจ้าของโครงการยอมเดินมางวด 11 งวดที่ 12 ก็จะไม่ยากแล้ว
เพราะเจ้าของโครงการก็เริ่มรู้แล้วว่า ปริมาณงานมีอีกมาก และ ยอดเงินเหลือน้อย
เจ้าของบ้านเองคงต้องรับสภาพไปส่วนหนึ่งที่จะจบโครงการ

แต่ถ้าเจ้าของบ้านยังไม่ยอมจบง่ายๆ ทางผู้รับจ้างเองก็ไม่กังวล เพราะรับเงินส่วนกำไรมาไว้กับตัวแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 
ความคิดเห็นที่ 9
การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน

ผมจะไม่จัดให้จ่ายเงินน้อย เพราะ จะไม่มีแรงจูงใจให้ผู้รับจ้างอยากทำงานคุณภาพงานอาจไม่ดี
และ จะไม่จัดให้จ่ายเงินมาก เพราะ จะทำให้ผู้รับเหมาทำงานล่าช้า เพราะได้กำไรมาไว้ในมือหมดแล้ว
แต่ก็ต้องยอมรับครับว่าส่วนใหญ่ ผู้รับเหมาจะได้เงินเกินไปก่อน 

อันนี้ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างประกอบกัน ทั้ง ประวัติบริษัทฯ มูลค่างาน ความไว้วางใจที่ให้กับเจ้าของโครงการได้ 
และ มูลค่าโครงการ ส่วนจะให้ได้มากน้อยแค่ไหนก็ต้องต่อรองกัน

ประโยชน์ของการจัดงวดงานผมขอไล่คร่าวๆดังนี้
1. ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทิ้งงาน เพราะ ถ้าได้รับเงินเกินก็เหมือนได้กำไรมาแล้วทำให้เกิดแรงจูงใจในการหยุดงาน
2. ช่วยลดความเสี่ยงทิ้งงาน ในกรณี ผู้ควบคุมงาน คิดร่วมมือกับผู้รับเหมาเพื่อเบิกเงินเกินและรับส่วนแบ่งกัน 
เพราะถ้าผู้รับเหมาได้เงินสมเหตุสมผล ก็จะช่วยลดสาเหตุที่ผู้รับเหมา คิดร่วมมือกับผู้ควบคุมงาน
3. ช่วยลดความล่าช้าในการทำงาน เพราะ มีโอกาสเอาเงินไปหมุนโครงการอื่นหรือไปเปิดหน้างานโครงการอื่น 
และรอเงินจากโครงการอื่นมาหมุนอีกครั้งหนึ่ง
4. ช่วยลดภาระด้านการเงินให้เจ้าของโครงการ ในกรณีที่ผู้รับเหมาทิ้งงานจริงๆ เพราะถ้าผู้รับเหมาทิ้งงานโดยเบิกเงินเกิน 
เจ้าของโครงการจะไปจ้างผู้รับเหมารายอื่นต่อ ก็ต้องจ่ายเงินเท่ากับเนื้องานที่เหลือ ซึ่งผู้รับเหมาอาจเบิกไปแล้ว

ผมจะแนะนำให้เจ้าของบ้านดำเนินงานจัดงวดงานเอง หรือ ให้ผู้ควบคุมงานหรือผู้รับจ้าง 
แจกแจงรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนเงินงวดมาจากไหน และ ถ้ามีผู้ควบคุมงานก็บอกให้ชัดเจนเลยว่าเบิกงวดตามนี้ ที่มาที่ไปคือแบบนี้
อย่ามาบอกให้ช่วยเบิกเงินเพิ่มไปมั่วๆ ต้องบอกที่มาที่ไปให้ชัดเจน เพราะอะไร จะช่วยลดความเสี่ยงไปได้มาก

สุดท้ายนี้ ถ้าท่านไหนอยากให้ผมลองดูงวดงานคร่าวๆว่าเหมาะสมหรือไม่ลองส่งมาทางหลังไมค์ให้ดูได้นะครับ
ขอบคุณครับ

ความคิดเห็น

  1. สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

    ตอบลบ
  2. ยินดีต้อนรับและกระผม ดร.สมัย เหมมั่น ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้และส่งเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายการจัดสรรการประกอบธุรกิจการจัดสรรให้มีความสำเร็จตลอดจนรับเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรและยินดีให้ข้อมูลข่าวสารการประชุมการจัดสรรในจังหวัดนครปฐมและปริมณฑล ถนนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และการพัฒนา senior Complex สำหรับผู้สูงอายุการสร้างมาตรฐานการเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในประเทศไทยตลอดจนโมเดลโครงงานการส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุและพระราชบัญญัติการก่อสร้างอาคารเกี่ยวเนื่องกับผู้สูงอายุ และโครงงานการพัฒนาร่วมกับกระทรวงทบวงกรมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกิจกรรมอีกมากมาย อาทิเช่นโครงการอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุเพื่อพักฟื้นฟื้นฟู ชีวิต ที่มีคุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ โครงการการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุโครงการส่งเสริมอนามัยและสุขภาพของผู้สูงอายุโครงการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากผลงานผู้สูงอายุพร้อมกับการแชร์ประสบการณ์ที่ดีของผู้สูงอายุซึ่งเป็นบรมครู จะเผยแพร่ข้อมูลผ่าน senior Complex ไทย และเว็บไซต์ Blogspot ของด็อกเตอร์สมัย เหมมั่น drsamaihemman.blogspot.com

    ตอบลบ
  3. คณะบริหารโครงการ

    ดร. สมัย เหมมั่น ประธารบริหารโครงการ
    นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ร ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมบริษัท ร่วมค้า ดังนี้
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด...


    ตอบลบ
  4. นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมบริษัท ร่วมค้า ดังนี้
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด...

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม