ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นแบบ การพัฒนาเมือง ในแนวคิด เขตเศรษฐกิจ พิเศษเมืองมหาชัย เมืองจูไห่ได้รับจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่ปี 2523 และได้ขยายพื้นที่เขตฯ ครอบคลุมทั้งเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553

มณฑลกวางตุ้ง


เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เขตพื้นที่สำคัญมณฑลกวางตุ้ง

1. นครกว่างโจว
นครกว่างโจว หรือ กวางเจา (广州) เป็นเมืองเอกของมณฑล กวางตุ้ง อีกทั้งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจู เจียง (珠三角) ตลอดจนเป็นศูนย์กลาง การคมนาคมและ “ประตูการค้า” ที่สำคัญของจีนตอนใต้ นครกว่างโจวมีพื้นที่ 7,434 ตร.กม. มีประชากรกว่า 12.7 ล้านคน (มากที่สุดในมณฑลกวางตุ้ง) เป็นเมืองสำคัญในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและเป็นศูนย์กลางทาง การค้าและธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนตอนใต้ เศรษฐกิจของนครกว่างโจวมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากนครเซี่ยงไฮ้และกรุงปักกิ่ง
ในปี 2554 มีมูลค่า GDP รวม 1.23 ล้านล้านหยวน มีมูลค่า GDP ต่อหัว 89,082 หยวน และยังเป็นศูนย์กลางการค้าและการบริการ ที่สำคัญของจีน ทั้งในด้านการเงิน การค้า และการคมนาคมขนส่งของมณฑลกวางตุ้ง
2. เมืองเซินเจิ้น
เซินเจิ้นเป็นเมืองแรกของจีนที่รัฐบาลจีนจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษใน ปี 2523 (ในระยะแรกครอบคลุมพื้นที่ 4 เขต 395.81 ตร.กม. ได้แก่ เขตฝูเถียน หลัวหู หนานซานและเหยียนเถียน) และตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2553 ได้ขยายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษครอบคลุมทั้งเมือง เมืองเซินเจิ้นยังเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ (Shenzhen Stock Exchange) ในจีนนอกจากเซี่ยงไฮ้ และได้พัฒนาจนไม่มีเขตชนบทตั้งแต่ปี 2547
อุตสาหกรรมหลักของเมืองมี 4 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีขั้นสูง การเงิน โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม รวมถึงเป็นฐานการผลิตสินค้าเทคโนโลยีและบริการที่มีชื่อเสียงของจีน อาทิ Huawei, ZTE, Lenovo, China Merchants Bank, Ping An
3. เมืองจูไห่
เมืองจูไห่ได้รับจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่ปี 2523 และได้ขยายพื้นที่เขตฯ ครอบคลุมทั้งเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553
เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจู เจียง (Pearl River Delta: PRD) ซึ่งมีพื้นที่ติดกับเขตบริหารพิเศษมาเก๊า และมีการสร้างเขตสาธิตความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างมณฑลกวางตุ้งและมาเก๊าใน เขตใหม่เหิงฉิน ที่เน้นอุตสาหกรรมภาคการบริการขั้นสูง มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกว่างโจว-จูไห่ ผ่านเมืองฝอซานและเจียงเหมิน ใช้เวลาเดินทางเพียง 45 นาที (ส่วนจากสถานีจูไห่เป่ยไปยังบริเวณด่านผ่านแดนก๋งเป่ยคาดว่าจะเปิดให้บริการ ได้ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า) ในอนาคตจะสามารถเชื่อมกับมาเก๊าและฮ่องกงได้ด้วยทางถนนผ่านสะพานฮ่องกง-จู ไห่-มาเก๊า ที่เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559 ทำให้การเดินทางจากจูไห่ไปฮ่องกงรวดเร็วมากขึ้น
4. เมืองซ่านโถว
รัฐบาลจีนจัดตั้งซัวเถาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2524 โดยในระยะแรกครอบคลุมพื้นที่ 22.6 ตร.กม. ในเขตหลงหู ปี 2527 ขยายเป็น 52.6 ตร.กม. ปี 2534 ขยายเป็น 234 ตร.กม. และตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2554 ได้ขยายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษครอบคลุมทั้งเมือง เมืองซัวเถาเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้งและเป็นบ้านเกิดของชาวจีน โพ้นทะเลมากกว่า 3.4 ล้านคน ใน 40 กว่าประเทศ/ดินแดนทั่วโลก

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta:PRD)
เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 9 เมือง ในมณฑลกวางตุ้งแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ประกอบด้วย นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองฝอซาน เมืองจูไห่ เมืองตงกว่าน เมืองจงซาน เมืองเจียงเหมิน บางส่วนของเมืองจ้าวชิ่ง (เขตเมืองของ Zhaoqing, Gaoyao และ Sihui) และบางส่วนของเมืองหุ้ยโจว (เขตเมืองของ Huizhou, Huiyang County, Huidong County และ Boluo County) โดยเมืองศูนย์กลางที่สำคัญในกลุ่มคือ นครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง และเมืองเซินเจิ้นซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแรกของจีนที่ประสบความสำเร็จและ เป็นแม่แบบให้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ของจีน ด้วยศักยภาพของเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงทำให้มณฑลกวางตุ้งมี บทบาททางเศรษฐกิจมากที่สุดในจีนมาเนิ่นนาน
2. เขตสหพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (Pan Pearl River Delta:PPRD)
เป็นการร่วมมือกันในการพัฒนาของ 9 มณฑลในประเทศจีน ประกอบด้วย 3 มณฑลชายฝั่ง คือ มณฑลกวางตุ้ง มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) 2 มณฑลตอนกลาง คือ มณฑลหูหนาน และมณฑลเจียงซี และ 4 มณฑลตอนใน คือ มณฑลเสฉวน มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และมณฑลกุ้ยโจว และร่วมมือกับอีก 2 เขตบริหารพิเศษของจีน คือ เมืองฮ่องกง และเมืองมาเก๊า รวมเรียกว่า "กลุ่ม 9+2 หรือ PPRD 9+2" ครอบคลุมพื้นที่ราว 1 ใน 5 ของประเทศจีน
3. เขตใหม่เหิงฉิน (横琴新区)
เขตใหม่เหิงฉิน ตั้งอยู่บนเกาะเหิงฉินทางใต้ของเมืองจูไห่ ใกล้กับมาเก๊า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 ได้ผ่านการอนุมัติ “แผนพัฒนาโดยรวมของเหิงฉิน” จากคณะรัฐมนตรี โดยถูกวางยุทธศาสตร์ “1 ประเทศ 2 ระบบ” ซึ่งจะเป็นเขตสาธิตของความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างมณฑลกวางตุ้งและ มาเก๊า เขตใหม่เหิงฉินเน้นการพัฒนาภาคการให้บริการ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 ให้มูลค่าการผลิตภาคการบริการมีสัดส่วนร้อยละ 75 ของGDP มุ่งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการขั้นสูง เป็นฐานให้บริการทางด้านธุรกิจ ศูนย์กลางการเงิน โลจิสติกส์ การท่องเที่ยวและพักผ่อน การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมไฮเทคโนโลยีโดยยังคงรักษาสภาพนิเวศวิทยาเดิมที่สมบูรณ์ และมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ในเขตใหม่เหิงฉิน วันที่ 6 มีนาคม 2554 มณฑลกวางตุ้งและมาเก๊าได้ลงนามร่วมใน “ กรอบความตกลงร่วมมือระหว่างกวางตุ้งและมาเก๊า ” โดยในเบื้องต้นจะเป็นการร่วมสร้างนิคมอุตสาหกรรมความร่วมมือกวางตุ้ง-มาเก๊า พื้นที่ 86 ตร.กม. ประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ด้านแพทย์แผนจีน เขตรีสอร์ทเพื่อการพักผ่อน เขตนวัตกรรมด้านวัฒนธรรม และเขตให้บริการทางด้านธุรกิจ
4. เขตใหม่หนานซา นครกว่างโจว (广州南沙新区)
เป็นศูนย์กลางการบริการที่ครบวงจรและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมใน บริเวณสามเหลี่ยมปาก แม่น้ำจูเจียง โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหลัก ๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการขนส่งทางทะเล การผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร การค้นคว้าและวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริการทางด้านธุรกิจ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เขตใหม่หนานซา เดิมเป็นเขตทำประมงและพัฒนาเป็นเขตท่าเรือ และด้วยความสะดวกของการเชื่อมโยงทางเส้นทางคมนาคมและการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งศักยภาพในด้านกำลังคน ถูกออกแบบให้เป็น “เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี” (Economic and Technological Development Zone: ETDZ) ตามแผนแม่บทของการพัฒนานครกว่างโจว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนไปสู่ความก้าวหน้ายในศตวรรษที่ 21ได้พัฒนากลายเป็นเมืองท่าที่มีอัตราโดยเฉพาะ อาทิ ถนนด่วนพิเศษ 3 สาย ตามนโยบาย “five vertical, five horizontal” เชื่อมต่อหนานซากับ South China Expressway, Guangzhou-Shenzhen Expressway, Zhuhai Expressway, Luntou และเส้นทางรถไฟสายปักกิ่ง-กว่างโจว ที่จะเชื่อมต่อถึงเกาะ Longxue, ท่าเรือหนานซา ตลอดจนฐานการผลิตปิโตรเคมี เหล็ก และโลหะหนักในหนานซา
5. เขตความร่วมมืออุตสาหกรรมการบริการสมัยใหม่เซินเจิ้น-ฮ่องกง เฉียนไห่
เขตความร่วมมืออุตสาหกรรมการบริการสมัยใหม่เซินเจิ้น-ฮ่องกง เฉียนไห่ (前海深港现代服务业合作区) หรือ เขตพัฒนาเฉียนไห่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น เป็นส่วนหนึ่งของเขตหนานซา ซึ่งเขตดังกล่าวมีพื้นที่ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง เขตพัฒนาเฉียนไห่ ด้านหลังชิดภูเขาด้านหน้าติดทะเล อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับฮ่องกง นอกจากคุณสมบัติทางพื้นที่ตามธรรมชาติที่เอื้ออำนวยแล้ว ยังมีระบบการคมนาคมที่พร้อมสรรพ ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่โดดเด่นอย่างมาก จึงเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับ ฮ่องกง มีบทบาท 4 ด้าน ได้แก่ 1) เขตนวัตกรรมระบบการบริการสมัยใหม่ 2) เขตศูนย์รวมการพัฒนาอุตสาหกรรมการให้บริการสมัยใหม่ 3) เขตแบบอย่างความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ และ 4) เขตยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (PRD) เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม 4 ด้าน ได้แก่ การเงิน โลจิสติกส์สมัยใหม่ การบริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี 2563 มีการตั้งเป้าว่า เขตพัฒนาเฉียนไห่จะกลายเป็นศูนย์บริการผู้ผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และจะมีบทบาทสำคัญต่อโลกโดยจะเป็นฐานสำคัญของโลกในเรื่องการบริการทาง อุตสาหกรรม โดยมีการตั้งเป้าผลผลิตมวลรวมมีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านหยวนต่อปี นั่นคือเฉลี่ยแล้วพื้นที่แต่ละกิโลเมตรจะสามารถสร้างผลผลิตมวลรวมได้ถึง 10,000 ล้านหยวน


back BACK

ความคิดเห็น

  1. เขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองมหาชัย มีจริงหรือ เหมาะสมหรือไม่
    samaikub01yahoocom.blogspot.com
    การวิจัย เพื่อส่งเสริมการลงทุน ประการในประเทศไทย ภาคเอกชน ต้องศึกษาเองทำเอง ทำแผนธุรกิจเอง เพื่อลดความเสี่ยง ในการลงทุน D-HOUSE GROUP เป็น หนึ่งในการคิดค้น การศึกษา

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม