ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตลาดอสังหาฯ นครหนานหนิง ปี 2558

จับตา ตลาดอสังหาฯ นครหนานหนิง ปี 2558

จับตา ตลาดอสังหาฯ นครหนานหนิง ปี 2558

地方政策松绑 业内称未来两三年楼市或处于“筑底”阶段/图
ช่วง 2-3 ปีก่อน ทั่วโลกให้การจับตามองสถานการณ์ความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนกับภาวะ 'ซับไพร์ม' เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกาจนเกือบเอาตัวไม่รอด

ด้วยการบริหารจัดการอันชาญฉลาดภายใต้ระบบ 'สั่งได้' ของรัฐบาลจีนได้ช่วยให้ประเทศจีนรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างอยู่หมัด จนกระทั่งทุกวันนี้ ราคาบ้านพักอาศัยตามหัวเมืองสำคัญของประเทศจีนอยู่ในภาวะทรงตัว รวมถึงนครหนานหนิง เมืองเอกของเขตฯ กว่างซีจ้วง

วันนี้ BIC ขอนำเสนอความเปลี่ยนแปลงในมุมมองที่หลากหลายของตลาดอสังหาริมทรัพย์นครหนานหนิง 


การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย - เมื่อรัฐบาลกลางปลด "เกียร์ว่าง" รัฐบาลท้องถิ่นสวมหน้ากาก "ฮีโร่" กอบกู้ตลาดอสังหาฯ 

นับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่ในการประชุมคณะทำงานด้านการเคหะและการก่อสร้างเมืองแห่งชาติจีน ประจำปี 2558 ไม่มีการกล่าวถึงคำว่า "ควบคุมภาคอสังหาริมทรัพย์" และ "จำกัดการซื้อ" คำสำคัญที่เป็นตัวกำหนดชะตาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน

ซึ่งนั่นเป็นการส่งสัญญาณกลายๆ ว่า ในปีนี้ รัฐบาลกลางได้เริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมและจำกัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศลงแล้ว (แต่ยังไม่ได้ "วางมือ" ในทีเดียว)

หลังจากที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนเริ่มนิ่ง ราคาบ้านพักอาศัยเข้าสู่ภาวะทรงตัว แถมมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในบ้างพื้นที่ จึงได้เวลาที่รัฐบาลท้องถิ่นต้องฉีดยาเครื่องกระตุ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุดตัวลง (Hard Landing)

ความเปลี่ยนแปลงในรอบปี 57 ที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่น (รวมถึงเทศบาลนครหนานหนิง) ได้เริ่มผ่อนคลายนโยบายควบคุมการซื้อบ้านของบุคคลต่างถิ่น การยกเลิกกฎเหล็กควบคุมการซื้อบ้านหลังที่ 2 การปรับลดสัดส่วนเงินดาวน์ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยบัญชีเงินฝาก รวมถึงการอนุมัติการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเชิงบวกที่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์แทบทั้งสิ้น


การเปลี่ยนแปลงเชิงการตลาด - เปิดคัมภีร์ "ระบายสต็อก" ศึกหนักของนักพัฒนาอสังหาฯ รายย่อย 
ในรายงานสำรวจราคาบ้านพักอาศัย 100 เมืองในประเทศจีน ประจำปี 2557 ของสถาบันดัชนีจีน (China Index Academy: CIA) ชี้ว่า ปี 2558 นอกจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วทั้งประเทศจีนต้องเผชิญแรงกดดันจากภาวะบ้านพักอาศัย "ค้างสต็อก" ในปริมาณที่สูงแล้ว ในอนาคตราคาบ้านพักอาศัยในแต่ละพื้นที่ยังมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่แตกต่างกัน

บทวิเคราะห์ข้างต้นสอดคล้องกับความเห็นของกูรูหลายรายในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ของนครหนานหนิงที่ชี้ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงอยู่ในภาวะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ดังนั้น จึงยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดมากนัก

นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการวางแผน "(ลด)ราคาแลกปริมาณ" เพื่อระบายสต็อกบ้านพักอาศัยในมือ

ข้อมูลจากสำนักบริหารหลักประกันบ้านพักอาศัยและอสังหาริมทรัพย์นครหนานหนิง (Nanning Housing Security and Real Estate Management Bureau) ณ วันที่ 10 ม.ค.2558 นครหนานหนิงมีบ้านพักอาศัยพร้อมจำหน่ายรวม 58,721 ยูนิต (คิดเป็นพื้นที่ 6.354337 ล้านตร.ม) ซึ่งนับว่ามากเอาการ และส่วนใหญ่เป็นของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลางและเล็ก

ระยะเกือบสองปีมานี้ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุนหนาจากต่างมณฑลอย่าง Wanda Group, Greenland Group และ Guangzhou Evergrande ต่างมุ่งเป้ารุกตลาดอสังหาริมทรัพย์นครหนานหนิงและฮุบที่ดินทำเลทองไปได้หลายผืน หลายรายได้ลงนามความร่วมมือกับเทศบาลนครหนานหนิง ซึ่งคาดหมายว่า ปีนี้จะเป็น 'ปีทอง' ของนักพัฒนาฯ ยักษ์ใหญ่จากต่างถิ่น ขณะที่พื้นที่ยืนของนักลงทุนรายย่อย(ท้องถิ่น)ดูจะคับแคบลง

ศึกการแย่งชิงตลาดของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำที่มีความพร้อมด้านเงินทุน ประสบการณ์การบริหาร แนวคิดการพัฒนาและการวิจัยยผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย จะส่งผลให้ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของนครหนานหนิงถึงคราว 'ล้างไพ่' ใหม่ในไม่ช้า


การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ติดตามและปรับตัวตามกฎระเบียบ เน้นนวัตกรรม "สีเขียว"กับการบริการ "เหนือระดับ" 
เมื่อต้นปี 56 รัฐบาลกลางได้กำหนดให้สิ่งปลูกสร้างใหม่จะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งวัสดุก่อสร้าง รวมถึงระบบประหยัดพลังงานของตัวอาคารสถานที่ เช่น กระจกอนุรักษ์พลังงาน (Low-E Glass) ระบบทำน้ำอุ่นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บน้ำฝน ระบบบำ บัดน้ำเสีย และระบบผนังรักษาอุณหภูมิ
นอกจากนี้ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและเป็นสถานที่ช็อปปิ้งพักผ่อนไปด้วยในตัวโดยเฉพาะการสร้างธีมหรือฟังก์ชั่นใหม่ๆ ให้กับหมู่บ้านของตนเองเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อ เช่น การสร้างหมู่บ้านที่เป็นสถานตากอากาศน้ำพุร้อนและสนามกอล์ฟ หรือจะเป็นการพัฒนา
พื้นที่ชั้นล่างเป็นช็อปปิ้งสตรีทสไตล์ยุโรป

การแข่งขันของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่นับวันยิ่งดุเดือดขึ้น นอกจากการ "สงครามราคา" แล้วนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการบ้านพักอาศัยผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การเป็นสปอนเซอร์ให้กับงานกิจกรรมระดับ Hi-end การจัดงานคอนเสิร์ต หรือการเชิญดารานักร้องนักแสดงที่มีชื่อเสียงมาร่วมงานเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย

การพัฒนาเชิงกายภาพ มุ่งมั่นพัฒนาสู่สังคมเมือง (Urbanization) ขยายพื้นที่ฝั่งตะวันออกและผุดพื้นที่เมืองใหม่ฝั่งใต้ ควบคู่การฟื้นฟูเมืองเก่า 
เทศบาลนครหนานหนิงทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อขยายการพัฒนาและก่อสร้างระบบคมนาคมขนส่งแบบมีมิติ ทั้งถนนวงแหวนรอบนอก การขุดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สาย การสร้างสะพานข้ามแยกขนาดใหญ่ และการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของตัวเมืองนครหนานหนิง 



กรมผังเมืองนครหนานหนิงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ไปทางฝั่งตะวันออกและฝั่งทางใต้ของเมืองเป็นหัวใจหลัก และฝั่งตะวันตกเป็นส่วนเสริม โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งใต้ที่เรียกว่า "เขตเมืองใหม่อู่เซี่ยง" (Wuxiang New District, 五象新区) ซึ่งได้รับกำหนดยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของนครหนานหนิงและพื้นที่อ่าวเป่ยปู้ โดยเมื่อปีที่แล้วมีการประมูลที่ดินใหม่เกือบ 1,500 ไร่เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะ อาคารที่พักอาศัย และอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ และพื้นที่ทำการส่วนราชการต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วในอนาคต

นอกเหนือจากการพัฒนาเขตเมืองใหม่แล้ว เทศบาลนครหนานหนิงยังดำเนินการการฟื้นฟูพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลกลางที่เร่งรัดให้เมืองต่างๆ เร่งดำเนินการพัฒนาพื้นที่ชุมชนแออัด (เขตสลัม) โดยการพัฒนาและเปิดประมูลพื้นที่เพื่อการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ภายใต้โครงการ "บ้านเอื้ออาทร" (Securities Housing) ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเมื่อปี 57 เทศบาลนครหนานหนิงมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อการก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร 500 ไร่ ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าที่มีเพียง 105 ไร่เท่านั้น ในช่วง 2 ปี (ปี 57-58) นครหนานหนิงตั้งเป้าสร้างบ้านเอื้ออาทรราว 3 หมื่นยูนิต
ราคาบ้านพักอาศัยในนครหนานหนิงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปี 57 ที่ผ่านมา CRIC เปิดเผยข้อมูลราคาจำหน่ายเฉลี่ย ณ เดือน มี.ค.58 อยู่ที่ 7,457 หยวน พื้นที่ที่บ้านพักอาศัยมีราคาแพงที่สุดอยู่ที่ย่านธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Zone) ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตารางเมตรละ 13,581 หยวน ซึ่งแตกต่างจากย่านชานเมืองที่มีราคาเฉลี่ยเพียง 5,542 หยวน เนื่องจากย่านดังกล่าวเป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ของเมือง (CBD) มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและครบครัน และทวีความสำคัญแทนที่ย่านธุรกิจใจกลางเมืองเก่าอย่างรวดเร็ว

ของฝากทิ้งท้าย

ปัจจุบัน นครหนานหนิงกำลังเร่งเครื่องพัฒนาความเป็นเมืองสู่การเป็น "เมืองขนาดใหญ่" (Megacity) ของประเทศจีน ในแผนพัฒนานครหนานหนิงมีการกำหนดเป้าหมายว่า สิ้นปี 2558 นครหนานหนิงจะมีขยายพื้นที่เขตเมืองแตะ 300 ตร.กม. และมีประชากรในเขตเมืองอย่างน้อย 3 ล้านคน

สังคมเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของนครหนานหนิง กล่าวได้ว่า ขณะนี้ นครหนานหนิงเปรียบเสมือน 'ฟองน้ำ' ที่ดูดซับผู้คนจากต่างถิ่นให้เข้ามาลงทุนหรือตั้งถิ่นฐาน การขยายตัวของรายได้และอำนาจซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับ 'ผู้พร้อม'

ในแง่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ การผ่อนคลายกฎระเบียบการซื้อบ้านและการย้ายถิ่นฐานเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นและขับเคลื่อนความต้องการสินค้าและบริการในภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เครื่องตกแต่งบ้านและของใช้ในครัวเรือนสไตล์ไทยที่เป็นความต้องการของตลาดจีนพอสมควร 



ปรับปรุงล่าสุด : 05 พฤษภาคม 2558
โดย : นางสาวนิราวรรณ จันทร์วิวัฒนากูล / เรียบเรียงโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม