แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล 1. แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 ค.ศ. 2011 - 2015
มณฑลกวางตุ้ง
เศรษฐกิจ
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล1. แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 ค.ศ. 2011 - 2015
- กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
- GDP ของทั้งมณฑลเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ - ยกระดับและพัมนาอุตสาหกรรมการผลิต
- พัฒนาโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภันฑ์ และกลุ่มวิสาหกิจให้มีคุณภาพและพร้อมสำหรับการแข่งขัน
- กระตุ้นให้มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมที่ 3 ภาคบริการครองสัดส่วนร้อยละ 48 ของ GDP ทั้งหมดของกวางตุ้ง - - เพิ่มศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรมให้มีความแข็งแกร่งและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
- สร้างมูลค่าการพัฒนาและวิจัยทางด้านนวัตกรรม ให้ถือครองสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของ GDP ทั้งหมดของกวางตุ้ง - ลดช่องว่างระหว่างความเจริญของแต่ละเมืองให้ลดน้อยลง
- ยกระดับการพัฒนากวางตุ้งเขตตะวันออก ตะวันตกและเหนือ ให้มีความเจริญทัดเทียมกับมณฑล
- บูรณาการพัฒนากวางตุ้งเขตตะวันออก ตะวันตกและเขตเหนือเข้ากับเมืองในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง - เพิ่มรายได้ของประชากรทั้งในเมืองและชนบทให้มากขึ้น
- รายได้เฉี่ลยต่อบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 - พัฒนาสังคมในทุก ๆ ด้าน อาทิ การศึกษา วัฒนธรรม สุขอนามัย พละศึกษา เป็นต้น
- เพิ่มจำนวนเยาวชนให้ได้รับการศึกษาช่วงมัทธยมตอนปลาย ถึงร้อยละ 90
- เพิ่มจำนวนเยาวชนให้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัทยมตอนต้น) ถึงร้อยละ 93 - ปรับปรุงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
- การบริโภคพลังงานลดลงร้อยละ 16
- ปริมาณการปล่อยกาซคาร์บอนไดออกไซลดลงร้อยละ 17 - มุ่งมั่นเปิดและปฏิรูปในเชิงลึกในทุกด้าน
- ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมั่งคง
- กระตุ้นการเติบโตของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน
- ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้เติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ให้นวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- เร่งการปฏิรูปและยกระดับเศรษฐกิจของมณฑลกวางตุ้ง
- ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมให้มีความทันสมัยพร้อมกับเร่งพัฒนาชนบท
- ปรับปรุงความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
- การส่งเสริมและยกระดับความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งในด้านการลงทุนทาง การเงิน ความร่วมมือด้านการส่งออกและนำเข้า การบริการและรวมถึงการดำเนินการเชิงรุกในการค้นหาความร่วมมือจากต่างประเทศ
- ให้ชุมชนเมืองและชนบทมีการพัฒนาที่ประสานและสอดคล้องกัน
- เสริมสร้างความศิวิไลซ์ให้แก่สังคม
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในมณฑลกวางตุ้งให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ
- เป็นมณฑลที่มีประชากรและมูลค่า GDP มากที่สุดในจีน
- มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่งที่เมืองเซินเจิ้น จูไห่และซัวเถา และโครงการสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวมากกว่า 100 โครงการ
- เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของจีนตอนใต้ โดยเฉพาะทางอากาศที่มีสนามบินนานาชาติไป๋หยุนของนครกว่างโจวเป็นศูนย์กลาง ติดต่อกับภูมิภาคต่าง ๆ ในจีนและต่างประเทศ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากสนามบินนานาชาติปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้
- สถิตินำเข้าผลไม้ไทยมากเป็นอันดับที่ 1 ร้อยละ 80 ของผักและผลไม้จากไทยถูกส่งไปที่ตลาดขายส่งผลไม้เจียงหนาน นครกว่างโจวก่อนกระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของจีน
- มีการจัดงานแสดงสินค้านำเข้าและส่งออก (Canton Fair) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน โดยจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ที่นครกว่างโจวในช่วงเดือนเมษายนและตุลาคม
- เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญและเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของจีน
- มีบทบาทนำความร่วมมือในกลุ่มสหพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ จูเจียง (PPRD: Pan Pearl River Delta) ซึ่งประกอบด้วย 9 มณฑลตอนใต้ของจีนกับฮ่องกงและมาเก๊า
นโยบายส่งเสริมการลงทุน
- ดำเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าให้ทันสมัย
- พัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
- เสริมสร้างและยกระดับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
- ในส่วนของเขตเศรษฐกิจพิเศษ มณฑลกวางตุ้งมีเขตเศรษฐกิจพิเศษถึง 3 แห่ง ที่เมืองเซินเจิ้น จูไห่และ ซัวเถา ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษสามารถบริหารงานเป็นอิสระจากรัฐบาลมณฑล โดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลปักกิ่ง พร้อมกับการให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ ในการจูงใจให้มีการลงทุนหรือเกิดความร่วมมือจากต่างประเทศมากที่สุด โดยเฉพาะให้อำนาจดำเนินการปฏิรูปและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารต่างชาติในเขตได้ การก่อสร้างสาธารณูปโภค การออกกฎหมายพิเศษ และสิทธิพิเศษด้านภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรและเทคโนโลยี การลดหย่อนภาษีแก่ผู้ประกอบการต่างชาติ การให้สิทธิเช่าที่ดินแก่ต่างชาติได้ระยะนานกว่า ดังนั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงมีขอบเขตการให้สิ่งจูงใจและการให้สิทธิพิเศษแก่ ต่างชาติที่กว้างขวางและมากกว่าเขตพื้นที่เปิดอื่นๆ
- ในด้านความร่วมมือกับฮ่องกงและมาเก๊าในปี 2546 จีนได้มีการลงนามความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (Closer Economic Partnership Agreements: CEPA) ร่วมกับฮ่องกงและมาเก๊า โดยกำหนดให้มณฑลกวางตุ้งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลประโยชน์จากความตกลงดังกล่าว มากที่สุดเนื่องจากมีพื้นที่ใกล้กับทั้งฮ่องกงและมาเก๊า โดยเป็นการลงนามความตกลง
- ลดอัตราภาษีจำนวนหนึ่งให้กับฮ่องกงก่อนเวลาที่จีนทำข้อตกลงกับ WTO และเปิดทางให้กับบริษัทเข้ามาประกอบธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ได้ง่ายและสะดวก ขึ้น
ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ ปี ค.ศ. 2012
BACK
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล
ตอบลบ1. แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 ค.ศ. 2011 - 2015