ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การคมนาคมและโลจิสติกส์ มณฑลกวางตุ้ง ตารางแสดงเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย-มณฑลกวางตุ้ง

มณฑลกวางตุ้ง


การคมนาคมและโลจิสติกส์

มณฑลกวางตุ้งเป็นศูนย์กลางของจีนภาคใต้ทั้งด้านการผลิตสินค้า เศรษฐกิจและการลงทุน อีกทั้งเป็นมณฑลที่มีบทบาทอย่างมากในกรอบความร่วมมือเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ปากแม่น้ำจูเจียง (PRD) และเขตสหพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (PPRD)
การคมนาคมและโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมก้าวไปกับการ พัฒนาของมณฑล ถึงแม้มณฑลกวางตุ้งจะมีระบบการคมนาคมที่มีศักยภาพในการรับรองการค้าและการขน ส่งระหว่างประเทศอยู่แล้ว แต่รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งก็ยังคงเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงเน้นการขยายเส้นทางการคมนาคมทั้งท่าเรือ ถนน และระบบพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑลให้พร้อมสำหรับการแข่งขันของเมือง อื่น ๆ และนานาประเทศ

เส้นทางทางบก

ตารางสภาพเส้นทางคมนาคมของมณฑลกวางตุ้งปี พ.ศ. 2555

เส้นทาง ระยะทาง (กม.)
เส้นทางรถไฟ 2,577
เส้นทางถนน 194,943
เส้นทางน้ำ 13,780
เส้นทางการบิน 1,851,000
แม้ว่ามณฑลกวางตุ้งจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งก็ยังคงเน้นการขยายเส้นทางการคมนาคมทั้งท่าเรือ ถนน และระบบพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เพิ่มสูงขึ้นและรองรับการแข่งขันของ เมืองอื่น ๆ ในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียงที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย
1.1 ระบบทางด่วน
ระบบทางด่วนมีระยะทางครอบคลุม 5,500 กิโลเมตร และคาดการณ์ว่าในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 8,800 กิโลเมตร การพัฒนาระบบทางด่วนของมณฑลกวางตุ้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการสร้างทางด่วนเพิ่มเติมเพื่อให้เชื่อมกับพื้นที่โดยรอบและเสริม สร้างเครือข่ายทางด่วนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางด่วนของมณฑลกวางตุ้งมี “9 แนวตั้ง 5 แนวนอน 2 วงกลม” ได้แก่
  • ทางด่วนซัวเถา-ฝูเจี้ยน 汕头至福建龙
  • ทางด่วนซ่านเหวย-เจียงซี汕尾至江西瑞金
  • ทางด่วนเซินเจิ้น-เจียงซี 深圳至江西赣州
  • ทางด่วนเซินเจิ้น-หูหนาน深圳至湖南汝城
  • ทางด่วนปักกิ่ง-จูไห่京珠高速公路
  • ทางด่วนจูไห่-เหลียนโจว珠海至连州
  • ทางด่วนจูไห่-หูหนาน珠海至湖南永州
  • ทางด่วนหยางเจียง-หยุนฝู阳江至云浮
  • ทางด่วนม้าวหมิง-กว่างซี 茂名至广西岑溪
  • ทางด่วนฝูเจี้ยน-แต้จิ๋ว福建漳州
  • ทางด่วนซัวเถา-จ้านเจียง 汕头至湛江
  • ทางด่วนหุ้ยโจว-กว่างซี 惠州至广西梧州
  • ทางด่วนฝูเจี้ยน-แต้จิ๋ว 福建漳州
  • ทางด่วนหราวผิง-เลี่ยนเจียง (เมืองจ้านเจียง) 饶平至湛江
  • ทางด่วนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (วงใน) 珠江三角洲环形高速公路
  • ทางด่วนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (วงนอก) 珠江三角洲外环高速公路
อีกทั้งมณฑลกวางตุ้งยังมีเส้นทางด่วนระดับชาติที่เชื่อมต่อกับมณฑลอื่น ๆ อีก 15 เส้นทาง
1.2 ระบบรถไฟ
มณฑลกวางตุ้งมีการพัฒนาระบบรถไฟอย่างต่อเนื่อง เป็นชุมทางรถไฟสำคัญทางตอนใต้ของจีนและมีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ เส้นทางรถไฟที่ตัดผ่านมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่
  • สายกรุงปักกิ่ง-นครกว่างโจว 京广铁路
  • สายกรุงปักกิ่ง-เขตเกาลูน เมืองฮ่องกง 京九铁路
  • สาย เซี่ยเหมิน-เซินเจิ้น 厦深铁路
  • สายมณฑลกวางตุ้ง-มณฑลไห่หนาน粤海铁路
  • สายนครกว่างโจว-เมืองเซินเจิ้น 广深铁路
ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลของมณฑลกวางตุ้งได้จัดสรรงบประมาณ 1.08 แสนล้านหยวน ในการก่อสร้างเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างนครกว่างโจว เมืองฮ่องกง เมืองมาเก๊า เมืองเซินเจิ้นและเมืองสำคัญในพื้นที่ปากแม่น้ำจูเจียงและในมณฑลอื่น ๆ ประกอบด้วยเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองต่าง ๆ 9 เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมด 930 กม. และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2563
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 ทางการรถไฟจีนได้มีการปรับเพิ่มความเร็วรถไฟเป็นครั้งที่ 6 โดยหนึ่งในเส้นทางนั้น คือ เส้นทางนครกว่างโจว-เมืองเซินเจิ้น โดยขบวนรถไฟที่ใช้ในการปรับความเร็วเส้นทางนี้จะใ้ช้รถไฟหัวกระสุนความเร็ว สูง (bullet train) 59 ขบวน ขบวนเดินรถไฟหัวกระสุน CRH (เหอเสียเห้า,和谐号) ใช้ตัวอักษรย่อ “D” ในตารางเดินรถ จะใช้เวลาในการเดินทางระหว่างนครกว่างโจว-เมืองเซินเจิ้นประมาณ 1 ชม. ทั้งนี้รถไฟหัวกระสุน CRH นั้นเป็นขบวนรถไฟรุ่นใหม่มีตู้รถ 8 ตู้ โดยมี 5 ตู้ติดเครื่องยนต์และ 3 ตู้ไม่ติดเครื่องยนต์ สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 668 คนและวิ่งในความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชม.
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 ได้มีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟหัวกระสุนเชื่อมโยงระหว่างเมืองกว่าง โจว-ฝอซาน-จงซานและจูไห่ โดยใช้ความเร็วในการเดินรถ 200 กม./ชม.
รถไฟความเร็วสูง (300 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
นอกจากพัฒนาระบบรถไฟให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคแล้ว มณฑลกวางตุ้งยังเข้าสู่ยุคแห่งรถไฟความเร็วสูง ด้วยการขยายความก้าวหน้าของรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นให้คนกวางตุ้งสามารถเดินทางระหว่างเมืองใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง และเดินทางระหว่างมณฑลใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง เส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ให้บริการได้แก่
  • สายปักกิ่ง-กว่างโจว京广高铁 ระยะทาง 2,298 กิโลเมตร ใช้เวลา 8 ชั่วโมง
  • สายอู่ฮั่น-กว่างโจว 武广高铁 ระยะทาง 1,068 กิโลเมตร ใช้เวลา 3.12  ชั่วโมง
  • สายกุ้ยหยาง(มณฑลกุ้ยโจว) - กว่างโจว贵广高铁  ระยะทาง 861.7 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมง
  • สายหนานหนิง-กว่างโจว南广高铁  ระยะทาง 577.1 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
  • สายหางโจว-กว่างโจว 杭广高铁 ระยะทาง 1121 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมง (จะเสร็จสิ้นในปี 2015)
  • สายเซี่ยเหมิน-เซินเจิ้น 厦深高铁 ระยะทาง 502.5 กิโลเมตร ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง
  • สายม้าวหมิง-จ้านเจียง 茂湛高铁 ระยะทาง 103 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • สายกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง 广深港高铁ระยะทาง 142 กิโลเมตร ใช้เวลา 51 นาที  (จะเสร็จสิ้นในปี 2015)
  • สายจี่หนาน(มณฑลซานตง) - กว่างโจว- 济广高铁 ระยะทาง 2000 กิโลเมตร ใช้เวลา 9.58 ชั่วโมง
  • สายกว่างโจว-ชิงต่าว青广高铁 ระยะทาง 2,477 กิโลเมตร ใช้เวลา 12.57 ชั่วโมง

ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน

ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเมืองกว่างโจว
มณฑลกวางตุ้งเริ่มมีการสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินในนครกว่างโจวโดยเปิด ให้บริการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2540 ปัจจุบันมีเส้นทางให้บริการทั้งสิ้น 9 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสาย 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, เส้นทางกว่างโจว-ฝอซานและเส้น APM (Automated People Mover systems) รวมความยาวทั้งสิ้น 260.5 กม.
โครงการรถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างนครกว่างโจว-เมืองฝอซานซึ่งเป็นเส้นทาง รถไฟใต้ดินเชื่อมระหว่างเมืองสายแรกของจีนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่าง เป็นทางการ โดยเป็นโครงการเส้นทางรถไฟใต้ดินยาว 32.16 กม. ซึ่งสามารถลดเวลาในการเดินทางจากนครกว่างโจวไปเมืองฝอซานเหลือเพียง 40 นาที และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินเมืองเซินเจิ้น
เมืองเซินเจิ้นได้เปิดให้บริการรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ปัจจุบันมีเส้นทางให้บริการทั้งสิ้น 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางสายหลัวเป่า (Luobao) เสอโข่ว (Shekou) หลงกั่ง (Longgang) หลงฮั่ว (Longhua) และหวนจง (Huanzhong) รวมความยาวทั้งสิ้น 178 กม. โดยมีแผนจะเพิ่มเป็น 10 เส้นทางในปี พ.ศ 2559

เส้นทางทางน้ำ

มณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลชายฝั่งทะเลจีน มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ (ระวาง 10,000 ตันขึ้นไป) ทั้งสิ้น 237 ท่า และยังมีท่าเทียบเรือขนาดเล็กอีก 2,819 ท่า มีท่าเรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจำนวน 36 แห่ง (Class A Ports) ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการขนส่งสินค้าที่ทันสมัยมาก ในปี 2554 มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือทั้งสิ้น 1,091 ล้านตัน
ท่าเรือที่สำคัญในมณฑลกวางตุ้ง
  • ท่าเรือกว่างโจว หนานซา เหลียนฮัวซาน และซินถาง ของนครกว่างโจว
  • ท่าเรือเสอโข่ว เหยียนเถียน ชื่อวาน เหมยซา มาวาน ตงเจี่ยวโถว และซีชง ของเมืองเซินเจิ้น
  • ท่าเรือจิ่วโจว วานไจ๋ จูไห่ ว่านซาน โต้วเหมิน ของเมืองจูไห่ 
  • ท่าเรือซัวเถา เฉาหยาง และหนานเอ้า ของเมืองซัวเถา 
  • ท่าเรือเมืองจ้านเจียง 
  • ท่าเรือหู่เหมิน เมืองตงกว่าน 
  • ท่าเรือเมืองหุ้ยโจว
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งได้ออก “กฎหมายท่าเรือ” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจทั้งในและต่างประเทศรวมถึงธุรกิจส่วน บุคคลสามารถเข้ามาลงทุน ทำกิจการเกี่ยวกับท่าเรือ นอกเหนือไปจาก 5 เมืองที่ได้เปิดไปแล้ว คือ นครกว่างโจว เมืองเซินเจิ้น เมืองจูไห่ เมืองซัวเถา และเมืองจ้านเจียง
กฎหมายท่าเรือฉบับใหม่นี้เป็นการเปิดเสรีการบริหารจัดการท่าเรือ ทำให้โปร่งใส และลดการผูกขาดของกลุ่มธุรกิจ หรือการปิดกั้นของกลุ่มคนในท้องถิ่น สนับสนุนให้ระบบตลาดเติบโตได้อย่างเต็มที่ เพื่อดึงดูดเงินลงทุน อุปกรณ์ และสิ่งก่อสร้างจากหลาย ๆ ฝ่าย เสริมสร้างให้ทั้งการลงทุนและการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ ครบถ้วนทุกด้าน มีมาตรฐานและมีความเป็นเอกภาพทางการบริหาร ทั้งนี้ยังเป็นการลดอำนาจและหน้าที่ของกองการท่าเรือซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐ แล้วมาเพิ่มบทบาทให้กับการดูแลควบคุมท่าเรือของเอกชนแทน

เส้นทางทางอากาศ

มณฑลกวางตุ้งมีท่าอากาศยาน 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋หยุน (Guangzhou Baiyun International Airport : CAN) ในนครกว่างโจว ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองเซินเจิ้น (Shenzhen Baoan International Airport : SZX) ท่าอากาศยานนานาชาติเจียหยางเฉาซ่าน (Jieyang Chaoshan International Airport: SWA) ท่าอากาศยานจูไห่ (Zhuhai Airport : ZUH) ท่าอากาศยานเมืองเหมยเซี่ยน (Meixian Airport : MXZ) และท่าอากาศยานจ้านเจียง (Zhanjiang Airport : ZHA) ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศไปยังเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ และเส้นทางบินตรงระหว่างประเทศ ในปี 2555 ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋หยุน (白云国际机场) ติดอันดับที่ 2 ของจีนและอันดับที่ 18 ของโลกที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด โดยในปี 2555 รองรับผู้โดยสารได้ถึง 48,548,430 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 รองจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งและแซงหน้าท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ (จัดอันดับโดย Airports Council International)


ตารางแสดงเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย-มณฑลกวางตุ้ง
เส้นทาง จำนวนเที่ยวบิน ระยะเวลา
กรุงเทพฯ - กว่างโจว วันละ 8-11 เที่ยว (การบินไทย, China southern airline, Ethiopian airline, Kenya airline, Srilankan airline, Madagascar airline, Thai Air Asia) ประมาณ 2 ชม. 50 นาที
กรุงเทพฯ - ซัวเถา วันละ 1 เที่ยว (China southern airline) ประมาณ 3 ชม.
กรุงเทพฯ - เซินเจิ้น วันละ 1 เที่ยว (Thai Air Asia) ประมาณ 2 ชม. 50 นาที
ทั้งนี้การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของมณฑลกวางตุ้ง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเสริมศักยภาพในการยกระดับมณฑลขึ้นเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจแถบจีนตอนใต้ ด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ในเขตเมืองใหญ่รอบนครกว่างโจว เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและเชื่อมโยงให้เป็น เอกภาพ


back BACK

ความคิดเห็น

  1. การคมนาคมและโลจิสติกส์ มณฑลกวางตุ้ง ตารางแสดงเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย-มณฑลกวางตุ้ง
    มณฑลกวางตุ้ง

    ตอบลบ
  2. การคมนาคมและโลจิสติกส์ มณฑลกวางตุ้ง ตารางแสดงเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย-มณฑลกวางตุ้ง
    มณฑลกวางตุ้ง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม