ความสัมพันธ์ไทย-จีน ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย
ความสัมพันธ์ไทย-จีน
ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล
โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้)
ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน
และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว
ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน
น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์
หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา
ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก
ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่
1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ กวางตุ้ง ไห่หนาน
ฝูเจี้ยน และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ
อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย
จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย
กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ไทยจีนใช่อื่นไกล
พี่น้องกัน”
แม้กระแสทางการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นจะทำให้ไทย
กับจีนขาดการติดต่อกันในระดับทางการอยู่ระยะหนึ่ง
แต่กระแสการเมืองโลกดังกล่าวก็ไม่อาจจะตัดความผูกพันและความใกล้ชิดทาง
วัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างแนบแน่นระหว่างประชาชนไทย-จีน ได้ ดังนั้น
นับตั้งแต่ที่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวัน
ที่ 1 กรกฏาคม 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและราบรื่น
และเป็นแบบอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มี
ระบบการปกครองแตกต่างกัน โดยมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
ด้านการเมือง
ในทศวรรษแรกหลังจากที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
ไทยและจีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจ
ต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น ซึ่งได้ช่วยสนับสนุน
การพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสนามรบกลายเป็นตลาดการค้า
นอกจากนี้
พื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและ
กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนอีกด้วย
การที่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
ต่างก็ทรงให้ความสำคัญและทรงใส่พระทัยต่อความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีต่อจีนส่ง
ผลสำคัญต่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ยิ่งใกล้ชิด แน่นแฟ้น
โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ
เยือนจีนอย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพระองค์ฯ ซึ่งถือเป็นการเสด็จฯ
เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในรอบหลายสิบปี ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม
2543 เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 25 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนจีนแล้วหลายครั้ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจีนครบทั้ง 31
มณฑลและมหานคร ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ
ถวายรางวัลในฐานะทูตสันถวไมตรีจากหน่วยงานของจีนหลายรางวัล
และเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกของโลกที่ทรงศึกษาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็น
ระยะเวลา 1 เดือน ในปีนี้ พระองค์ท่านยังได้เสด็จฯ
มาทอดพระเนตรพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008
ในฐานะผู้แทนพระองค์ด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี ก็เสด็จเยือนจีนบ่อยครั้ง เป็น
เจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ในจีน นอกจากนี้
พระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ ก็ได้เสด็จฯ เยือนจีนอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน
ผู้นำของจีนนับแต่อดีตจนถึงปัจุบันได้เยือนประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอและต่อ
เนื่องนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นต้นมา นายเติ้ง เสี่ยวผิง
ได้เยือนไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978
นับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะ
พระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่น นายหลี่ เซียนเนี่ยน
นายหยาง ซ่างคุน และนายเจียง เจ๋อหมิน จนถึงประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ
นายหู จิ่นเทา ซึ่งได้เยือนประเทศไทยในฐานะประธานาธิบดีเมื่อเดือนตุลาคม
2003 ในระดับนายกรัฐมนตรีนั้น นับตั้งแต่ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
เยือนจีนในฐานะแขกของนายเติ้ง เสี่ยวผิง เป็นต้นมา
นายกรัฐมนตรีของไทยทุกยุคทุกสมัยล้วนแต่เคยเยือนจีนทั้งสิ้น ในปีนี้
นายกรัฐมนตรีไทยได้เดินทางเยือนจีนถึง 3 ครั้ง
รวมทั้งได้เข้าร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ด้วย
ขณะที่นายกรัฐมนตรีจีนทุกสมัยก็เยือนไทยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นายหลี่
เผิง ซึ่งเยือนไทยรวม 4 ครั้ง นายจู หรงจี ซึ่งเยือนไทยเมื่อปี 2001
และนายเวิน เจียเป่า
ซึ่งเคยเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมเมื่อเดือนเมษายน 2003 ด้วย
ด้านเศรษฐกิจ
หลังจากทศวรรษแรกของการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ทั้ง
สองประเทศได้ประสบผลในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันแล้วนั้น
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าได้กลายเป็นองค์ประกอบที่นับวันยิ่งมีความ
สำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง
โดยเฉพาะหลังจากที่จีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจภาย
ใต้การนำของนายเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อปี 1978
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศได้พัฒนาและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
ในด้านการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน
เพิ่มขึ้นจากปีแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ
เป็น 31,062 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2007 ในด้านการลงทุน
ไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ที่เข้าไปลงทุนในจีนตั้งแต่เมื่อปี 1979
และก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเอเชียเมื่อปี 1997 ไทยเป็นประเทศที่อยู่ใน
10 อันดับแรก ที่มีการลงทุนในจีน ปัจจุบันตัวเลขของทางการจีนก็ยังระบุว่า
ไทยยังคงมีการลงทุนในจีนนับพันโครงการ
โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมนับพันล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่จีนมีการลงทุนในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในด้านการท่องเที่ยว
ไทยและจีนต่างเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวยอดนิยมของประชาชนทั้งสองประเทศ
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทยประมาณ 8 แสนคนต่อปี
ขณะที่ชาวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในจีนประมาณ 7-8 แสนคนต่อปี
ปัจจุบัน
รัฐบาลไทยและจีนยังได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจร่วมกัน กล่าวคือ
ภายในปี 2010 จะมีมูลค่าการค้าทวิภาคีสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการลงทุนสองฝ่ายสูง 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวร่วมกัน 4 ล้านคนต่อปี
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ด้วยความผูกพันยาวนานและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดทำให้
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีนพัฒนาไปอย่างใกล้ชิดและแนบ
แน่นมาโดยตลอด
ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการไปมาหาสู่เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้าน
วัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านประจำชาติ
ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดีและได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากประชาชนของแต่ละ
ฝ่าย
ไปจนถึงความร่วมมือทางด้านศาสนาจากการที่ไทยเป็นเมืองพุทธและจีนได้ชื่อว่า
เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง คือ ประมาณ 100
ล้านคน นอกจากนี้
ความสัมพันธ์ในด้านนี้ยังได้รับการส่งเสริมโดยพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
ของไทย โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ซึ่งทรงสนพระทัยในภาษา วัฒนธรรรม และประวัติศาสตร์ของจีน
ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน
รวมทั้งเยาวชนของไทยในการศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสอง
ประเทศ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ซึ่งทรงริเริ่มการแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน”
ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน ทั้งนี้
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น
เนื่องจากเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน
ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในด้านอื่นๆ
กล่าวโดยสรุป
ในปัจจุบันไทยกับจีนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่เจริญรุดหน้าในทุกด้าน
และนับวันจะยิ่งพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง
ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับ
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ
ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ดังนั้น
ในช่วงศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ประกอบกับการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของจีน ไทยและประเทศอื่นๆ
ในภูมิภาคหวังว่าจะความร่วมมือกับจีนมากยิ่งทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและการ
ลงทุน
โดยจีนจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและโลกโดยรวม
ความตกลงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน
ภาครัฐบาล
- ข้อตกลงทางการค้า เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1978
- พิธีสารว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – จีน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1978
- ข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - จีน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1985
- ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน มีการลงนามเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1985 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1985
- ความตกลงเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อน มีการลงนามเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1986 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 1986
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-จีน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2001
- ความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2003
-
ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ว่า ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วันที่ 18
ตุลาคม 2003
- บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจ วันที่ 18 ตุลาคม 2003 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (Memo of Understanding : MOU) ร่วมกับ China Council for the Promotion of International Trade ของประเทศจีน
ภาคเอกชน
- ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) กับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งชาติจีน เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1993
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับ หอการค้ามณฑลเหอเป่ย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2000
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสภา
สถิติสำคัญระหว่างไทย-จีน (ปี 2555) |
|
---|---|
มูลค่าการค้ารวมไทยจีนและอันดับ | ประเทศจีน USD 64,038 ล้าน ครองสัดส่วน 13.4% (อันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นที่ 15.3%) |
มูลค่าการค้าที่ไทยส่งออกไปจีน | USD 26,700 ล้าน ครองสัดส่วน 11.7% (อันดับ 1) |
สินค้าที่ไทยส่งออกไปจีน | เคมีภัณฑ์อินทรีย์, พลาสติกและผลิตภัณฑ์, ยางพาราและผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรกลและอิเล็คทรอนิกส์, แผงวงจรไฟฟ้า, น้ำมันสำเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ไม้ |
มูลค่าการค้าที่ไทยนำเข้าจากจีน | USD 37,338 ล้าน ครองสัดส่วน 14.9% (อันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นที่19.8%) |
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีน | เครื่องจักรและส่วนประกอบ, อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบ, ยานยนต์และอุปกรณ์ประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, เคมีภัณฑ์, ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช, สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์, สิ่งทอ |
นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเที่ยวไทย | จำนวน 2,789,345 คน +60% (ครองสัดส่วนตลาดท่องเที่ยวจีนที่ 9%) |
นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเที่ยวจีน | จำนวน 647,600 คน (อันดับ 6 ของกลุ่มประเทศในทวีปเอเซีย รองจาก ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, มองโกเลีย, ฟิลิปปินส์) |
ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย
ตอบลบ