มณฑลกวางตุ้ง
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่มณฑลกวางตุ้งหรือมณฑลกว่างตง (广东省) มีชื่อย่อว่า เยี่ยว์ (粤, Yue) ตั้งอยู่ทางแนวชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีน มีพื้นที่ 179,812.7 ตร.กม. มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 35 ของพื้นที่ประเทศไทย ทิศเหนือติดกับมณฑลหูหนานและมณฑลเจียงซี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลฝูเจี้ยน ทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี และตลอดแนวชายฝั่งทะเลทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเมืองฮ่องกงและเมืองมาเก๊า พื้นที่จุดยุทธศาตร์ด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของประเทศจีน ซึ่งเป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของมณฑลกวางตุ้งมีพื้นที่ทางเหนือยกตัวสูงกว่าทางใต้ มีเทือกเขาและภูเขาขนาดเล็กตัดสลับกับที่ราบ มีที่ราบร้อยละ 23 ที่ราบสูงร้อยละ 19 และภูเขาร้อยละ 58 ของพื้นที่ทั้งหมด มีชายฝั่งทะเลยาว 4,114.3 กม.
มณฑลกวางตุ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 23 เมืองระดับอำเภอ 41 อำเภอ และ 3 เขตปกครองตนเอง โดยมีนครกว่างโจว เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง
ข้อมูลประชากร
ในปี 2555 มณฑลกวางตุ้งมีประชากร 105.94 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน หรือคิดเป็น 7.8% ของประชากรรวมทั้งประเทศ โดยมีสัดส่วนของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็นชาย 52.6% หญิง 47.4% มีความหนาแน่นประชากร 590 คน ต่อตร.กม. มีอัตราการเกิด 11.60% และอัตราการตาย 4.65% นครกว่างโจวมีประชากรประมาณ 12.8 ล้านคน เป็นชนชาติฮั่น 97.46%สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนชื้น ทำให้มีฤดูร้อนที่ยาวนานและฤดูหนาวที่อบอุ่น โดยฤดูฝนจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 16-19 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม และสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียสในเดือนกรกฎาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 22.3 องศาเซลเซียสทรัพยากรสำคัญ
มณฑลกวางตุ้งมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย และเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ซึ่งกินพื้นที่ถึง 99.8 เปอร์เซ็น ของพื้นที่ มีแนวชายฝั่งทะเลที่ยาว และมีอาณาเขตทะเลที่กว้าง จึงทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตสินค้าทางการประมงได้ถึง 4 ล้านตันต่อปี อีกทั้งมณฑลกวางตุ้งมีสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ อ้อย ข้าว ชา ลิ้นจี่ ลำไย กล้วยเป็นต้นประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม
มณฑลกวางตุ้งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ 1แสนปี ถูกเรียกชื่อเป็นกวางตุ้ง ในสมัยราชวงศ์ชิงตั้งแต่ปี ค.ศ. 887 กวางตุ้งใช้เทคโนโลยีการผลิตของตะวันตก กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญหลังสงครามฝิ่น ในปี ค.ศ. 1842 อีกทั้งเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตปืนในปี ค.ศ. 1866 และโรงงานปั่นด้ายแห่งชาติในปี ค.ศ. 1873 มณฑลกวางตุ้งกลายเป็นฐานการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในประเทศจีน ภายหลังการปฏิวัติประเทศ ทำให้กวางตุ้งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในปี 1984 กวางตุ้งกลายเป็นมณฑลอันดับ 1 ของประเทศ ที่มีมวลรวมการบริโภคสินค้าปลีกในสังคม มวลรวมการส่งออก ยอดรวมการลงทุนจากต่างชาติ และตัวบ่งชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจอื่นๆ มากที่สุด ของจีนกวางตุ้งเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมหลิ่งหนาน (岭南)เป็นบ้านเกิดและวัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวจีนโพ้นทะเลส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ นิสัยเปิดกว้าง เมตาอารี และรักความสงบ
- วัฒนธรรมอาหารหลิ่งหนาน
มาจากการผสมผสานของ อาหารกว่างโจว เฉาโจว เค่อเจีย และกุ้ยโจว เน้นความสดใหม่ของวัตุดิบ มีลักษณะรส 5 ประการคือ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม และสด- วัฒนธรรมการดื่มชา หรือ หยัมฉา (饮茶)
ในภาษาถิ่นกวางตุ้ง ซึ่งนิยมดื่มชา พร้อมกับรับประทานติ่มซัมในตอนเช้า อีกทั้งยังเป็นวัฒนธรรมทางธุรกิจที่สำคัญของคนกวางตุ้ง ทำให้วัฒนธรรรมการดื่มชาของกวางตุ้งนั้นมีอัตลักษณ์ ที่บ่งบอกความเป็นกวางตุ้งอย่างชัดเจน2. ข้อมูลด้านการปกครอง
ตารางแสดงเขตการปกครองของมณฑลกวางตุ้ง
ชื่อเมือง | ชื่อเขตอำเภอและเมืองระดับอำเภอ | จำนวนตำบลชุมชนและหมู่บ้าน | |
---|---|---|---|
เมืองกว่างโจวหรือกวางเจา
(广州市) (10 เขต 2 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเยี่ยซิ่ว (越秀区) เขตลี่วาน (荔湾区) เขตไป๋หยุน (白云区) เขตฮัวตู (花都区) เขตหลัวกั่ง (萝岗区) เมืองฉงฮั่ว (从化市) |
เขตไห่จู่ (海珠区) เขตเทียนเหอ (天河区) เขตหวงผู่ (黄埔区) เขตพานหยู (番禺区) เขตหนานซา (南沙区) เมืองเจิงเฉิง (增城市) | 34 ตำบล 131 ชุมชน |
เมืองเซินเจิ้น (深圳市)
(6 เขต ) |
เขตฝูเถียน (福田区) เขตหลัวหู (罗湖区) เขตเหยียนเถียน (盐田区) |
เขตหนานซาน (南山区) เขตเป่าอัน (宝安区) เขตหลงกั่ง (龙岗区) | 57 ชุมชน |
เมืองจูไห่ (珠海市)
(3 เขต) |
เขตเซียงโจว (香洲区)
เขตจินวาน (金湾区) เขตโต้วเหมิน (斗门区) |
15 ตำบล 8 ชุมชน | |
เมืองซ่านโถวหรือซัวเถา
(汕头市) (6 เขต 1 อำเภอ) |
เขตจินผิง (金平区) เขตหลงหู (龙湖区) เขตเฉิงไห่ (澄海区) |
เขตเหาเจียง (濠江区) เขตเฉาหยาง (潮阳区) เขตเฉาหนาน (潮南区) อำเภอหนานเอ้า (南澳县) |
32 ตำบล 37 ชุมชน |
เมืองฝอซาน (佛山市)
(5 เขต) |
เขตฉานเฉิง (禅城区)
เขตหนานไห่ (南海区) เขตซุ่นเต๋อ (顺德区) |
เขตเกาหมิง (高明区) เขตซันสุ่ย (三水区) | 21 ตำบล 12 ชุมชน |
เมืองเสากวน (韶关市)
(3 เขต 4 อำเภอ 1 อำเภอปกครองตนเอง 2 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเจินเจียง (浈江区)
เขตอู่เจียง (武江区) เขตฉีเจียง (曲江区) เมืองเล่อชัง (乐昌市) เมืองหนานโสง (南雄市) |
อำเภอเหรินฮั่ว (仁化县) อำเภอสื่อซิ่ง (始兴县) อำเภอเวิงหยวน (翁源县) อำเภอซินเฟิง (新丰县) อำเภอปกครองตนเองหลูหยวน - ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยา (乳源瑶族自治县) | 93 ตำบล 9 ชุมชน 1 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย |
เมืองเหอหยวน (河源市)
(1 เขต 5 อำเภอ) |
เขตหยวนเฉิง (源城区) อำเภอตงหยวน (东源县) อำเภอเหอผิง (和平县) |
อำเภอหลงชวน (龙川县) อำเภอจื่อจิน (紫金县) อำเภอเหลียนผิง (连平县) | 94 ตำบล 4 ชุมชน 1 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย |
เมืองเหมยโจว (梅州市)
(1 เขต 6 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเหมยเจียง (梅江区) เมืองซิ่งหนิง (兴宁市) อำเภอเหมย (梅县) อำเภอผิงหยวน ( 平远县) |
อำเภอเจียวหลิ่ง (蕉岭县) อำเภอต้าผู่ (大埔县) อำเภอเฟิงซุ่น (丰顺县) อำเภออู่หัว (五华县) | 104 ตำบล 6 ชุมชน |
เมืองหุ้ยโจว (惠州市)
(2 เขต 3 อำเภอ) |
เขตหุ้ยเฉิง (惠城区)
เขตหุ้ยหยาง (惠阳区) อำเภอหุ้ยตง (惠东县) |
อำเภอปั๋วหลัว (博罗县) อำเภอหลงเหมิน (龙门县) | 52 ตำบล 16 ชุมชน 1 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย |
เมืองซ่านเหว่ย (汕尾市)
(1 เขต 2 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเฉิง (城区) เมืองลู่เฟิง (陆丰市) อำเภอไห่เฟิง (海丰县) |
42 ตำบล 10 ชุมชน | |
เมืองตงกว่าน (东莞市) | 28 ตำบล 4 ชุมชน | ||
เมืองจงซาน (中山市) | 18 ตำบล 6 ชุมชน | ||
เมืองเจียงเหมิน (江门市)
(3 เขต 4 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเผิงเจียง (蓬江区) เขตเจียงไห่ (江海区) เขตซินหุ้ย (新会区) |
เมืองไถซาน (台山市) เมืองไคผิง (开平市) เมืองเหอซาน ( 鹤山市) เมืองเอินผิง (恩平市) | 62 ตำบล 17 ชุมชน |
เมืองหยางเจียง (阳江市)
(1 เขต 2 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเจียงเฉิง (江城区)
เมืองหยางชุน (阳春市) อำเภอหยางตง (阳东县) |
อำเภอหยางซี (阳西县) | 39 ตำบล 9 ชุมชน |
เมืองจ้านเจียง (湛江市)
(4 เขต 2 อำเภอ 3 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตชื่อข่าน (赤坎区) เขตเสียซาน (霞山区) เขตหมาจาง (麻章区) เขตพัวโถว (坡头区) |
เมืองเหลยโจว (雷州市) เมืองเหลียนเจียง (廉江市) เมืองอู๋ชวน (吴川市) อำเภอซุ่ยซี (遂溪县) อำเภอสีเหวิน (徐闻县) | 85 ตำบล 34 ชุมชน 2 หมู่บ้าน |
เมืองเม่าหมิง (茂名市)
(2 เขต 1 อำเภอ 3 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตเม่าหนาน (茂南区) เขตเม่ากั่ง (茂港区) เมืองซิ่นอี๋ (信宜市) |
เมืองเกาโจว (高州市)
เมืองฮั่วโจว (化州市) อำเภอเตี้ยนไป๋ (电白县) | 87 ตำบล 22 ชุมชน |
เมืองจ้าวชิ่ง (肇庆市)
(2 เขต 4 อำเภอ 2 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตตวนโจว (端州区) เขตติ่งหู (鼎湖区) เมืองซื่อหุ้ย (四会市) เมืองเกาเหย้า (高要市) |
อำเภอกว่างหนิง (广宁县) อำเภอเต๋อชิ่ง (德庆县) อำเภอเฟิงไค (封开县) อำเภอหวยจี๋ (怀集县) | 95 ตำบล 12 ชุมชน 1 หมุ่บ้านชนกลุ่มน้อย |
เมืองชิงหย่วน (清远市)
(1 เขต 3 อำเภอ 2 อำเภอปกครองตนเอง 2 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตชิงเฉิง (清城区) เมืองอิงเต๋อ (英德市) เมืองเหลียนโจว (连州市) อำเภอฝอกัง (佛冈县) อำเภอชิงซิน (清新县) |
อำเภอปกครองตนเองเหลียนซาน-ชนกลุ่มน้อยเผ่าจ้วงและเผ่าเหยา (连山壮族瑶族自治县) อำเภอปกครองตนเองเหลียนหนาน-ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยา (连南瑶族自治县) อำเภอหยางซาน (阳山县) | 77 ตำบล 5 ชุมชน 3 หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย |
เมืองเฉาโจวหรือแต้จิ๋ว
(潮州市) (1 เขต 2 อำเภอ) |
เขตเซียงเฉียว (湘桥区)
อำเภอเหยาผิง (饶平县) อำเภอเฉาอัน (潮安县 |
41 ตำบล 9 ชุมชน | |
เมืองเจียหยาง (揭阳市)
(1 เขต 3 อำเภอ 1 เมืองระดับอำเภอ) |
เขตหรงเฉิง (榕城区) เมืองผู่หนิง (普宁市) อำเภอเจียตง (揭东县) |
อำเภอเจียซี (揭西县)
อำเภอหุ้ยไหล (惠来县) | 63 ตำบล 18 ชุมชน 2 หมู่บ้าน |
เมืองหยุนฝู๋ (云浮市)
(1 เขต 3 อำเภอ 1 อำเภอระดับเมือง) |
เขตหยุนเฉิง (云城区)
เมืองหลัวติ้ง (罗定市) อำเภอซินซิ่ง (新兴县) |
อำเภอหยูหนาน (郁南县) อำเภอหยุนอัน (云安县) | 55 ตำบล 10 ชุมชน |
สรุปรวมทั้งมณฑล | มี 21 เมือง 23 เมืองระดับอำเภอ 41 อำเภอ 3 อำเภอปกครองตนเอง 54 เขตภายใต้การควบคุมของเมือง 7 หมู่บ้านของชนกลุ่มน้อย 1137 ตำบล และสำนักงานชุมชน 433 แห่ง |
3. ผู้บริหารฝ่ายการเมือง
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
(เข้ารับตำแหน่งเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2012)
(เข้ารับตำแหน่งเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2012)
นายหู ชุนหัว (胡春华)
วันเกิด : เดือนเมษายน ค.ศ. 1963
ภูมิลำเนาเดิม : มณฑลหูเป่ย
นายกเทศมนตรี
(เข้ารับตำแหน่งเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2011)
(เข้ารับตำแหน่งเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2011)
นายจู เสี่ยวตาน (朱小丹)
วันเกิด : เดือนมกราคม ค.ศ. 1953
ภูมิลำเนาเดิม : มณฑลเจ้อเจียง
BACK
มณฑลกวางตุ้ง ต้นแบบเศรษฐกิจพิเศษ เมืองมหาชัย
ตอบลบsamaikub01yahoocom.blogspot.com
หน้าแรก รู้จักจีน ข้อมูลมณฑล มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางตุ้ง ข้อมูลพื้นฐาน เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรษฐกิจ การคมนาคมและโลจิสติกส์ เศรษฐกิจ ข้อมูลพื้นฐาน ที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่ มณฑลกวางตุ้งหรือมณฑลกว่างตง (广东省) มีชื่อย่อว่...