แบงค์ชาติจีนชู "นครหนานหนิง" เป็นศูนย์กลาง "ระบบธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดน"
ที่มา: http://www.wantchinatimes.com/
แบงค์ชาติจีนชู "นครหนานหนิง" เป็นศูนย์กลาง "ระบบธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดน"
เว็บไซต์ข่าวซินหัว : ลูกค้าธนาคารทั่วไปในกว่างซีสามารถทำธุรกรรมการชำระบัญชีต่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวนได้แล้ว
ช่วงต้นปี 58 ธนาคารประชาชาติจีน ศูนย์หนานหนิง (แบงค์ชาติจีนประจำเขตฯ กว่างซีจ้วง) ได้เปิดตัว "แพลทฟอร์มธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดน" (Regional Cross-border RMB Business Platform) อย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยให้ธนาคาร 47 แห่ง (ที่มีจุดบริการกว่า 2,500 จุด) ทั่วกว่างซีสามารถให้บริการธุรกรรมการชำระบัญชีต่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวนแก่ลูกค้าได้แล้ว
แพลทฟอร์มดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากระบบธุรกรรมการชำระบัญชีการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ของกว่างซีที่มีการบูรณาการทรัพยากรด้านระบบชำระบัญชีเงินหยวนระหว่างประเทศและธนาคารตัวแทนในต่างประเทศของแต่ละธนาคารเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "นครหนานหนิง" เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้บริการครอบคลุมฮ่องกง มาเก๊า อาเซียน และเอเชียใต้
จึงกล่าวได้ว่า แพลทฟอร์มดังกล่าวเปรียบเสมือน "ไฮเวย์" ที่ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนย้ายหมุนเวียนของกระแสเงินหยวนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี โดยไหลเข้า-ออกของเงินหยวนต้องผ่านแพลทฟอร์มดังกล่าวทั้งหมด
นายชุย อวี๋ (Cui Yu, 崔瑜) ผู้อำนวยการธนาคารประชาชนจีน ศูนย์หนานหนิง ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน มีธนาคารรายใหญ่หลายรายได้เป็นธนาคารตัวแทนของแพลทฟอร์มดังกล่าวแล้ว อาทิ Industrial and Commercial Bank of China (中国工商银行) Bank of China (中国银行) และ China Construction Bank (中国建设银行) ซึ่งธนาคารเหล่านี้มีธนาคารตัวแทนในต่างประเทศมากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งสามารถให้บริการธุรกรรมการเงินได้อย่างทั่วถึงทั้งในประเทศสมาชิกอาเซียน และเอเชียใต้
ช่วงต้นปี 58 ธนาคารประชาชาติจีน ศูนย์หนานหนิง (แบงค์ชาติจีนประจำเขตฯ กว่างซีจ้วง) ได้เปิดตัว "แพลทฟอร์มธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดน" (Regional Cross-border RMB Business Platform) อย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยให้ธนาคาร 47 แห่ง (ที่มีจุดบริการกว่า 2,500 จุด) ทั่วกว่างซีสามารถให้บริการธุรกรรมการชำระบัญชีต่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวนแก่ลูกค้าได้แล้ว
แพลทฟอร์มดังกล่าวพัฒนาขึ้นจากระบบธุรกรรมการชำระบัญชีการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ของกว่างซีที่มีการบูรณาการทรัพยากรด้านระบบชำระบัญชีเงินหยวนระหว่างประเทศและธนาคารตัวแทนในต่างประเทศของแต่ละธนาคารเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "นครหนานหนิง" เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้บริการครอบคลุมฮ่องกง มาเก๊า อาเซียน และเอเชียใต้
จึงกล่าวได้ว่า แพลทฟอร์มดังกล่าวเปรียบเสมือน "ไฮเวย์" ที่ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนย้ายหมุนเวียนของกระแสเงินหยวนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี โดยไหลเข้า-ออกของเงินหยวนต้องผ่านแพลทฟอร์มดังกล่าวทั้งหมด
นายชุย อวี๋ (Cui Yu, 崔瑜) ผู้อำนวยการธนาคารประชาชนจีน ศูนย์หนานหนิง ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน มีธนาคารรายใหญ่หลายรายได้เป็นธนาคารตัวแทนของแพลทฟอร์มดังกล่าวแล้ว อาทิ Industrial and Commercial Bank of China (中国工商银行) Bank of China (中国银行) และ China Construction Bank (中国建设银行) ซึ่งธนาคารเหล่านี้มีธนาคารตัวแทนในต่างประเทศมากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งสามารถให้บริการธุรกรรมการเงินได้อย่างทั่วถึงทั้งในประเทศสมาชิกอาเซียน และเอเชียใต้
- แบงค์จีนในต่างประเทศ ‘ปล่อยกู้ดอกต่ำ’ ให้วิสาหกิจกว่างซี หนุนรับเงินหยวน “โกอินเตอร์” (03 ธ.ค. 2557)
- อินเตอร์เทรดกว่างซี ‘ฮิต’ ใช้หยวน ดันยอดธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดนโตเท่าตัว (17 พ.ย. 2557)
- แบงค์กว่างซีเตรียมคลอด “กองทุนเงินหยวน” หนุนวิสาหกิจก้าวลงทุนในอาเซียน (19 พ.ย. 2557)
- กรอบ Pan Beibu-Gulf หนุนเงินหยวน “ก้าวออกไป”...โอกาสใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม (15 พ.ค. 2557)
- แบงค์ยักษ์ใหญ่จีน ICBC สาขากว่างซีเร่งสร้างเครือข่าย พัฒนาธุรกรรมเงินหยวนรุกตลาดอาเซียน (22 พ.ค. 2557)
- ธนาคารรัฐท้องถิ่นกว่างซีเร่งพัฒนาธุรกรรมการเงินต่างประเทศ (24 ก.พ. 2557)
ปรับปรุงล่าสุด : 25 มิถุนายน 2558
โดย : นายกฤษณะ สุกันตพงศ์
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ http//:www.xinhuanet.com (广西新闻网) ประจำวันที่ 3 มกราคม 2558
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น