ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเงินเพื่อการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซื้อบ้านที่ดินในปีนี้ราคาเท่าไหร่ดี: ดร.โสภณ พรโชคชัย เดลินิวส์ 4 มกราคม 2559

การเงินเพื่อการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซื้อบ้านที่ดินในปีนี้ราคาเท่าไหร่ดี: ดร.โสภณ พรโชคชัย เดลินิวส์ 4 มกราคม 2559
วันนี้ จันทร์ที่ 4 มกราคม 2559 ยังอยู่ในช่วงปีใหม่ และบทความของผมในเดลินิวส์วันนี้ก็เป็นบทความแรกของปี ผมจึงขออนุญาตอวยพรปีใหม่แด่แฟนเดลินิวส์ทุกท่าน ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขอให้คุณความดีที่ท่าน ได้เพียรประกอบไว้ โปรดดลบันดาลให้ท่านพบแต่ความสุข สวัสดิ์ สว่าง สง่า สดใส และสร้างสรรค์เพื่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติโดยรวมครับผม
เปิดปีใหม่ฉบับแรกบทความฉบับแรกมาเลย เราก็มาเริ่มที่เรื่องหนัก ๆ กันหน่อย เกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนคงไม่ค่อยชอบ ผมเองก็ไม่ค่อยชอบ ผมจำได้ว่าตอนเรียน ม.ศ.2 เคยเป็นหัวหน้าห้อง เก็บเงินค่าทำหนังสืออนุสรณ์ ทำเงินหล่นหายไปไหนก็ไม่รู้ ต้องชักเนื้อบ่อย ๆ ผมเลยไม่ค่อยชอบตัวเลข โดยเฉพาะบัญชี แต่การคิดคำนวณทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ การเงินจึงช่วยให้เราวางแผนอนาคตได้นั่นเอง
ตัวเลขเป็นเรื่องสำคัญ
ถึงแม้บางท่านอาจไม่ชอบตัวเลข แต่การคำนวณเป็นเรื่องจำเป็นของชีวิต สมัยผมเรียนหนังสือก็เลยต้องพยายามทำใจเรียน จนกลายเป็นตัวแทนโรงเรียนเทพศิรินทร์ ไปแข่งขันสอบ-ตอบคำถามคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อยู่บ่อย ๆ ชนะได้รางวัลมาบ้าง ชนะใจคนดูบ้าง (ฮา) แต่ตัวเลข ก็เป็นสิ่งที่เราทิ้งไม่ได้ แม้แต่แม่ค้าในตลาดก็ยังต้องคิดเลขเก่ง
ตอนผมทำดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ผมได้ทำบทวิเคราะห์ทางสถิติต่างๆ หลายรายการ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสรุปสำคัญก็คือ ความรู้ที่สำคัญที่สุดของคนที่หวังจะเป็นนักพัฒนาที่ดินก็คือ ความรู้ด้านการเงิน ไม่ใช่ความรู้ด้านการก่อสร้าง กฎหมายหรือสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น แต่แน่นอนว่าความรู้อื่น ๆ ก็ทิ้งไม่ได้ แต่การเงินเป็นความรู้ที่ชี้ขาด
ที่การเงินมีความสำคัญก็เพราะเป็นเครื่องมือในการวางแผน หากไม่มีความรู้ทางด้านนี้ เราก็ไม่สามารถวางแผนในอนาคตได้ เราก็ค้าขายแบบ "กระเชอก้นรั่ว" กลายเป็นความเสียหายไปเสียอีก และนอกจากความรู้ทางการเงินแล้ว อันดับสองก็คือความรู้ด้านการตลาด เพื่อว่าเราจะสามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์อนาคตได้นั่นเอง ซึ่งมีเครื่องมือทางการวิจัยที่ชาวบ้านเรา ๆ ท่าน ๆ ก็สามารถทำได้ (เอาไว้ผมจะได้มา "สอน" ต่อไป) แต่ทั้งการเงินและการตลาดนี้ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดที่นักพัฒนาที่ดินที่รอดชีวิตมาเมื่อ 20 ปีก่อน ต่างตอบกันเป็นเสียงเดียวกันนั่นเอง
ราคาที่ดินสำหรับห้องชุด ราคา 1 แสน/ตรม
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าห้องชุดชานเมือง ยังขายกันตารางเมตรละ 100,000 บาท เป็นราคาที่สูงเกินไปหรือไม่ เราสามารถตรวจสอบได้จากราคาที่ดินในละแวกนั้น ผมในฐานะประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขอให้ความเห็นว่ากรณีห้องชุดราคาตารางเมตรละ 100,000 บาท ที่ดินที่ซื้อมาทำโครงการควรมีราคาเท่าใด โดยประมาณการได้ตามนี้:
1. กรณีห้องชุดตารางเมตรละ 100,000 บาท ถ้าทั้งโครงการมีขนาด 15,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการก็เป็นเงิน 1,500 ล้านบาท มูลค่านี้หากในส่วนของค่าบริหารจัดการ ค่าดำเนินการ ภาษี ดอกเบี้ย กำไร ซึ่งรวมเรียกว่า Soft Costs มีสัดส่วนเป็น 40% ก็แสดงว่า ต้นทุนในส่วนของที่ดิน-อาคาร หรือ Hard Costs (คือต้นทุนที่แข็งๆ หรือ Hard อันได้แก่ที่ดินและอาคาร) เป็น 60% หรือ 900 ล้านบาท
2. สมมติให้พื้นที่ขายได้เป็นแค่ 60% ของพื้นที่ขาย ก็จะมีพื้นที่ก่อสร้างถึง 25,000 ตารางเมตร ส่วนที่เหลือก็คือพื้นที่โถงโล่ง ที่จอดรถ และสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ นั่นเอง
3. ค่าก่อสร้างอาคารชุด 16-25 ชั้นตกเป็นเงินตารางเมตรละ 28,000 บาท ตามการกำหนดของมูลนิธิประเมินคาทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (http://bit.ly/1NYCpdF) ดังนั้นค่าก่อสร้างจึงเป็นเงิน 700 ล้านบาท
4. ค่าที่ดินจึงเป็นเงิน 200 ล้านบาท (900 - 700 ล้านบาท)
5. สมมติให้การก่อสร้างอาคาร ซึ่งมีขนาด 25,000 ตารางเมตร เป็น 7 เท่าของที่ดิน (โดยมากเป็นไปตามผังเมืองที่อนุญาตในแต่ละพื้นที่) ก็แสดงว่าที่ดินมีขนาด 3,571 ตารางเมตร หรือ 893 ตารางวา ดังนั้นราคาที่ดินต่อตารางวาที่จะซื้อมาเพื่อการนี้ จึงเป็นเงิน 223,964 บาท
ดังนั้นหากราคาที่ดินแถวนั้นต่ำเกินกว่านี้ ก็แสดงว่า ราคาห้องชุดที่เรียกขายตารางเมตรละถึง 100,000 บาท เป็นราคาที่สูงเกินไปนั่นเอง เราไม่ควรซื้อ ขืนเราซื้อไปก็เป็นราคาที่บริษัทพัฒนาที่ดิน "ฟัน" กำไรไว้สูงมาก โอกาสที่เราขายเพื่อทำกำไรต่อในวันหน้าก็คง "หืดขึ้นคอ" นั่นเอง
ถ้าที่ดิน 1.9 ล้าน/ตรว. จะขายห้องชุด ตรม.ละเท่าไหร่
ในอีกแง่หนึ่ง ราคาที่ดินที่แพงที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครนั้น มีราคาถึงตารางวาละ 1.9 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2558 ในเขตใจกลางเมือง ณ สถานีรถไฟฟ้าสยามฯ ชิดลม เพลินจิต นานา หากเราซื้อที่ดินดังกล่าว มาสร้างอาคารชุดขาย ห้องชุดที่ขายไปนั้น เราจะสามารถขายได้ตารางเมตรละเท่าใด จึงจะคุ้มค่า ไม่ตั้งราคาสูงหรือต่ำจนเกินไป วิธีคิด ๆ ได้ดังนี้:
1. ราคาที่ดินตารางวาละ 1.9 ล้านบาท หากสมมติมีที่ดินขนาด 1,000 ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ ก็เป็นเงิน 1,900 ล้านบาท
2. พื้นที่ก่อสร้างสำหรับที่ดิน 1,000 ตารางวา หรือ 4,000 ตารางเมตรนั้น สมมติให้เราสามารถสร้าง 7 เท่าของที่ดินหรือ 28,000 ตารางเมตร และสมมติให้มีพื้นที่ขายสุทธิเพียง 50% ของทั้งหมด หรือ 14,000 ตารางเมตรเท่านั้น
3. ค่าก่อสร้างอาคารชุดสูง 26-35 ชั้น ตกเป็นเงินตารางเมตรละ 31,400 บาท ตามการกำหนดของมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (http://bit.ly/1NYCpdF) ในที่นี้สมมติให้ค่าก่อสร้างแพงเป็นพิเศษที่ตารางเมตรละ 40,000 บาท ดังนั้นค่าก่อสร้างจริงจึงเป็นเงิน 1,120 ล้านบาท
4. ต้นทุนของอาคารนี้จึงเป็นเงิน 3,020 ล้านบาท ทั้งนี้ถือเป็น Hard Costs (ที่ดิน-อาคาร) ที่ 60% ส่วน Soft Costs สมมติให้เป็นถึง 40% ของทั้งหมด ดังนั้นมูลค่าของโครงการนี้จึงเป็น 5,033 ล้านบาท (3,020 / 60%)
5. ดังนั้นราคาห้องชุดต่อตารางเมตรจึงเป็นเงินตารางเมตรละ 359,524 บาท
ดังนั้นที่ขายกันถึงตารางเมตรละ 400,000 บาทขึ้นไปในบางแห่งจึงถือได้ว่าเป็นเงินที่สูงมาก ผู้ซื้อไปแล้ว จะหวังขายต่อคงขายต่อได้ยาก เพราะสัดส่วนกำไรที่จะตกถึงมือผู้ซื้อแทบจะไม่มีแล้ว
ถ้าจะซื้อห้องชุดใหม่ในราคา 100,000 บาทในย่านชานเมือง ดร.โสภณ ขอแนะนำว่ายังมีห้องชุดใจกลางเมืองย่านสุขุมวิท เช่น มอนเทอเรย์เพลส ก็ยังขายอยู่ ณ ตารางเมตรละ 75,000 - 90,000 บาท อาคารเซ็นจูรี่ไฮท์ ก็ขายตารางเมตรละ 95,000 บาท หรืออื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ในทำเลดีเยี่ยม คุณภาพการก่อสร้างดีเยี่ยม
การลงทุนซื้อห้องชุด จึงมีความจำเป็นต้องคิดให้ดี โดยเฉพาะในกรณีการให้เช่าต่อ ห้องชุดชานเมืองจะสามารถหาผู้เช่าได้หรือไม่อย่างไร เป็นสิ่งที่พึงสังวร
ซื้อบ้านมา 20 ปี 2 ล้าน ขาย 5 ล้าน คุ้มไหม
ถ้าเราขายบ้านที่ซื้อมาในราคา 2 ล้านบาท ได้ในราคา 5 ล้านบาทในอีก 20 ปีต่อมา นับว่าได้ผลตอบแทนต่อปีที่คุ้มค่าหรือไม่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคุ้ม เราสามารถคิดได้ตามสูตรนี้
อัตราผลตอบแทนที่คุ้มหรือไม่
= {(ราคาขายไป / ราคาที่ซื้อมา) ถอดรูท 20 ปี } -1
= {(5 / 2)^(1/20)} -1
= 0.04688
= 4.688% หรือ 4.7%
การนี้แสดงว่าบ้านที่เราซื้อมาในราคา 2 ล้านบาทนั้น มีราคาเพิ่มขึ้นปีละ 4.7% โดยเฉลี่ย จนถึงปีที่ 20 จึงกลายเป็นเงิน 5 ล้านบาท ขายออกไป และต่อมาเราจึงต้องมาพิจารณาว่าอัตราผลตอบแทนที่ 4.7% ต่อปีนี้ คุ้มค่าหรือไม่
1. กรณีที่เราซื้อบ้านมา แล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้มาอยู่อาศัยเลย แล้วได้ผลตอบแทนเพียงเท่านี้ ก็อาจถือว่าไม่คุ้ม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อาจสูงกว่านี้
2. แต่หากในตลอดช่วงที่ผ่านมา 20 ปี เราได้เข้าอยู่อาศัยมาโดยตลอด แล้วยังขายได้กำไรในอัตรา 4.7% ที่มูลค่าเพิ่มขึ้น ก็เท่ากับว่าเราอยู่มา 20 ปีฟรี ๆ นับว่าคุ้มค่ายิ่ง
เราลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อคาดหวังอะไร
โดยสรุปแล้ว เราลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เรามีความคาดหวังอยู่ 2 ประการสำคัญคือ
1. ความคาดหวังถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้น โดยหวังให้เพิ่มสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อว่าอย่างน้อยเงินก้อนที่เราซื้ออสังหาริมทรัพย์ไปนั้นจะไม่สูญหายไปไหน
2. ความคาดหวังถึงผลตอบแทนจากการให้เช่าที่ตัวทรัพย์สินสามารถผลิตรายได้ให้กับเรา เช่นในแต่ละปีสามารถปล่อยเช่าได้รายได้สุทธิ (หลังจากหักค่าใช้จ่าย ค่าดำเนินการ ภาษี และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีที่บางห้วงไม่มีผู้เช่า) เป็นสัดส่วน 5% ของราคาตลาด เป็นต้น
เมื่อเรานำผลตอบแทนทั้งสองมาคิด ก็จะเห็นได้ชันว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น คุ้มค่ากว่าการลงทุนทางด้านอื่น เช่น ซื้อรถ เพราะรถ มีแต่จะลดราคาลง และค่าเสื่อมเพิ่มพูนอย่างรวดเร็วมาก
ยิ่งกว่านั้นหากเราคิดให้ลึกลงไปอีก ในช่วงที่เราวางเงินดาวน์ไว้เช่น ราว 20% ของราคาในขณะซื้อ (เช่นตอนซื้อ ๆ มาราคา 2 ล้านบาท วางเงินดาวน์ไว้ 20% หรือ 4 แสนบาท) แล้วนำรายได้จากการให้เช่ามาผ่อนชำระเงินกู้ซื้อบ้าน ก็จะพบว่าเมื่อถึงกำหนด 20 ปีที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านบาท เราก็จะได้กำไรมหาศาลเลยทีเดียว ยิ่งถ้าลงทุนหลายหลัง ยิ่งได้กำไร แต่ถนนทั้งหลายไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ บางครั้งก็มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่บางครั้งเราประมาทเลินเล่อจนพบหายนะเพราะความโลภของเราเองนั่นเอง
การลงทุนจึงควรดำเนินการด้วยสติ ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตลอดปี 2559 และตลอดไป และเพื่อเพิ่มพูนมงคลต่อชีวิต เราต้องไม่เอาเปรียบใครและคืนกำไรสู่สังคมด้วยนะครับ
19 คน ถูกใจสิ่งนี้
ความคิดเห็น
ดร.สมัย เหมมั่น นักธุรกิจจัดสรรคุณภาพ ธรรมาภิบาลแห่งชาติดร.สมัย เหมมั่น นักธุรกิจจัดสรรคุณภาพ ธรรมาภิบาลแห่งชาติ 2559 ขอให้สุขภาพดีๆร่ำรวยๆ หนาวไว ร้อนไว รีบไปชมหมอก รีบลงมา รถติดมาก ห้องพัก จุดพัก ไม่พอ เช็คข่าวก่อนเดินทางจะดี ไม่งั้น รถติด บนเขา เสียเวลา กรุณาเช็คด้วย อย่าคิดมากๆๆไปนอนเขาค้อก่อน ค่อยคิด ค้าขาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม