ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การตลาด ตั้งราคาสินค้าให้ดูราคาถูกลง

 


 

กลยุทธ์การตลาด ตั้งราคาสินค้าให้ดูราคาถูกลง

"Ninety-nine percent of advertising doesn't sell much of anything." ~David Ogilvy • Photo belongs to Elliott Brown
ไม่น่าเชื่อว่าการจัดแจงเกี่ยวกับราคาเล็กๆ น้อยๆ นั้นกลับสร้างผลทางจิตวิทยาที่ทำให้สินค้าเจ้าหนึ่งเอาชนะสินค้าไปได้อย่างฉิวเฉียดในตอนจบได้บ่อยๆ
เมื่อไปช้อปปิ้งหรือแม้แต่ไปเลือกซื้อสินค้าตามซูเปอร์มาร์เก็ต ภาพหนึ่งที่คุณอาจไม่ค่อยได้นึกถึง นั่นคือที่จริงเรากำลังยืนอยู่ท่ามกลางสงครามราคาอันเงียบกริบระหว่างแต่ละยี่ห้อที่กำลังห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด! และทุกคนต่างก็หวังว่าจะเฉือนเอาชนะใจเราได้เพื่อจะได้เงินของเรา ซึ่งชัยชนะที่ว่านั่น (ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค) ส่วนใหญ่ชัยชนะจะตัดสินกันที่แทบวินาทีสุดท้ายที่จุดขายสินค้า (Point of Sale) เมื่อลูกค้าจะตัดสินใจซื้อจากราคาว่าสินค้าตัวไหนราคาถูกกว่า
ถึงแม้สินค้าจะราคาต่างกันไม่เท่าไร แต่ไม่น่าเชื่อว่าการจัดแจงเกี่ยวกับราคาเล็กๆ น้อยๆ นั้นกลับสร้างผลทางจิตวิทยาที่ทำให้สินค้าเจ้าหนึ่งเอาชนะสินค้าไปได้อย่างฉิวเฉียดในตอนจบบ่อยๆ และ 5 กลยุทธ์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เราพบว่าผู้ขายสินค้าในตลาดปัจจุบันนิยมเลือกใช้เพื่อให้สินค้าของตัวเองดูราคาถูกลงได้สำหรับเรา

1. ราคานี้ยังไม่รวม…

เทคนิคนี้เรามักจะพบบ่อยตามร้านอาหาร ที่เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินทีไรราคาก็มักจะออกมาสูงกว่าที่ราคาอาหารที่เราสั่งทุกที นั่นเป็นเพราะราคาที่อยู่ในเมนูนั้นคือราคาที่ยังไม่รวมภาษีหรือค่าบริการต่างๆ ที่เพิ่มมามากถึง 7-10% ของราคาอาหารเลยทีเดียว
ในธุรกิจร้านอาหาร เรามักพบข้อความที่ด้านล้างสุดของเมนูระบุว่าราคาอาหารยังไม่รวมเซอร์วิส ชาร์จ (service charge) และภาษี หรือเราอาจพบแบบเครื่องหมายบวกบวก “++” ซึ่งหมายถึงจะมีคิดเงินเพิ่มโดยจะคำนวน service charge ก่อนแล้วคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามลำดับ หรือแบบบวก“+” เพียงอันเดียวซึ่งจะหมายถึง บวกภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงอย่างเดียว
ที่จริงแล้วธรรมเนียม (หรือแนวคิด) การบวก service charge นั้นตั้งอยู่บนแนวคิดว่าเราได้ “ใช้บริการ” ของเขาหรือไม่ ซึ่งการบริการของร้านอาหารนั้นก็เป็นไปได้ตั้งแต่การนั่งรับประทานในร้านซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และใช้บริกรอำนวยความสะดวกของร้าน ไปจนถึงบริการส่งสินค้าถึงบ้าน ซึ่งต้องใช้พนักงานส่งสินค้า ซึ่งบริการเหล่านั้นเกิดเป็นค่าใช้จ่ายกับเจ้าของสินค้าทั้งสิ้น การบวก service charge จึงเป็นเสมือนการชดเชยค่าใช้จ่ายเหล่านั้นให้กับทางร้าน ซึ่งถ้าเราได้ใช้บริการอย่างยาวนานหรือสมเหตุผล (เช่น อยู่ที่ร้านนาน หรือระยะทางส่งสินค้าไกลมากๆ) ค่าบริการนี้ก็ถือว่าดูมีที่มาที่ไปที่น่าจะยอมรับได้
ส่วนทิปซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่เป็นการยากที่จะแยกแยะว่าร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นคิด service charge ไปเพื่อประโยชน์ของผู้บริการจริงหรือไม่ ดังนั้น การให้ทิปในปัจจุบัน (หากประทับใจการบริการของผู้ให้บริการ) จึงควรให้เป็นเงินแยกต่างหากอย่างชัดเจนแทน
และบางครั้งเมื่อเราจะซื้อสินค้าในจากต่างประเทศโดยเฉพาะเครื่องไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ IT เราจะพบว่านอกจากราคาสินค้าที่ปิดป้ายไว้แล้วก็ควรจะเช็คให้ดีก่อนว่ามีภาษีอะไรบ้าง ไม่เช่นนั้นอาจเจอบวกแปลกๆ อย่าง Electronic Waste Recycling Fee (Ewaste) ในอเมริกา ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการรีไซเคิลสำหรับสินค้าอิเลคทรอนิคส์บางกลุ่ม ที่ทำให้เราต้องจ่ายแพงขึ้นโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

2. (ลดปริมาณแต่) ไม่เพิ่มราคา

มั่นใจว่าเกือบทุกคนน่าจะเคยสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของขนมกรุบกรอบ ที่ในปัจจุบันเปิดห่อมาแล้วจะต้องแปลกใจว่าทำไมถึงเหลือปริมาณเพียงเท่านี้ (บางรายเหลือไม่ถึง 10 ชิ้น) หรือแม้กระทั่งน้ำดื่มบางยี่ห้อที่มีการเปลี่ยนแพคเกจและถือโอกาสลดปริมาณลงไปด้วย ทั้งๆที่ราคาขายก็ยังเท่าเดิมกับเมื่อก่อน โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มักจะโฆษณาไปว่านี่คือ “โฉมใหม่” สินค้า ก็มี
เป็นอันว่าราคาสินค้าที่ถูกลงหลายครั้งก็หมายถึงจำนวนชิ้นที่ลดลง หรือรสชาติที่จัดจ้านน้อยลงก็ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตามนั่นเป็นวิธีการลดต้นทุน

3. ดอกจันโปรโมชั่น

เดี๋ยวนี้ไม่มีป้ายโปรโมชั่นไหนที่ไม่มีดอกจันพร้อมตัวหนังสือเล็กๆ อยู่ใต้ภาพอีกต่อไปแล้ว! บางอันตั้งหัวคำโปรยดูน่าสนใจและชักชวนให้ซื้อเป็นอย่างมาก แต่หากเราไม่ใส่ใจดูให้ดีก็คงติดกับแน่ๆ
ดังนั้นเราจึงควรสังเกตและอ่านรายละเอียดของโปรโมชั่นนั้นๆ อย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกบริษัทบัตรเครดิตต่างๆ ที่มักจะนำเสนอแต่สิทธิพิเศษเมื่อสมัครบัตรและค่าสมัครฟรี แต่จะใช้วิธีปกปิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเอาไว้ภายใต้ตัวหนังสือเล็กๆ เหล่านั้นเสมอ

4. ราคาเริ่มต้นเพียง…

เรามักตกหลุมพรางกับสินค้าราคาถูก ยิ่งเมื่อได้ยินว่าราคาเริ่มต้นหรือราคาต่ำที่สุดในร้านนั้นช่างถูกแสนถูก หรือการตั้งลดราคาสินค้าค้างสต็อคที่ 80% แล้วเขียนราคาลดกว้างตั้งแต่ 20%-80% ก็มักจะดึงความสนใจของเราได้แทบจะในทันที แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภายใต้ราคาเริ่มต้นนั้นเป็นไปได้ตั้งแต่สินค้าที่จงใจผลิตเพื่อให้เป็น “สินค้าราคาเริ่มต้น” สำหรับโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งหลายครั้งต่อให้ไม่ว่าจะลดราคาไปมากแค่ไหนก็ยังไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่ดี
สมมติว่าร้านซูชิชื่อดังร้านหนึ่งที่ติดป้ายข้างหน้าว่าเริ่มต้นเพียง 19 บาท ซึ่งเมื่อลูกค้าเข้าไปก็พบว่า 19 บาทนั้นเป็นเพียงซูชิราคาถูกต่างๆ ที่ตนไม่ได้สนใจทานอยู่แล้ว จึงเลี่ยงไปทานสินค้าราคาปรกติอื่นๆแทน ส่วนราคาอาหารชนิดอื่นที่สนใจกลับมีราคาที่สูงมากเป็นธรรมดา อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกค้าเข้าไปในร้านแล้วโอกาสในการซื้อนั้นเกิดขึ้นเสมอ จึงอาจพูดได้ว่าผู้ขายได้ประโยชน์มากกว่าผู้ซื้อในกรณีนี้
ดังนั้นเมื่อได้ยินคำว่า “เริ่มต้นเพียง…” ก็ควรคิดให้ดีก่อนเลือกซื้อหรือเลือกใช้บริการ

5. (เพิ่มราคา ก่อน) ลดราคา

อีกหนึ่งกลยุทธ์ยอดฮิตที่ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไร แต่ถ้าติดป้ายว่า “ลดราคา” ก็มักจะได้รับความสนใจจากผู้คนอยู่เสมอ ยิ่งเมื่อเห็นป้ายลด 30% หรือ 50% แล้วก็จะยิ่งดึงดูดนักช็อปทั้งหลายให้เข้าไปเลือกดูกัน แต่ปัญหาก็คือว่าเราเห็นเพียงป้ายลดราคาทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าลดจากราคาเต็มเท่าไรด้วยซ้ำ ซึ่งทางที่ดีแล้วถึงแม้ว่าจะเห็นป้ายลดราคาแล้วก็ควรจะเปรียบเทียบราคาหรือโปรโมชั่นกับร้านอื่นด้วยก่อนตัดสินใจซื้อ
เรื่องนี้ประสบการณ์ในการไปซื้อสินค้าตามเอาต์เล็ทนั้นบอกเราได้เป็นอย่างดี ที่ราคาลด 30-50% ที่มีราคาเกือบจะเท่ากับราคาเต็มที่กรุงเทพฯ นั้นทำเอาเราใจหายไปหลายหนแล้วเหมือนกัน เพราะราคาที่บอกว่าลดนั้น แท้จริงมีการเพิ่มราคาขึ้นไปเพื่อทำให้ราคาลดกลับมาเป็นราคาสินค้าปรกตินั่นเอง
• • •
ถ้าเราไม่ใช่นักล่าสินค้าถูกหรือ Price hunter ที่มีการเตรียมตัวดีทุกครั้งก่อนออกช้อปปิ้ง ไม่ใช่คุณแม่บ้านที่ต้องซื้อของเข้าบ้านเป็นประจำ หรือไม่ได้เป็นแฟนแบรนด์สินค้าโปรดจนแทบจะบอกราคาได้ทุกชิ้นว่าอันไหนลดไม่ลดแล้วละก็ ทั้ง 5 ประการนี้น่าจะพอให้แนวทางกับเราได้บ้างว่ามีอะไรบ้างที่ควรสังเกตและระวังเกี่ยวกับเรื่องราคาสินค้า เพราะหลายครั้งการหัวเสียหลังจากรับประทานอาหารหรือเพิ่งจับจ่ายอย่างมีความสุขเสร็จใหม่ๆ ก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดเสียจริง และถ้าเป็นไปได้ เพียงเรารู้ตัวก่อนสักหน่อยก็ น่าจะทำให้เรารอบคอบและได้รับความพึงพอใจจากสินค้าและบริการได้อย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม