ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สู้กับคู่แข่งในสถานการณ์ที่เป็นรอง




จะยอมโดนเหยียบทำไม
ทุกบริษัทต่างช่วงชิงความได้เปรียบระหว่างการแข่งขันจากคู่แข่ง เพื่อจะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางธุรกิจในแขนงต่างๆ ทุกการแข่งขันทางธุรกิจมักมีผู้นำและผู้ตกเป็นรองอยู่เสมอ หลายบริษัทเมื่อต้องเพลี่ยงพล้ำต่อคู่แข่งทางธุรกิจก็มักหาวิธีแก้ไขหรือโต้ตอบเพื่อจะได้ช่วงชิงความได้เปรียบและการเป็นผู้นำกลับคืนมา ซึ่งวิธีการแก้ไขและต่อสู้เมื่อธุรกิจตกเป็นรองคู่แข่งพอจะมีแนวทางสรุปสั้นๆ ดังนี้

ใช้โฆษณาเพื่อตอบโต้คู่แข่ง

การใช้สื่อโฆษณาเพื่อตอบโต้คู่แข่งถือเป็นอาวุธที่สำคัญอย่างแรกที่เราควรนำมาพิจารณาก่อน เมื่อเทียบกับวิธีต่อสู้ในธุรกิจรูปแบบอื่นๆ แล้ว โฆษณาถือว่าทำได้ง่ายที่สุด อีกทั้งยังประหยัดกว่ามากถ้าวัดผลกันด้านต่อด้าน
อาวุธที่สำคัญของโฆษณาคือช่วยลดจุดด้อยและเสริมจุดเด่นอันเหนือกว่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าต้องการนำเสนอส่วนไหนเรื่องอะไร อีกทั้งวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจของเนื้องานโฆษณาจะช่วยดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาทดลองหรือกลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ของเราด้วย นอกจากนี้โฆษณายังสามารถปรับใช้เพื่อรองรับกับวิธีการต่อสู้กับคู่แข่งทางธุรกิจในรูปแบบอื่นได้อีกด้วย

ปรับการวางแผนทางกลยุทธ์

การปรับเปลี่ยนการวางแผนกลยุทธ์และยุทธวิธีทางธุรกิจใหม่ถือเป็นอาวุธหนักที่สุดซึ่งสามารถนำมาใช้ต่อกรกับคู่แข่งทางธุรกิจ ก่อนอื่นต้องเริ่มจากศึกษาและสำรวจข้อบกพร่องของแผนกลยุทธ์เดิมเสียก่อน จากนั้นจึงให้ความสนใจเรื่องความต้องการของตลาดในปัจจุบัน แล้วพิจารณาส่วนสุดท้ายคือคู่แข่งว่ามีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าเราอย่างไร
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงเริ่มลงมือเขียนแผนการกลยุทธ์ทางธุรกิจขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทของเราขายคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ตามแผนกลยุทธ์เดิมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือผู้ชายวัยทำงาน เวลาต่อมายอดขายตกลงและเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบริษัทคู่แข่งทซึ่งขายในราคาที่ต่ำกว่า เราจึงปรับแผนกลยุทธ์ใหม่โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้าและส่วนแบ่งทางการตลาดให้สูงขึ้นเพื่อจะกลับมาเป็นผู้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากที่สุดเช่นเดิม โดยที่เราจะไม่ลดราคาสินค้าเพื่อรักษาระดับของผลิตภัณฑ์ไว้ เป็นต้น เราอาจใช้แผนกลยุทธ์เดิมเป็นหลักแล้วเขียนเพิ่มลงไปในส่วนที่ได้ทำการปรับเปลี่ยน หรือจะเขียนแผนกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับเลยก็ได้ ถ้าผลการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่าเราต้องทำการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์อย่างสิ้นเชิงเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่ง
ส่วนเรื่องยุทธวิธีหมายถึง วิธีการในทางปฏิบัติที่จะนำแผนกลยุทธ์มาใช้นั้น ซึ่งต้องทำการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นเดียวกัน โดยสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาก็คล้ายคลึงกับส่วนกลยุทธ์คือ หาข้อบกพร่องในการนำแผนกลยุทธ์มาใช้ ความผิดพลาดในทางปฏิบัติเรื่องของการตลาด และเปรียบเทียบกับยุทธวิธีของคู่คู่แข่งว่าเรามีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในส่วนไหนบ้าง จากนั้นเริ่มวางยุทธวิธีใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์ โดยข้อสำคัญที่เราต้องท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจคือการวางแผนกลยุทธ์กับการสร้างยุทธวิธีต้องรองรับกันเป็นอย่างดี เพราะทั้งสองสิ่งนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อสองสิ่งนี้สามารถประสานงานกันได้อย่างลงตัวแล้วละก็ จะถือเป็นอาวุธทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและน่ากลัวมากที่สุดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว

ใช้การตลาดเข้าสู้คู่แข่ง

การโจมตีคู่ต่อสู้ด้วยวิธีทางการตลาดก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในโลกธุรกิจมาอย่างยาวนานเช่นกัน โดยวิธีการที่เป็นที่นิยมและมักนำมาใช้ได้แก่ การลดราคา ซื้อ 1 แถม 1 แจกของแถม ทดลองใช้ฟรี คูปองส่วนลด จับสลากรางวัลชิงโชค ฯลฯ ซึ่งวิธีทั้งหลายทั้งปวงนี้ล้วนเป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นยอดขายได้อย่างรวดเร็วและสามารถดึงให้ผู้บริโภคออกจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งได้อีกด้วย อีกทั้งยังวัดผลความสำเร็จได้ง่ายเมื่อเทียบกันกับวิธีอื่นๆ การใช้กลยุทธ์การตลาดเข้าสู้ถือเป็นการต้อนคู่แข่งทางธุรกิจให้จนมุมและสุดท้ายก็จนตรอกในที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถช่วยพลิกสถานการณ์จากที่ตกเป็นรองให้กลับขึ้นมาได้เปรียบอย่างรวดเร็วด้วย และถ้าคู่แข่งไม่สามารถหาวิธีทางการตลาดที่ดีกว่ามาใช้ต่อกรกับเราได้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งก็จะตายไปในที่สุด

ปรับปรุงผลิตภัณฑ์

การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนของคุณสมบัติและรูปลักษณ์ภายนอกก็ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอบโต้คู่แข่งทางธุรกิจที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเวลาเลือกซื้อสินค้าจะพิจารณาจากประโยชน์ใช้สอยและคุณสมบัติเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นการพัฒนาคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยให้เหนือกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งที่มีสินค้าประเภทเดียวกัน มีกลุ่มผู้บริโภคเดียวกัน จึงเป็นหัวใจสำคัญในการทำสงครามทางธุรกิจ
อีกทั้งการที่ผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณสมบัติเหนือกว่าคู่แข่งก็ช่วยสร้างความได้เปรียบในการวางการแผนการตลาดได้เป็นอย่างดี และจะช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ได้เปรียบอีกครั้งด้วย ซึ่งความจริงแล้ววิธีที่ถูกต้องและดีที่สุดในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์คือเราต้องพัฒนาตั้งแต่ตอนแรกที่ผลิตภัณฑ์เริ่มวางจำหน่ายต่อเนื่องยาวมาเรื่อยโดยห้ามหยุดพัฒนาเด็ดขาด เนื่องจากการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร ถ้าเราคิดจะมาพัฒนาในเวลาที่ผลิตภัณฑ์ตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ละก็ เกรงว่ากว่าผลิตภัณฑ์จะพัฒนาเสร็จก็จะไม่มีบริษัทเหลือรอดอยู่ในธุรกิจแล้ว

สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่มาสู้โดยยังคงผลิตภัณฑ์หลักไว้

การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาสู้กับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งโดยที่ยังคงไว้ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักไว้เช่นเดิม ถือเป็นการโต้ตอบที่รุนแรงชัดมากที่สุดอย่างหนึ่ง เป็นการชิงเปิดเกมรุกและเพิ่มแนวรบทางสงครามธุรกิจสำหรับผู้ที่กำลังตกอยู่ในสภาพที่เพลี่ยงพล้ำและต้องการจะกลับมาทวงคืนความเป็นเจ้าตลาดอีกครั้ง โดยเหตุผลที่ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่โดยคงผลิตภัณฑ์หลักไว้ก็เพราะต้องการแย่งชิงความเป็นผู้นำในตลาดของสินค้าประเภทดังกล่าวกับคืนมาจากคู่แข่ง จึงทำการเพิ่มสินค้าใหม่ออกขายในกลุ่มตลาดเป้าหมายเดิมเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และใช้ความแปลกใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้นทำการช่วงชิงตลาดกลับคืนมา
ส่วนเหตุผลที่ต้องคงผลิตภัณฑ์หลักไว้ก็เพราะแม้ว่าผลิตภัณฑ์หลักจะไม่สามารถสู้กับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งได้จนเสียความเป็นผู้นำตลาดไปแล้วก็ตาม แต่ผลิตภัณฑ์หลักก็ยังคงมีผู้บริโภคที่ชื่นชอบและภักดีจึงยังมีพื้นที่และส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่เช่นเดิมแม้จไม่มากเหมือนแต่ก่อน เมื่อนำผลิตภัณฑ์ทั้งเก่าและใหม่ออกมาสู้กับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง ก็จะเพิ่มความได้เปรียบมากขึ้นเพราะเปรียบเสมือนการรวมพลังแท็กทีมจัดการผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งนั่นเอง
ปฏิภาณไหวพริบและสัญชาตญาณเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยนำพาธุรกิจฟันฝ่าอุปสรรคในการแข่งขันทางธุรกิจที่อาจดูเหมือนโหดร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจของเราเพลี่ยงพล้ำตกเป็นรองคู่แข่ง ทั้งสองสิ่งนี้เมื่อนำมาผนวกกับความทุ่มเทและความสามารถในการวิเคราะห์ตามหลักเหตุผลแล้วนำมาปรับเป็นแนวทางแก้ไข ก็จะมีส่วนช่วยให้เราสามารถตั้งหลักลุกขึ้นยืนและออกวิ่งแข่งขันใหม่ได้อีกครั้งบนถนนสายธุรกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม