ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Warfare Strategies กลยุทธ์การทำสงครามการตลาด

 

 

Warfare Strategies กลยุทธ์การทำสงครามการตลาด


Photo belongs to Scott Smith (SRisonS)
เป็นเรื่องปกติที่เมื่อธุรกิจนั้นเดินทางมาถึงจุดอิ่มตัวจนไม่สามารถเติบโตขึ้นไปได้จากฐานลูกค้าเดิม หรือหาลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากในตลาดอีกต่อไปแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของสงครามการตลาดที่เกิดขึ้นเพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งเจ้าอื่นๆ มาเป็นของตนเอง โดยกลยุทธ์สงครามเหล่านี้มีที่มาจากกลยุทธ์ทางทหาร การทำสงครามจริงๆ จากทุกยุคทุกสมัย อย่างที่เราเห็นได้จากผู้นำธุรกิจบางคนนั้นเลือกอ่านตำราพิชัยยุทธ์ของจีนอย่างเช่น สามก๊ก แล้วนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองอยู่เสมอมา เพราะเมื่อเปรียบเทียบแล้วการทำสงครามจริงๆ ก็ไม่ต่างจากการทำธุรกิจมากนัก เพราะการทำสงครามจริงๆ นั้นก็ต้องมีศัตรูที่เข้ามาสู้รบกันเพื่อแย่งดินแดนหรือผลประโยชน์ต่างๆ แต่ในทางธุรกิจนั้นสงครามที่ว่าคือการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจคู่แข่งเพื่อแก่งแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดเพื่อเข้าไปอยู่ในอันดับต้นๆ ในตลาดจึงจะสามารถอยู่รอดได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีกลยุทธ์ทางการตลาดในการเข้าสู่สงครามมากมายให้ได้เลือกใช้ แต่เมื่อแบ่งออกมาเฉพาะตัวที่น่าสนใจสำหรับปรับใช้กับธุรกิจแต่ละแบบแล้วสามารถแบ่งออกมาได้ 4 ประเภทดังนี้

1. Offensive Marketing : การตลาดเชิงรุก

สำหรับกลยุทธ์สงครามการตลาดประเภทแรกที่มีชื่อว่า “การตลาดเชิงรุก” นั้น เป็นกลยุทธ์สำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่ถึงจุดอิ่มตัวจนไม่สามารถเพิ่มปริมาณการซื้อของลูกค้า หรือหาลูกค้าใหม่ๆ ในสายธุรกิจนี้เพิ่มเติมได้อีกแล้ว ก็มักที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกที่ว่านี้มาปรับใช้ในองค์กร โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจในกลุ่มเดียวกันทั้งรายใหญ่ และรายเล็กโดยขึ้นอยู่กับความพร้อมที่องค์กรเรามี
หัวใจสำคัญของการตลาดเชิงรุกที่ว่านี้ก็คือการเล็งเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งอย่างละเอียด เพื่อหาว่าอะไรคือจุดอ่อนที่สามารถเป็นช่องทางให้เราหาโอกาสโจมตีเพื่อสร้างความเสียหายให้องค์กรคู่แข่งสะเทือนได้
ซึ่งหัวใจสำคัญของการตลาดเชิงรุกที่ว่านี้ก็คือการเล็งเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งอย่างละเอียด เพื่อหาว่าอะไรคือจุดอ่อนที่สามารถเป็นช่องทางให้เราหาโอกาสโจมตีเพื่อสร้างความเสียหายให้องค์กรคู่แข่งสะเทือนได้ ในทางกลับกันก็ต้องรู้ว่าจุดไหนเป็นจุดแข็งที่เราไม่ควรพุ่งเข้าชน โดยข้อแนะนำในการใช้การตลาดเชิงรุกนั้นก็คือการประมาณตนเองโดยดูจากทรัพยากรเท่าที่เรามีให้ดีก่อนว่า ถ้าหากเราเลือกที่จะรุกตลาดคู่แข่งแล้วมีความคุ้มค่ามากแค่ไหนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับแบรนด์ที่ใหญ่กว่า หรือแบรนด์ที่เป็นอันดับ 1 ในขณะนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะเจ็บตัวเองได้ง่ายๆ    
ที่ผ่านมาก็มีหลายแบรนด์มากมายที่ทำการตลาดเชิงรุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจตัวเองให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างของบริษัทเช่ารถ Avis ที่ในอดีตเคยเดินหน้าทำการตลาดเชิงรุกว่าจะโจมตีบริษัทอย่าง Hertz ที่เป็นบริษัทเช่ารถอันดับหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด ด้วยความที่เป็นแบรนด์รองกว่าทำให้บริษัทอย่าง Avis นั้นต้องพลิกเอาจุดอ่อนตัวเองของการที่เป็นอันดับ 2 มาตั้งเป็นสโลแกนว่า “เพราะเราเป็นที่สองเราจึงต้องพยายามให้มากกว่า” รวมไปถึงแคมเปญต่างๆ จนทำให้สุดท้ายในระยะเวลา 4 ปีก็ทำให้ส่วนแบ่งในการตลาดของ Avis เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

2. Defensive Marketing : การตลาดเชิงตั้งรับ

การทำการตลาดเชิงตั้งรับนั้นสามารถใช้ได้กับทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ที่กำลังเป็นที่หนึ่งของตลาดเพื่อไม่ให้ถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดจนต้องตกอันดับมาเป็นแบรนด์รอง หรือต้องเสียผลกำไรไปมากมายจากเหตุการณ์เหล่านี้ อีกทั้งการตลาดเชิงตั้งรับนี้ก็ยังสามารถปรับใช้ได้กับธุรกิจขนาดเล็กสำหรับการรับมือกับแบรนด์ขนาดใหญ่ที่หากินกับแบรนด์ขนาดเล็กจนทำให้แบรนด์รองมีโอกาสตายไปเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อก็ทำให้ร้านโชว์ห่วยต้องปิดกิจการกันแทบทั้งสิ้น เป็นต้น
หากหัวใจสำคัญของการตลาดเชิงรุกคือการรู้จุดแข็งจุดอ่อนของฝั่งตรงข้าม ในทางกลับกันสำหรับการตลาดเชิงรับเราควรที่จะรับรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองเพื่อที่จะหาวิธีป้องกันในจุดเหล่านั้นไม่ให้อีกฝ่ายหาช่องทางโจมตีได้ ซึ่งอีกเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการป้องกันตำแหน่งตัวเองเป็นอย่างดีคงหนีไม่พ้นการทำ CRM (Customer Relationship Management) หรือเรียกได้ว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดี และผูกพันกับแบรนด์ของเรามากขึ้น เพราะเมื่อทำได้เช่นนี้แล้วถึงแม้ว่าธุรกิจจะถูกโจมตีที่จุดอ่อน แต่เราก็ยังสามารถที่จะรักษาฐานลูกค้าที่จงรักภักดีกับเราได้เช่นเดิม
ในการทำการตลาดเชิงรับนั้นการรู้จักกับคู่แข่ง หรือผู้ที่โจมตีเราเป็นอย่างดีนั้นถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะการที่เรารู้ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งทั้งฝั่งเราเองและฝั่งตรงข้ามแล้วย่อมทำให้เราเตรียมรับมือได้ดีขึ้น โดยวิธีการเตรียมรับมือกับการโจมตีโดยที่รู้ข้อมูลอยู่แล้วนั้น สามารถทำได้โดยการเรียนรู้ที่จะโจมตีตัวเองก่อนเพื่อหาช่องโหว่ที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้ เราอาจจำลองตัวเราเองด้วยมุมมองของบริษัทคู่แข่งว่าถ้าเราเป็นเขาที่มีจุดแข็งเช่นนี้จะโจมตีมาที่จุดไหนและจะป้องกันได้อย่างไร ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์หนึ่งที่แบรนด์ A เล็งทำการตลาดเชิงรุกกับแบรนด์ B ที่เป็นแบรนด์ใหญ่กว่า ซึ่งแบรนด์ B นั้นรู้อยู่เสมอว่าตัวเองนั้นมีจุดอ่อนอยู่ที่ราคาสินค้าที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป ทำให้แบรนด์ A เลือกที่จะโจมตีในจุดนี้โดยการใช้วิธีตัดราคา และใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับแบรนด์ B ออกมาเพื่อตีตลาด ซึ่งแบรนด์ B นั้นก็ใช้วิธีตั้งรับได้โดยเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สินค้าตัวเองนั้นดูมีมูลค่ามากขึ้น พร้อมทั้งจัดแคมเปญใหม่ๆ เพื่อเน้นย้ำถึงคุณภาพของสินค้าและความเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในตลาด จนสุดท้ายแบรนด์ A ที่เลือกลดราคาสินค้าตัวเองก็ต้องยอมรับความพ่ายแพ้ และได้รับกำไรน้อยลงจากการปรับลดราคาของตัวเอง เป็นต้น

3. Flanking Marketing : การตลาดโจมตีทางอ้อม

ข้อแนะนำที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์นี้ก็คือต้องมั่นใจในจุดที่เราจะโจมตีเข้าไปว่าจุดนั้นคือจุดที่คู่แข่งเราไม่ได้ทำการระมัดระวังและไม่ได้ใส่ใจจริงๆ 
หากเปรียบกลยุทธ์ Flanking ในสงครามนั้นก็คือการรบที่ไม่ได้เผชิญหน้าตรงๆ ในแบบแลกกันหมัดต่อหมัด แต่ยุทธวิธี Flanking นั้นคือการบุกโจมตีคลังเสบียงอาหาร หรือตัดเส้นทางการเดินทางของข้าศึกไม่ได้เดินทางต่อไปได้ ซึ่งสำหรับในทางการตลาดนั้นกลยุทธ์ Flanking Marketing คือการโจมตีคู่แข่งในจุดที่คู่แข่งไม่ได้ให้ความสำคัญมาก หรือไม่ได้ทำการป้องกันเอาไว้ ทำให้ยุทธวิธีนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นรองแต่อยากโจมตีกับแบรนด์ใหญ่โดยที่มีทรัพยากรที่จำกัด รวมไปถึงแบรนด์ที่อาจจะเป็นคู่แข่งที่สูสีกันแต่ยังไม่พร้อมรับความเสี่ยงที่ต้องเผชิญหน้ากันอย่างวิธี Offensive Marketing
ข้อแนะนำที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์นี้ก็คือต้องมั่นใจในจุดที่เราจะโจมตีเข้าไปว่าจุดนั้นคือจุดที่คู่แข่งเราไม่ได้ทำการระมัดระวังและไม่ได้ใส่ใจจริงๆ และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือกลยุทธ์นี้ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อไม่ได้ให้คู่แข่งนั้นรู้ตัวเสียก่อนว่าเรากำลังทำอะไร ไม่เช่นนั้นถ้าคู่แข่งรู้ถึงแผนธุรกิจของเรา และเตรียมหาวิธีรับมือไว้ได้นั้น ก็จะทำให้ธุรกิจเราตกอยู่ในความเสี่ยงจนอาจเกิดผลที่ตามมาเหมือนอย่างตัวอย่างของแบรนด์ A ที่โจมตีแบรนด์ B ในหัวข้อ Defensive Marketing ก็ได้
คำถามต่อมาก็คือจุดที่คู่แข่งมักมองข้ามไปนั้นคืออะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปนั้นสามารถแบ่งจุดบอดได้ โดยไม่แยกประเภทสินค้าได้ตามตัวอย่างดังนี้
- ราคา : ลูกค้าส่วนมากมักที่จะใช้ราคาเป็นตัวตัดสินคุณภาพของสินค้าอยู่เสมอ ซึ่งเราอาจเข้าโจมตีได้โดยการนำสินค้าเข้าไปโดยแสดงจุดยืนว่าเป็นสินค้า High Premium จากการเพิ่มคุณภาพ และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้เหนือกว่าฝั่งตรงข้าม เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าของเราเอง เหมือนอย่างไอศกรีม Haagen-daz ที่วางจุดยืนของตัวเองให้เป็นไอศกรีมระดับซุปเปอร์พรีเมี่ยมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูปัจจัยต่างๆ ในการกำหนดราคาด้วย เช่น ดูว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นจะมีกำลังซื้อมากแค่ไหน เพราะถ้าหากขึ้นราคาไปแล้วแต่ลูกค้ากลับไม่มีกำลังซื้อมากพอ ก็อาจทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้เช่นกัน
- ขนาด : ขนาดนั้นก็เป็นอีกฟังก์ชั่นหนึ่งของสินค้าที่สามารถสร้างความแตกต่าง และดึงความสนใจจากลูกค้าของฝั่งตรงข้ามมาได้โดยที่คู่แข่งเราก็ไม่ทันคาดคิดเช่นกัน อย่างเช่น รถ Volkswagen ที่ใช้กลยุทธ์ Flanking Marketing โจมตีในจุดที่แบรนด์รถเจ้าอื่นๆ ไม่ทันคาดคิดว่ารถขนาดเล็กที่ดูมีสไตล์นั้นจะเป็นนิยมของคนกลุ่มหนึ่งได้เช่นกัน หรือผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิคของ Sony ที่ในอดีตได้เล็งเห็นว่าอุปกรณ์ที่พกพาง่ายเหล่านี้จะเป็นที่นิยมของผู้คนมากกว่าจึงปรับขนาดของสินค้าให้เล็กลงเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าให้ได้มากขึ้นโดยที่กว่าแบรนด์อื่นจะรู้ว่าต้องปรับตัวตาม Sony ก็ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดไปมากมายแล้ว
- ช่องทางการขาย : การกระจายสินค้าก็ถือเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญในการเพิ่มกำไรให้กับทางธุรกิจ ธุรกิจใดที่มองเห็นช่องทางการขายสินค้าก็เหมือนได้โอกาสที่จะเพิ่มปริมาณการขายสินค้าได้มากกว่า เหมือนอย่างแบรนด์เถ้าแก่น้อย ที่เล็งเห็นว่าสาหร่ายทอดนั้นเป็นสินค้าที่ขายดีตามร้านของฝากเมื่อเดินทางไปต่างจังหวัด ซึ่งโอกาสที่คนกรุงเทพจะได้กินก็ต่อเมื่อเดินทางไปต่างจังหวัดเท่านั้น ทำให้เจ้าของเถ้าแก่น้อยจึงพยายามคิดค้นสูตรในการทำสาหร่ายทอด และเพิ่มช่องทางการขายให้กับสินค้าตัวเองผ่านทางร้าน 7-11 ที่เปิด 24 ชั่วโมง และมีสาขามากมายให้คนเข้าถึงได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
- นวัตกรรม และรูปแบบสินค้าใหม่ๆ : การคิดค้นสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีในตลาดได้ก็จะช่วยดึงความสนใจจากลูกค้าให้เข้ามาลองใช้ผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น และถ้าสินค้านั้นดีจริงจนลูกค้าบอกต่อ สินค้าใหม่เจ้าแรกในตลาดย่อมได้เปรียบอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Close-Up ที่เป็นเจ้าแรกในการคิดค้นยาสีฟันแบบเจลแทนที่จะเป็นแบบครีมเหมือนยาสีฟันทั่วไป รวมไปถึงเป็นเจ้าแรกที่คิดค้นสบู่เหลวอีกด้วย ก็ทำให้แบรนด์ Close-up นั้นมีโอกาสในการทำตลาดก่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าที่ดีว่ารูปแบบใหม่นี้ดีกว่ารูปแบบเดิมๆ ของยี่ห้ออื่นๆ ยังไงด้วย เพราะไม่เช่นนั้นผู้คนก็ไม่คิดที่จะลองใช้อยู่ดี

4. Guerrilla Marketing : การตลาดแบบกองโจร  

Guerrilla Marketing หรือการตลาดแบบกองโจรนั้นค่อนข้างเป็นการตลาดที่เป็นที่นิยมสำหรับหลายๆ ธุรกิจ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะจุดเด่นของการตลาดแบบกองโจรที่ว่านี้คือ “การตลาดที่ทำบนพื้นฐานของงบประมาณที่น้อย หรืออาจไม่ใช้งบประมาณเลย แต่ต้องสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ในปริมาณมาก” หรือเรียกได้ว่าเป็น “ลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนมากนั่นเอง” แต่ถึงแม้ว่าการตลาดแบบกองโจรนี้เป็นการตลาดที่ใช้ต้นทุนน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องแลกมากับการทำการตลาดชนิดนี้ก็คือความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้คนได้นั่นเอง
ความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการทำ Guerrilla Marketing ก็คือผลที่ตามมาหลังจากการทำการตลาดชนิดนี้ เพราะความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เราคิดค้นออกมาอาจจะเป็นผลเสียกับธุรกิจเราเองก็ได้ เช่น การใช้สื่อในการโจมตีชื่อเสียงของคู่แข่งในทางลบ หรือการพยายามตัดราคาสู้กับคู่แข่งนั้น อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเราเองมากกว่าที่จะส่งผลในเชิงบวก ทำให้กลยุทธ์นี้จะต้องสื่อสารถึงลูกค้าด้วยความรอบคอบ และผ่านการวิเคราะห์มาแล้วเป็นอย่างดี โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญของการทำการตลาดประเภทนี้ก็คือการดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อยเพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ต้นทุน และยังสามารถถอยหลังถอนตัวทันเมื่อเห็นว่าถ้าเดินหน้าต่อไปจะเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุนโดยเปล่าประโยชน์
ตัวอย่างของผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดจากการใช้ Guerrilla Marketing ก็คือภาพยนตร์ในปี 1999 ที่มีชื่อว่า The Blair Witch Project ซึ่งเล่าเรื่องของกลุ่มนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เข้าไปในป่าที่เชื่อกันว่ามีคำสาปของแม่มดอยู่ โดยการที่ทางค่ายนั้นจะปล่อยภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายก็ได้มีการทำเว็บไซต์ และโปสเตอร์ประกาศคนหายรวมไปถึงตำนานของป่านี้ว่ามีคนเสียชีวิต และผู้คนที่สูญหายจากการเข้าไปในป่าอย่างหลอกๆ พร้อมทั้งเริ่มค่อยๆ ปล่อยกระแสข่าวอย่างต่อเนื่องทั้งเทปสัมภาษณ์ (ปลอม) พ่อ แม่ของผู้สูญหาย หรือการไปสัมภาษณ์บรรดานักวิชาการที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับตำนานนี้ จนผู้คนที่ได้ยินข่าวเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในขณะนั้นพากันเชื่อในข้อมูลหลอกๆ เหล่านี้ อีกทั้งยังทำการบอกต่อๆ กันไปจนเกิดเป็นกระแสไปทั่วโลกก่อนที่จะมีการเฉลยในภายหลัง แต่บางคนกว่าจะรู้ว่าโดนหลอกก็ผ่านไปเป็นปีแล้ว ส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ใช้กลยุทธ์ Guerrilla Marketing ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้คน และกอบโกยเงินไปในระยะเวลาสั้นๆ ได้รับรายได้ไปถึง 248 ล้าน $ จากต้นทุนสร้างเพียง 22,000 $ เท่านั้น (สามารถอ่านบทความการทำการตลาดแบบกองโจรอย่างสร้างสรรค์เพิ่มเติมได้ที่ http://incquity.com/articles/marketing-boost/guerrilla-marketing)
• • •
Marketing Warfare Strategy ทั้ง 4 หัวข้อนี้ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป การเลือกใช้แต่ละกลยุทธ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของธุรกิจเราในขณะนั้นว่าเรากำลังต้องการอะไร โดยในการเลือกใช้นั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้ที่ละกลยุทธ์ แต่สามารถใช้ผสมผสานกันได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น ธุรกิจที่ทำการตลาดเชิงรุก ก็ต้องไม่ลืมที่จะตั้งรับบรรดาคู่แข่งรายอื่นๆ ที่กำลังมุ่งจะโจมตีเราเหมือนกัน หรือในขณะเดียวกันถ้าเราใช้กลยุทธการตลาดเชิงรับ ในระหว่างนั้นเราก็สามารถใช้การตลาดแบบกองโจรเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ หรือค่อยๆ ดำเนินการ PR สินค้าและการบริการในแบบที่ความเสี่ยงน้อยไปด้วยได้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมในการเลือกใช้ของธุรกิจเราเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม