ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

5 วิธีง่ายๆ ในการทำการตลาดแบบ LBS

 

 

5 วิธีง่ายๆ ในการทำการตลาดแบบ LBS

Photo By CoCreatr
ผู้ประกอบการหลายคนคงเคยได้ยินหรือเคยเล่น Social Media ที่ชื่อ Foursquare กันแล้ว ซึ่ง Social Media แบบ LBS กำลังมีบทบาทไม่แพ้รุ่นพี่อย่าง Facebook หรือ Twitter ซึ่งความแตกต่างของเจ้า Foursquare นั้นคือการเอา Social Media มารวมเข้ากับระบบระบุตำแหน่งอย่าง GPS ผู้ใช้งานสามารถ check in ตามสถานที่ต่างๆ และแชร์กับเพื่อนในเครือข่ายได้ แต่สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ หากเจ้าของสถานที่เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรือร้านขายของ มีการทำการตลาดกับกระแส LBS ก็จะจัดโปรโมชั่นต่างๆ ออกมาให้สิทธิพิเศษกับคนที่ check in บ่อยๆ ซึ่งแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้กลายเป็นการปลุกกระแสการตลาดแบบ LBS ในโลกไซเบอร์ขึ้นมา
มาถึงจุดนี้ผู้ประกอบการคงจะสงสัยไปตามๆ กันว่า “เอ๊ะ ...แล้วอะไรคือ LBS?”
ผู้ประกอบการสามารถเสนอสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าประจำผ่านการลงชื่อเข้าใช้ได้
 LBS หรือชื่อเต็มว่า Location-Based Service เป็นบริการรูปแบบใหม่ช่วยให้เราสามารถแชร์ข้อมูลพื้นที่ที่เราอยู่กับผู้ใช้งานทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในโลกความบันเทิงหรือโลกธุรกิจโดยผ่านการระบุตำแหน่ง อันที่จริงการระบุตำแหน่งไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว เพราะผู้ประกอบการก็คงเคยได้ลองใช้แอพพลิเคชั่นดังๆ อย่าง Google Map หรือ Ovi Map ใน Smart Phone กันมาแล้ว และ LBS ก็จับเอาความสามารถพิเศษดังกล่าวของ Smart Phone มาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการสามารถเสนอสิทธิพิเศษผ่านทางการลงชื่อเข้าใช้ของลูกค้าประจำ (Checkins) นั่นเอง
ถ้าหากผู้ประกอบการผู้วิสัยทัศน์กว้างไกลสนใจจะทำตลาดในรูปแบบนี้แล้วล่ะก็ วิธีง่ายๆ 5 วิธีนี้จะช่วยให้กิจการเข้าสู่วงโคจรของการบริการแบบ LBS ได้อย่างง่ายดาย

1.ให้ลูกค้ายืนยันการเข้าใช้เพื่อรับสิทธิพิเศษ

มีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ผู้ประกอบการสามารถให้ลูกค้าลงชื่อเข้าใช้เพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านทางโทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อได้ยินคำว่าโทรศัพท์มือถือ ผู้ประกอบการหลายคนอาจนึกท้วงว่า “อ้าว ...ถ้าลงชื่อผ่านโทรศัพท์มือถือ ลูกค้าก็สามารถลงชื่อเข้าใช้จากที่อื่นที่ไม่ใช่ร้านของเราก็ได้น่ะสิ แล้วอย่างนี้จะตรวจสอบได้ยังไงกัน” จริงๆ แล้วปัญหาดังกล่าวจะหมดไปทันที หากเราปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระเอกอย่าง QR Code ที่ได้เคยพูดถึงไปแ้ล้ว ผู้ประกอบการแค่เอา QR Code ของกิจการแปะไว้ตรงไหนสักในร้านค้า ให้ลูกค้าแสกนผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อยืนยันการเข้าใช้ เพียงเท่านี้เราตรวจสอบได้แล้วว่าเขาได้เข้ามาใช้บริการร้านค้าจริงหรือไม่

2.การใช้บาร์โค้ด

สินค้าแต่ละชิ้นล้วนมีบาร์โค้ดอยู่แล้ว หากทำให้สามารถใช้บริการแบบ LBS ได้ก็จะยิ่งกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เพราะมีแอพพลิเคชั่นหลายตัวใน Smart Phone ยกตัวอย่าง Bakado ใน IPhone ที่สามารถสแกนบาร์โค้ดสินค้าเกือบทุกได้ เพื่อเปรียบเทียบราคาและอ่านรีวิวจากผู้ใช้คนอื่นๆ นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถออกตราสินค้าผ่านทาง Bakudo เพื่อให้ลูกค้าสแกนแล้วรับส่วนลดได้อีกด้วย

3.การจัดราคาพิเศษสำหรับหมู่คณะ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ธุรกิจในละแวกเดียวกันรวมตัวเพื่อเสนอส่วนลดพิเศษให้ลูกค้าที่มาใช้บริการร้านค้าในกลุ่มเพื่อขยายการซื้อซ้ำให้ร้านอื่นๆ ผู้ประกอบการที่สนใจวิธีนี้จะดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์มากมาย ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ Groupon ซึ่งเป็นเว็บไซต์แบบจัดโปรโมชั่นรายวัน โดยจะให้ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจในท้องที่เสนอส่วนลดพิเศษซึ่งเมื่อลูกค้ามาใช้บริการในร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งแล้วก็จะได้ส่วนลดไปใช้ในร้านอื่นต่อไป

4.การจัดแข่งขันเพื่อรับส่วนลด

นี่คือส่วนที่สัมพันธ์กับ Foursquare ซึ่งกล่าวถึงในข้างต้น ทั้ง Foursquare และคู่แข่งอย่าง Gowalla ต่างตอบสนองความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กด้วยการให้ธุรกิจตั้งกติกาต่างๆ ขึ้นเองได้เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาร่วมแข่งขัน เช่น ระยะเวลา จำนวนสิทธิพิเศษ และแต้มที่ลูกค้าต้องทำเพื่อปลดล็อกสิทธิพิเศษ และลูกค้าที่เข้าร่วมยังสามารถตรวจสอบคะแนนของตนจากแอพพลิเคชั่นได้อีกด้วย นอกเหนือจากแอพพลิเคชั่นสองตัวที่กล่าวไปแล้ว ยังมีเกม SCVNGR ใน IPhone และ Android ที่สามารถสแกน QR Code โพสต์รูปภาพสถานที่หรือส่งสัญลักษณ์อื่นๆ ซึ่งทางร้านค้าระบุเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันได้อีกด้วย

5.การทำข้อเสนอให้ลูกค้าเลือก

ถือเป็นวิธีในอุดมคติ ซึ่งเว็บไซต์ Bizzy คือเจ้าของความคิดดังกล่าว สืบเนื่องจากเล็งเห็นความยุ่งยากของแคมเปญการตลาดส่วนใหญ่ที่มักส่งอีเมลนำเสนอสิทธิพิเศษให้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ตนสนใจเท่านั้น โดยที่ไม่รู้ว่ากลุ่มดังกล่าวสนใจจริงๆ หรือไม่ ที่สำคัญนอกจากกลุ่มดังกล่าวยังอาจมีลูกค้าอื่นสนใจแต่กลับไม่ได้รับข่าวสาร ทำให้ผู้ประกอบการอาจพลาดโอกาสทองไป Bizzy จึงสร้างขึ้นมาเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดดังกล่าว โดยให้สมาชิกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสามารถเลือกรับเฉพาะข่าวสารที่ตนอยากได้ตามใจชอบด้วยการตั้งสถานะผ่านทาง Bizzy List แม้ตอนนี้ขอบข่ายของ Bizzy จะยังถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ Dallas, New York และ San Francisco แต่เชื่อว่าอีกไม่นานแอพพลิเคชั่นดังกล่าวคงแพร่หลายมากขึ้น
จำนวนผู้ใช้ Smart Phone นับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นจนอาจเข้ามาแทนที่โทรศัพท์มือถือระบบ 2G ที่ใช้กันในปัจจุบันก็ได้ การตลาดแบบ LBS จึงมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมพร้อมไว้แต่เนิ่น เพราะยังไงเสียการออกตัวเร็วย่อมพากิจการลอยลำเหนือคู่แข่งอย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม