ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

     










โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
      
       หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์
      
       บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2
      
       จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ 
      
       และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง
      
       มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง
      
       เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท
      
       การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด
      
       โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิมคือ บิ๊กซี จูเนียร์ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาใช้ชื่อของคาร์ฟูร์แทน) และบิ๊กซี จัมโบ้
      
       ครบทุกสาขาแล้ว
      
       โดยบิ๊กซีได้กำหนดแบรนด์ใหม่ที่จะมาใช้แทนคาร์ฟูร์ คือ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า ซึ่งเป็นการนำเอาจุดเด่นในด้านการคัดสรรสินค้าจากทุกมุมโลก, การบริการที่เป็นเลิศของคาร์ฟูร์ มารวมกับราคาคุณภาพของบิ๊กซี
      
       กรณีนี้ เป็นการศึกษาการให้บริการของ Extra ที่เป็นแบรนด์ไฮเปอร์มาร์เกตในประเทศบราซิล และเป็น 1 ในสมาชิกของกลุ่มคาสิโน และก็ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับกับบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้านั่นเอง
      
       ล่าสุด เพิ่งเปิดตัวรูปโฉมใหม่อีก “บิ๊กซี จัมโบ้” เป็นสาขาแรกโดยปรับจากคาร์ฟูร์เดิมที่สำโรง เปิดตัวเป็นทางการปลายปีนี้ และอยู่ระหว่างการปรับบิ๊กซีเดิมที่พัทยาเป็นบิ๊กซี จัมโบ้ สาขา 2 จะเปิดตัว 18 ส.ค.นี้
      
       ทั้งนี้ บิ๊กซี จัมโบ้จะเป็นธุรกิจที่คล้ายๆ กับแม็คโคร มีรูปแบบค้าส่ง จับกลุ่มเป้าหมายร้านค้าผู้ประกอบการรายย่อย และธุรกิจค้าส่งทั่วไป
      
       เมื่อรวมรูปแบบใหม่นี้ ส่งผลให้ปัจจุบันบิ๊กซีมีสาขาในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เกต จำนวน 105 สาขา ซึ่งเป็นสาขาที่ปรับปรุงมาจากคาร์ฟูร์เดิม 41 สาขา โดยใน 41 สาขานี้บริษัทได้ปรับเป็นบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าจำนวน 15 สาขา ส่วนที่เหลืออีก 26 สาขาปรับเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ นอกจากนี้บริษัทยังมีสาขาในรูปแบบบิ๊กซี มาร์เก็ต 10 สาขา มินิ บิ๊กซี 25 สาขา และร้านเพียว ซึ่งเป็นร้านขายยา เปิดให้บริการในบิ๊กซีจำนวน 38 สาขา
      
       ในครึ่งปีหลังนี้บริษัทมีแผนลงทุนขยายสาขาใหม่ประมาณ 6 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งจะมีทั้งรูปแบบบิ๊กซี มาร์เก็ต และ มินิ บิ๊กซี และยังมีแผนที่จะเปิดร้านเพียวในรูปแบบสแตนด์อะโลนจำนวน 4 สาขา ขณะที่ครึ่งปีแรกไม่ได้ขยายสาขาอย่างจริงจัง
      
       ส่วนแผนการตลาดนอกจากโปรโมชั่นราคาทั่วไปแล้ว จะเน้นกลยุทธ์บิ๊ก การ์ด มากขึ้น ซึ่งในอนาคตมีแผนจะร่วมมือกับร้านค้าเช่าเพื่อทำโปรโมชั่นร่วมกันด้วย ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ที่ 6.4 ล้านราย
      
       บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ในรูปแบบร้านไฮเปอร์มาร์ทขนาดใหญ่ชื่อ บิ๊กซี (Big C) มีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยและประเทศในเอเชีย เช่น เวียดนาม
      
       บิ๊กซี เกิดจากความคิดกลุ่มค้าปลีกในเครือเซ็นทรัลเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยได้ทำการก่อตั้งบริษัท เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ จำกัดขึ้นมา และได้ทำการเปิดสาขาแรกบนถนนแจ้งวัฒนะ ในปี พ.ศ. 2537 และก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในปี พ.ศ. 2538 แต่ต่อมาจนกระทั่งถึงช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 บริษัท Casino Guichard-Perrachon ผู้ประกอบการค้าปลีกอันดับสองของฝรั่งเศส ได้เข้ามาเพิ่มทุนและก็กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในพ.ศ. 2542
      
       โดยบิ๊กซีได้ให้ความหมายของคำว่า Big C คือ
      
       Big หมายถึง พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ พร้อมด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับลูกค้า และยังครอบคลุมไปถึงความหลากหลายของสินค้าที่บิ๊กซีคัดสรรมาจำหน่าย โดยบิ๊กซีมีสินค้ามากกว่า 100,000 รายการ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า
      
       C หมายถึงลูกค้าที่ให้การสนับสนุนบิ๊กซีตลอดมา
      
       ความเคลื่อนไหวของ บิ๊กซี.. โดยเฉพาะการทำบิ๊กซี จัมโบ้ ที่เข้าไปรุกตลาดของแม็คโครครั้งนี้ มีนัยสำคัญอย่างไร
      
       บทวิเคราะห์
      
       หลังจากที่บิ๊กซีซื้อคาร์ฟูร์ และควบรวมเข้ามาอยู่ในอาณาจักรแล้วเสร็จ
      
       ยุทธจักรโมเดิร์นเทรดก็ร้อนฉ่าขึ้นมาทันที
      
       เพราะ "ขนาด" ของบิ๊กซีหลังควบคาร์ฟูร์ใกล้เคียงกับโลตัส มากกว่าสมัยก่อน
      
       แต่ก่อนบิ๊กซีมียอดขาย 60,000 ล้านบาท ขณะที่โลตัส 130,000 ล้านบาท ขนาดห่างกันมากอย่าง ทาบกันไม่ติด แต่เมื่อผนวกคาร์ฟูร์ที่มียอดขาย 40,000 ล้านบาทเข้ามาแล้ว ขนาดของบิ๊กซีจะขยายขึ้น มาเป็น 100,000 ล้านบาททันที
      
       ด้วยขนาดที่ห่างกันเพียง 30,000 ล้านบาทนั้น ไม่ได้ห่างกันแบบครึ่งๆ อีกต่อไป ส่งผลให้กลยุทธ์ การตลาดถูกงัดออกมาสู้กันทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มยอดขายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
      
       โลตัสก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อเพิ่มยอดขายให้มากที่สุดเพื่อถีบตัวหนีบิ๊กซีให้มากที่สุด เพราะถ้าเข้า มาใกล้มากเกินไป ขนาดจะใกล้กัน จะทำให้ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันหมดไป
      
       ส่วนบิ๊กซีก็ต้องพยายามถีบยอดขายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จะได้ทำการสัประยุทธ์กับโลตัส ได้อย่างถึงพริกถึงขิง
      
       ดังนั้น กลยุทธ์ที่ถูกออกแบบทั้งหลายก็เพื่อเพิ่มยอดขายให้ตนเองแทบทั้งสิ้น โลตัสคงไม่สามารถ เพิ่มยอดขายมากกว่านี้ได้อีกสักเท่าไหร่นัก เพราะที่ผ่านมาก็มียอดขายมากอยู่แล้ว
      
       กลยุทธ์ที่ถูกงัดขึ้นมาใช้ก็เพื่อไม่ให้คู่แข่งหลักอย่างบิ๊กซีมียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ เรา จึงได้เห็นการทำการตลาดกันระหว่างบิ๊กซีและคาร์ฟูร์ ด้วยการสร้างแคมเปญคูปองใช้ร่วมกันและกัน
      
       โลตัสจึงโฆษณาว่าคูปองที่คาร์ฟูร์ และบิ๊กซีใช้ร่วมกันนั้นสามารถนำมาใช้ที่โลตัสได้ด้วย และลด ได้มากกว่าใช้ที่บิ๊กซีคาร์ฟูร์ด้วย
      
       ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มยอดขายให้โลตัส ขณะเดียวกันก็เป็นการเตะตัดขาบิ๊กซีด้วย และที่สำคัญ ก็คือเป็นการแย่งลูกค้าของบิ๊กซีด้วยนั่นเอง
      
       ส่วนบิ๊กซีนั้นก็ต้องบุกตลาดใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เช่นเดียวกับที่โลตัสทำ
      
       โลตัสมีผลิตภัณฑ์ออกมาทุกประเภท เช่น โลตัสใหญ่ ตลาดโลตัส Plus และ Lotus Express ฯลฯ จึงสามารถกวาดส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มยอดขายได้หนือกว่าแบรนด์อื่น
      
       วิธีคิดเช่นนี้บิ๊กซีกำลังนำมาใช้ เพราะบิ๊กซีได้สาขาของคาร์ฟูร์มากถึง 41 สาขา ซึ่งแน่นอนว่าที่ ผ่านมา คาร์ฟูร์ซึ่งเป็นหนึ่งใน BIG Four ของโมเดิร์นเทรดไทยคงจะเป็นคู่แข่งของบิ๊กซีที่ผ่านมา ทำเล คงจะทับกัน ดังนั้น หากไม่ปรับการวางตำแหน่งทางการตลาดของห้าง ก็อาจจะทำให้คาร์ฟูร์ และบิ๊กซี กินเนื้อกันเอง ไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
      
       ดังนั้น ไม่เพียงเปลี่ยนชื่อเท่านั้น หากต้องเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ของห้าง บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าว่าแตกต่างจาก บิ๊กซีทั่วๆ ไป ทั้งยังต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ เข้าไปในตลาดที่คู่แข่งขันแข็งแกร่งด้วย เพราะหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่จะต้องรุกเข้าไป เพราะตลาดก็มีอยู่จำกัด ลำพังจะหากินอยู่ในพื้นที่ ที่ตนเองเชี่ยวชาญนั้น ก็อาจจะไม่พอเพียงเสียแล้ว
      
       จึงไม่แปลกที่เห็นบิ๊กซีออกบิ๊กซี จัมโบ้ที่จับตลาดโชวห่วยที่ไปชนกับแม็คโครโดยตรง
      
       และก็จะไม่แปลกอีกเช่นกันที่จะเห็นรูปแบบบิ๊กซีหลายๆตัวที่จะไปเหมือนกับโลตัส
      
       เมื่อเป้าหมายก็คือการเพิ่มยอดขาย โดยที่กำลังซื้อก็มีอยู่อย่างจำกัดนั้น
      
       การแข่งขันในโมเดิร์นเทรดซึ่งเหลืออยู่เพียง 3 เจ้านั้น
      
       จะรบกันอย่างดุเดือดขนาดไหน
      
       เพราะกลยุทธ์จากนี้ไปก็คือกลยุทธ์การแย่งตลาดจากคู่แข่งขันนั่นเอง!!!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ