การบริการเชิงรุก (Proactive Service)
สรุปผลการค้นคว้า บริการเชิงรุก (Proactive Service)
เป็นการวางแผนการในการให้บริการลูกค้าล่วงหน้า
อย่างละเอียดและรอบคอบ มีความรับผิดชอบ
รวมถึงเป็นการแสดงออกถึงความต้องการและปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้รับบริการ
โดยไม่รีรอให้ผู้รับบริการร้องขอ
โดยผู้ให้บริการต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของลูกค้าและให้ลูกค้าได้รับ
ความพึงพอใจสูงสุด โดยยึดแนวทางในการปฏิบัติทั้งหมด 4 ประการในการทำ Proactive Service คือ
Customer Service Plan:
แผนการบริการลูกค้า
เมื่อผู้ให้บริการได้รู้ความต้องการของผู้ใช้แล้ว
ผู้ให้บริการต้องพัฒนาแผนบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
เพื่อนำไปสู้การให้บริการที่ตรงต่อความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผนคือ
หาคำตอบสำหรับคำถามว่า ว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ จะทำอย่างไร จะทำเมื่อใด จะทำที่ไหน
จะให้ใครทำจะต้องใช้ทรัพยากรอะไร
การวางแผนการมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการบริการลูกค้าเพราะ
หากมีการวางแผนการที่ดีจะเป็นเครื่องมือในการช่วยในกระบวนการบริการ
มีระบบการป้องกันทีดี สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ ทำให้องค์กรอยู่รอดและสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
ยุคโลกาภิวัตน์ได้
Customer Centric : การเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
การเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทุกคนในองค์กร
ตั้งแต่พนักงาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร
ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “ลูกค้า” (Customer) และ
ปฏิบัติต่อเขาอย่างดีสมกับบทบาทหน้าที่ในการให้การบริการแก่ลูกค้าในฐานะที่
เราเป็นเจ้าของกิจการ และในฐานะผู้ให้ที่ไม่มีสิทธิเลือกปฏิบัติ
ไม่ว่าจะเผชิญกับสถานการณ์ใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
ทุกหน่วยงานในองค์กรจะต้องส่งมอบบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าซึ่งมีการทำ
งานดังนี้
-
ผู้บริหารต้องปฏิบัติให้เป็นต้นแบบ (Role Model)และปลูกฝังเรื่อง Customer
Centricแก่พนักงาน ในการพูดถึงความสำคัญและการเอาใจใส่แก่ลูกค้า
และปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความรู้สึกที่จะส่งมอบบริการให้กับลูกค้าให้เกิดความประทับใจ
ดังนั้นผู้บริหาร ต้องสร้างให้เกิดต้นแบบ
(Role Model) ให้แก่พนักงานให้เกิดการปฏิบัติตาม
-
การจัดอบรมแก่พนักงาน (Training)ในเนื้อหาของการบรรยายและฝึกปฏิบัติโดยจะต้องนำสถานการณ์จริงจากการท
างานประจำวันมาศึกษา โดยมีวิทยากรให้คำปรึกษาและข้อแนะนำ
-
การให้ขวัญและกำลังใจ (Encouragement)แก่ผู้ที่ทำดี ผู้ที่ทำให้ลูกค้าประทับใจ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจและกระตุ้นให้พนักงานทุกคนอยากจะทำในสิ่งที่ดี
Service Mind :
จิตสำนึกในการบริการ
หรือ การบริการด้วยหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความสามารถหลักที่องค์กรคาดหวังให้พนักงานทุกคนเป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนด
และถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้ที่ทำงานด้านบริการซึ่งจะเต็มไปด้วยความรับผิดชอบและเสียสละService
Mind มีความหมายดังนี้
S = Smile ต้องมีรอยยิ้ม
E = Enthusiasm ความกระตือรือร้น เอาใจใส่ลูกค้า
R = Responsiveness มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มีต่อลูกค้า
V = Value ให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณค่า
I =
Impression ให้บริการอย่างประทับใจ
C = Courtesy บริการลูกค้าอย่างสุภาพอ่อนโยน
M = Make
Believe มีความเชื่อ
I = Insist การยอมรับ
N =
Necessitate การให้ความสำคัญ
D = Devote การอุทิศตน
Skill & Enthusiastic Service: ทักษะ
ความรวดเร็วและความชัดเจนในการให้บริการ
ซึ่งผู้ปฏิบัติงานบริการจำเป็นต้องฝึกฝนเพื่อความรวดเร็วและเกิดความชำนาญ
เพื่อไม่ให้ผิดพลาดเมื่อมีการส่งมอบงานให้กับลูกค้า
ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานบริการได้แก่ ทักษะด้านการทักทาย
การรับฟัง
และการจัดการข้อร้องเรียน
จาก
แนวปฏิบัติการทางบริการเชิงรุกทั้ง
4 ด้าน
ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการบริการมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ
ให้เกิดเป็นทักษะ และลดปัญหาขณะปฏิบัติงานได้
รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่หลีกหนีปัญหา
สามารถรับมือกับปัญหาทางด้านงานบริการได้
นำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการบริการเชิงตั้งรับมาเป็นการบริการเชิงรุกได้
อย่างถูกต้องโดยมีการวางแผนการให้บริการลูกค้าศึกษาความต้องการของลูกค้าและปรับตัวเองให้มีหัวใจแห่งการให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มใจ
สรุป
การ
ทำงานและการบริการเชิงรุก
จำเป็นจะต้องอาศัยความตั้งใจและความมุ่งมั่นเป็นส่วนสำคัญของพนักงานผู้ให้
บริการและผู้บริหารองค์กร
มีการวางแผนในการให้บริการลูกค้า
เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการตอบสนองการบริการที่พิเศษและแตกต่างกัน
มีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ต้องมีจิตสำนึกที่ดีเป็นส่วนสำคัญ
เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแสดงออกอย่างเป็นมิตร
การให้บริการอย่างกระตือรือร้นการให้บริการเชิงรุกคือ
การมีทักษะด้านการบริการด้วยความรวดเร็ว ความชัดเจน
และความถูกต้องในการให้บริการ
และสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงสำหรับการบริการเชิงรุกคือ การบริการเชิงตั้งรับ
นั่นคือการขาดการวางแผนในการทำงาน
การยึดมั่นในความคิดของตนเป็นหลักซึ่งส่งผลอันตรายอย่างยิ่งต่องานบริการ
เพราะไม่สามารถรับฟังปัญหาและตอบสนองบริการให้แก่ลูกค้าได้ตามความต้องการ
บรรณานุกรม
ศิริพร
วิษณุมหิมาชัย. (2551). การสร้างบริการเชิงรุกสู่ความเป็นเลิศ(Excellence
Proactive Service ). ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2555,
จาก http://mkpayap.payap.ac.th/siriporn/pdf/pyupdf3.pdf
โพสต์เมื่อ 14th September 2012 โดย Sriraming Gullawan
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น