ทำไม....อาคารจึงทรุดตัว และการทรุดตัว มีสาเหตุหลักๆ มาจากอะไร?
1. การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน
2. การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากเสาเข็มที่มีความยาวแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกร เพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว
3. ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน
4. การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าอาคารของเราเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน?
1. ระดับพื้นอาคารเอียง อาจทดสอบได้โดยการถ่ายระดับน้ำหรือกลิ้งวัตถุทรงกลมบนพื้นเพื่อตรวจสอบระดับที่แตกต่างกัน
2. เกิดการแตกร้าวเป็นมุมเฉียง 45 องศาที่ผนัง และแตกทะลุจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง (เช่นแตกทะลุจากด้านนอกเข้ามาด้านใน) โดยรอยแตกที่กว้างและยาวขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาทีเ่ปลี่ยนไป แสดงถึงการทรุดตัวที่มากขึ้น
3. ประตูหน้าต่าง เปิดปิดไม่เข้า หรือประตูหน้าต่างเปิดปิดได้เอง (เนื่องจากอาคารเสียระดับหรือเอียง)
4. โครงสร้างหลักมีการแตกร้าว เช่น เสา คาน พื้น โดยอาการของการแตกร้าวจะแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีเสียงแตกลั่นในบางครั้ง
5. กรณีส่วนต่อเติมทรุด ปัญหาแตกร้าว รั่วซึม จะเกิดขึ้นชัดเจนที่รอยต่อ พื้น ผนัง และหลังคาส่วนต่อเติมชนกับตัวบ้านเดิม
คุณ กรวิทย์ โนรา (Civil Professional Engineer)
Hot-Line : 089 931 3210
1. การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน
2. การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากเสาเข็มที่มีความยาวแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกร เพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว
3. ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน
4. การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าอาคารของเราเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน?
1. ระดับพื้นอาคารเอียง อาจทดสอบได้โดยการถ่ายระดับน้ำหรือกลิ้งวัตถุทรงกลมบนพื้นเพื่อตรวจสอบระดับที่แตกต่างกัน
2. เกิดการแตกร้าวเป็นมุมเฉียง 45 องศาที่ผนัง และแตกทะลุจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง (เช่นแตกทะลุจากด้านนอกเข้ามาด้านใน) โดยรอยแตกที่กว้างและยาวขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาทีเ่ปลี่ยนไป แสดงถึงการทรุดตัวที่มากขึ้น
3. ประตูหน้าต่าง เปิดปิดไม่เข้า หรือประตูหน้าต่างเปิดปิดได้เอง (เนื่องจากอาคารเสียระดับหรือเอียง)
4. โครงสร้างหลักมีการแตกร้าว เช่น เสา คาน พื้น โดยอาการของการแตกร้าวจะแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีเสียงแตกลั่นในบางครั้ง
5. กรณีส่วนต่อเติมทรุด ปัญหาแตกร้าว รั่วซึม จะเกิดขึ้นชัดเจนที่รอยต่อ พื้น ผนัง และหลังคาส่วนต่อเติมชนกับตัวบ้านเดิม
ลักษณะการแตกร้าวที่ผนังเนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก
ลักษณะแตกร้าวที่เสาเกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานรากอย่างรุนแรง
หลังคาบ้านเดิมและส่วนต่อเติมทรุดไม่เท่ากันจนมีช่องว่างทำให้น้ำรั่วซึม
การทรุดตัวไม่เท่ากันระหว่างส่วนต่อเติมและตัวบ้านเดิม เกิดรอยร้าวที่รอยต่อ
โครงสร้างพื้นส่วนต่อเติมทรุดเอียงแยกออกจากตัวบ้านเดิม เกิดจากการต่อเติมผิดวิธี
การทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานรากอย่างรุนแรง ทำให้เกิดรอยแตกร้าวทแยงที่ผนัง
ปัญหาอาคารทรุด ทำให้ช่องเปิดเสียรูปฉาก ประตูหน้าต่างปิดเปิดไม่ได้
พื้นและคานที่แตกร้าว เนื่องจากปัญหาอาคารทรุด
ปัญหาการทรุดเอียง เนื่องจากการเชื่อมต่อโครงสร้างส่วนต่อเติมและบ้านเดิม
การต่อเติมเพิ่มจำนวนชั้นโดยไม่ตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักของเสา ทำให้เสาระเบิด
เพราะ
เรา....คือผู้เชี่ยวชาญการหาสาเหตุ และการแก้ไขอาคารทรุดอย่างมืออาชีพ
พร้อมยินดีให้คำปรึกษาทุกปัญหาทางวิศวกรรม ด้วยบรรยากาศการสนทนาแบบสบายๆ
และเป็นกันเอง
ติดต่อเราได้ที่คุณ กรวิทย์ โนรา (Civil Professional Engineer)
Hot-Line : 089 931 3210
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น