ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน


เรื่อง   การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน
โดย  พลตรี เอนก   แสงสุก
ผู้ทรงคุณวุฒิ  กองบัญชาการทหารสูงสุด

วิเคราะห์ศัพท์
                         การพัฒนา  --  การทำให้ดีขึ้น  เจริญขึ้น  ทันสมัยขึ้น  ก้าวหน้าขึ้น
                         ทักษะความคิด --  ความชำนาญในการคิด
                         การปรับปรุงงาน --  การทำให้งานดีขึ้น  รวดเร็วขึ้น  เรียบร้อยขึ้น

สรุปเป็น         การทำให้เกิดความชำนาญในการคิดเพื่อการปรับปรุงงาน

หัวข้อบรรยาย     .      วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงงาน
                                .    การพัฒนาความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน 
                                   การสร้างนิสัยหรือวิธีฝึกให้เป็นคนช่างคิด
                                   เทคนิควิธีที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงงาน
                                ๕.     การปรับปรุงงาน
                                .     สรุป

๑.   วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงงาน
      ๑.   ทำไมบุคลากรภาคเอกชนจึงคิดปรับปรุงงานอยู่เสมอ ?
                         - เพราะเป็นการแข่งขันกันนำเสนอสิ่งที่ดีกว่า
                         - เพราะผู้บริโภคชอบอะไรใหม่ ๆ  เสมอ
                         - เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น
                         - พนักงานทุกคนได้รับแบ่งปันผลกำไรในรูปโบนัส
                         - ถ้าไม่ปรับปรุงงานอยู่เสมอ  อาจถูกเชิญออก  ให้ออก  ไล่ออก
                         - ขั้นตอนการทำงานน้อย
                         - ผู้ตัดสินใจน้อย
                         - ค่าตอบแทนสูง
                         - เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น


      ๑.๒  ทำไมบุคลากรภาครัฐจึงคิดปรับปรุงงาน  หรือดำเนินการปรับปรุงงานได้น้อยกว่าภาคเอกชน ?
                         - เพราะเป็นงานบริการ  ไม่ใช่ธุรกิจหากำไร  ไม่มีการแข่งขัน
                         - เพราะผลที่ได้รับจากการพัฒนาเป็นเพียง  “ความพอใจ”  ของผู้ใช้บริการ  ไม่ใช่  “ผลกำไร
                         - บุคลากรภาครัฐกินเงินเดือน  ไม่ได้รับเงินเพิ่มจากผลกำไร
                         - ถ้าไม่ปรับปรุงงาน  ก็ไม่มีการเชิญออก  ให้ออก  ไล่ออก  เว้นแต่กระทำผิดวินัยร้ายแรง
                         - งานบางงานต้องใช้งบประมาณราชการ  ถ้าได้น้อยก็ปรับปรุงได้น้อย
                         - มีระบบพวกพ้อง
                         - เป็นองค์กรขนาดใหญ่
                         - มีสายการบังคับบัญชา  และขั้นตอนการตัดสินใจมาก
                         - ความรู้ความสามารถของบุคลากรบางส่วนสู้ภาคเอกชนไม่ได้
                         - หัวหน้างานบางคนไม่รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง
                         - ถูกปลูกฝังความคิด หรือรูปแบบการทำงาน  โดยคนรุ่นก่อน
                         - มีกฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  มาก
                         - เปลี่ยนนโยบายตามผู้บริหารอยู่เสมอ
                         - มีการโกงกิน
                         - กลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เพิ่มงาน  เพิ่มภาระ
      ๑.๓  ทำไมจึงต้องปรับปรุงงาน ?
                         - เพื่อให้งานดีขึ้น   เร็วขึ้น  สะดวกขึ้น  มากขึ้น  มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                         - เพื่อให้ได้ผลงานมากขึ้น  ได้ผลกำไรมากขึ้น
                         - เพื่อให้ได้รับความสนใจ  ความพอใจจากผู้บริโภค  หรือผู้ใช้บริการมากขึ้น
                         - เพื่อลดต้นทุน  ลดขั้นตอน
                         - เพื่อช่วยพัฒนาองค์กร  และประเทศชาติโดยรวม

๒. การพัฒนาความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน
                         - ต้องพัฒนาทั้งความคิดของ  . ตัวเอง  . หัวหน้าหน่วยรองหรือลูกน้อง
      ๒.๑  การพัฒนาความคิดของตัวเอง
                         - จะปรับปรุงงานต้องปรับปรุงตัวเองก่อน   เพราะจะไม่ได้รับ  “ความร่วมมือ - ร่วมใจหรืออาจได้รับแต่  “ความร่วมมือ”  ไม่ได้รับ  “ความร่วมใจ
                         - ต้องเริ่มที่ใจ   --  ตั้งใจที่จะคิด  ที่จะริเริ่ม
                                                      --  ตั้งใจว่าจะไม่ทำงานแบบตั้งรับ
                                                     --  ตั้งใจว่าจะทำงานเชิงรุก
                                             --  ตั้งใจว่าจะริเริ่มพัฒนาไม่หยุดนิ่ง
                                                      --  ตั้งใจว่าจะสู้ไม่ถอย
                                                      --  ตั้งใจว่าจะเป็น  “คนแก่ความรู้  ใช่อยู่นาน
                                                      --  ตั้งใจว่าจะไม่ทำงานแบบ  “ทำอาหารตามสั่ง
                                                      --  ตั้งใจที่จะยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น
                         - ปรับทัศนคติตัวเองและลูกน้อง
                                                      --  ไม่ควรคิดว่ายิ่งริเริ่มยิ่งเพิ่มงาน  ยิ่งเหนื่อย
                                                      --  เลิกคิด  เลิกพูดว่า  “เรื่องที่แล้ว  ครั้งที่แล้ว  ปีที่แล้ว  เขาก็ทำกันมายังงี้
                                                     --  ไม่คิดว่า  จะเกษียณแล้ว  ใครอยากทำอะไรก็ทำไป
                                                      --  ไม่คิดว่า  ทำงานไปเรื่อย ๆ  ไม่ได้หวังสองขั้น  ใครอยากได้ก็ทำไป
                                                      --  เปิดใจรับความคิดใหม่ของคนใหม่  ไม่คิดว่าตัวเองอยู่มาก่อน
                                                      --  คิดว่าทุกคนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน  ไม่ปล่อยให้หัวหน้าคิดคนเดียว
                                                      --  คิดว่าการปรับปรุงงานจะทำให้ช่วยผู้ป่วยได้ดีขึ้น  เร็วขึ้น  มากขึ้น
                                                      --  คิดว่าการปรับปรุงงานอาจทำให้ทุ่นแรง  ทุ่นเวลา  ลดขั้นตอน  ได้
                         - เมื่อ  “ทำใจ”  และ  “ปรับทัศนคติ”  ได้แล้ว  จึงเริ่มพัฒนาความคิดที่จะปรับปรุงงานต่อไป
                         - วิธีที่    โดยการตั้งใจว่า 
                                                      --  จะทำวันนี้ให้ดีกว่าวันก่อน
                                                      --  จะทำงานนี้ให้ดีกว่างานที่แล้ว
                                                      --  จะทำเรื่องนี้ให้ดีกว่าเรื่องที่แล้ว 
                         - วิธีที่ ๒  โดยการถามตัวเองอยู่เสมอว่า
                                                      . งานในหน้าที่  ทำครบถ้วน  ถูกต้อง  รวดเร็ว  ไม่ผิดพลาด  ไม่บกพร่องแล้วหรือยัง
                                                      . วิธีทำให้เร็ว  ให้มาก  ให้สะดวก  ให้สมบูรณ์  กว่านี้  มีหรือไม่
                                                      จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย  ได้มาก  ได้สะดวก  ได้รวดเร็วกว่านี้อีก
                                                      . หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา  เขาทำอย่างไร
                         - วิธีที่ ๓  โดยการใช้หลักอริยสัจสี่พิจารณาทุกเรื่อง  (หรือหัวข้อการเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอำนวยการ)
                                                     ๑. ทุกข์                               - ปัญหา                 (มีข้อขัดข้องอะไรในการทำงาน)
                                                      .เหตุให้เกิดทุกข์           - ข้อเท็จจริง          (ข้อขัดข้องนั้นเกิดจากอะไร)
                                                     ๓.ทางสู่ความดับทุกข์  - ข้อพิจารณา       (มีทางแก้ข้อขัดข้องอย่างไรบ้าง)
                                                      .วิธีการพ้นทุกข์            - ข้อเสนอ             (ทางแก้ข้อขัดข้องที่ดีที่สุดคืออะไร)
                         - สำรวจตัวเองหรือหน่วยงานว่า  ทำงานเต็มที่  เต็มเวลา  แล้วหรือยัง  ทำไมจึงถูกตำหนิว่าไม่เรียบร้อย  ว่าช้า       -
                                                      --  ดูที่  คนเครื่องมือ  ในเรื่อง  ความพอเพียง  ประสิทธิภาพ  แล้วแก้ให้ตรงจุด
                                                     -- คนไม่พอขอเพิ่ม  บรรจุ  จ้างเพิ่ม
                                                      -- คนไม่มีประสิทธิภาพ --  ว่ากล่าวตักเตือน  ฝึกสอน  สับเปลี่ยนหน้าที่  ย้าย ส่งคืน
                                                      -- เครื่องมือ -- ไม่พอ - ขอเพิ่ม  เก่า - ขอใหม่  ใช้เครื่องมือแทนคน
                         - ดูตัวอย่างความคิดที่ดีของ  คนอื่น  หน่วยงานอื่น  ของ  ผู้บังคับบัญชา  นำมาประยุกต์ใช้
                         - ประสานงาน  พูดคุย ขอดูงาน หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกัน  แล้วนำมาพิจารณาใช้
                         - พยายามคิดเสมอว่า  งานที่ทำอยู่  จะนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยได้หรือไม่อย่างไร
                         - สังเกตการคิดของผู้บังคับบัญชา  ฝ่ายอำนวยการ  หรือบุคคลสำคัญ  เป็นตัวอย่าง
                         - ไม่ยึดติดกับระเบียบข้อบังคับหรือตัวอักษรเกินไป  เพราะระเบียบเหล่านั้นก็เกิดจากความคิดของคนในยุคก่อน ๆ  หากเรามีความคิดดีกว่าก็อาจเสนอแก้ไขได้  ให้เหมาะกับยุคสมัย
                         - ใช้การระดมความคิดภายในหน่วยงาน  เพื่อร่วมกันหาวิธีที่ดีที่สุด
                         - คิดทำงานเชิงรุก  เหมือนการรบในสนาม  จุดไหนอ่อนต้องจัดกำลังเสริม  ใครอ่อนล้าต้องเปลี่ยนตัว  สับเปลี่ยนหน้าที่กันบ้าง
                         - คิดวาดมโนภาพลำดับงานแต่ละงาน  ตั้งแต่ต้นจนจบ  ว่าจะเกิดปัญหาข้อขัดข้องอะไรบ้าง
แล้วหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า  ไม่รอให้เกิดปัญหาก่อน
      ๒.๒  การพัฒนาความคิดของหัวหน้าหน่วยรองหรือลูกน้อง
                         - เป็นหัวหน้าต้องพัฒนาความคิด  ทั้งของตัวเอง  และของหัวหน้าระดับถัดลงไป  โดยการถามความเห็น  เรียกมาหารือ  สั่งให้ไปคิดมาคุยกัน  หรือคิดมาเสนอในที่ประชุม
                         - สั่งงานแบบมอบภารกิจ  ไม่ต้องสั่งวิธีปฏิบัติ  (ถึงแม้เราจะรู้วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้มาก่อน)
                         - มอบให้เขารับผิดชอบ  เพื่อฝึกให้คิด  ไม่ใช่โยนความรับผิดชอบ  ให้ลูกน้องทำการแทน  (เรื่องที่อาจถูกนายตำหนิโดยอ้างว่า  “เพื่อฝึกความคิดลูกน้อง
                         - เป็นหัวหน้าอย่าแย่งหัวหน้าหน่วยรองคิดเสียทั้งหมด  ฝึกให้เขาคิดเองบ้าง
                         - เป็นหัวหน้าอย่ารอฟังแต่ความคิดของนาย  เราก็ต้องเตรียมคิดไว้เสนอ
                         - เปิดโอกาสให้ลูกน้อง  แสดงความคิดเห็น  เสนอแนะในการปรับปรุงงานได้  ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                         - เมื่อลูกน้องเสนอความคิด  ต้องสนใจให้ความสำคัญ  กล่าวชมให้กำลังใจไว้ก่อน  รับฟังไว้ก่อน  ถ้าเราเห็นจุดอ่อน  ก็ถกแถลงกันด้วยเหตุผล  ไม่พูดให้เขาเสียกำลังใจ
๓.  การสร้างนิสัยหรือวิธีฝึกให้เป็นคนช่างคิด
                         . ฝึกคิดจากเรื่องส่วนตัวในชีวิตประจำวัน  หาทางใหม่  วิธีใหม่ -- การขับรถ
                         .ดูทีวี  หนังสือพิมพ์  แล้วคิดตาม  ทั้งข่าว  ทั้งโฆษณา 
                         . พบเห็นใครทำอะไร  ลองคิดในใจว่า  เรื่องนี้งานนี้ถ้าเป็นเราจะทำยังไง อย่าคิดว่า  “ธุระไม่ใช่
                         . ลองแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ตดูบ้าง  แต่ให้มีสาระในลักษณะเสนอแนะเพื่อสร้างสรรค์”  ไม่ใช่  “ตั้งกระทู้เพื่อระบายอารมณ์” 

๔.  เทคนิควิธีที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงงาน
                         - สอบถาม ปัญหา ข้อขัดข้อง และคำแนะนำ จากผู้ที่เคยทำงานนั้น ๆ มาก่อน  หรือดำรงตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ มาก่อนเรา
                         - ศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกัน  ที่เคยทำมาก่อนแล้ว  นำปัญหาข้อขัดข้องมาแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ คิดปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น  ไม่คิดว่า  “เอาเหมือนเดิม”  ไปเสียทุกเรื่อง  (แต่ถ้าของเดิมดีแล้วก็ใช้ได้)
                         - านสำคัญ   เมื่อจบภารกิจแล้ว  ควรมีการรายงานสรุปผลการดำเนินงาน  และปัญหาข้อขัดข้อง  กับข้อเสนอแนะในการแก้ไขในครั้งต่อไป  (ต้องเปลี่ยนทัศนะคติว่า  หากรายงานว่าหน่วยเรา หรืองานที่เรารับผิดชอบมีปัญหาข้อขัดข้อง  จะถูกผู้บังคับบัญชามองไม่ดี)
                         - เมื่อถึงครั้งต่อไปหรือปีต่อไปจะทำงานนั้นอีก  ก็ควรนำรายงานนั้นมาพิจารณา  หรือกำหนดเป็นหัวข้อหรือระเบียบวาระการประชุม  ก่อนแบ่งมอบงานครั้งใหม่
                         - ทำแฟ้มบันทึกหรือถ่ายเอกสาร  เรื่องที่เคยถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ  ทั้งของเราและหน่วยอื่น  และหาทางแก้ไขไม่ให้ผิดซ้ำ  ไม่ปล่อยให้ลืมเลือนไปตามกาลเวลา
                         - ทำแฟ้มบันทึกคำพูดของผู้บังคับบัญชาที่เป็นลักษณะ  “นโยบายหรือความคิด”  แล้วหาทางทำให้ได้ตามนโยบายหรือความคิดนั้น
                         - การ  “เตรียมการ”  และ  “การซักซ้อม”  ที่ดี  จะทำให้เห็น  “ปัญหาข้อขัดข้อง”  ก่อนถึงวันจริง  ซึ่งสามารถนำมา  “ปรับแผน”  หรือ  “ปรับปรุงงาน”  ได้

๕.  การปรับปรุงงาน
      ๕.๑  หลักการ
                         - ลดขั้นตอน
                         - รวมงานลักษณะเดียวกัน
                         - บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ  (One stop service)
                         - กระจายการบริการให้เพียงพอ
                 - ระดมทรัพยากร
                         - ใช้สายการบังคับบัญชา
                      - ใช้เทคโนโลยี
                         - ทำงานได้โดยต่อเนื่อง
                         - จัดระบบจัดระเบียบ
                         - รับฟังความคิดเห็น
      ๕.๒ วิธีการ
                         - ลดขั้นตอน  ได้แก่  ลดขั้นตอนเอกสาร  มอบอำนาจการอนุมัติและลงนาม  ฯลฯ
                         - รวมงานลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  งานกำลังพล  งานกรรมวิธีข้อมูล  ของสองหน่วย
                         - บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ  เช่น  ใช้เจ้าหน้าที่จำนวนน้อยให้บริการได้ทุกเรื่อง  ฯลฯ
                         - กระจายการบริการให้เพียงพอ  เช่น  ตำบลจ่ายยาของโรงพยาบาล  ห้องสมุดของสถานศึกษาขนาดใหญ่  ตู้เอทีเอ็ม  โต๊ะเขียนคำร้องพร้อมตัวอย่าง  ฯลฯ
                         - ระดมทรัพยากร  เช่น  บางสถานการณ์หรือบางภารกิจ  อาจต้องทำงานแบบ  รวมการ โดยการระดมเจ้าหน้าที่หรือเครื่องมือของทุกหน่วยช่วยกันทำงานนั้น
                         - ใช้สายการบังคับบัญชา  บางงานต้องยึดถือสายการบังคับบัญชา  ไม่ก้าวก่าย  ไม่ข้ามขั้นตอน
                         - ใช้เทคโนโลยี  เช่น  บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์แทนการจดบันทึกด้วยมือลงเอกสาร การออกใบเสร็จรับเงิน  ฯลฯ
                         - ทำงานได้โดยต่อเนื่อง  ได้แก่  มอบงานหนึ่ง ๆ ให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อยสองคนเพื่อให้ทำงานแทนกันได้เมื่ออีกคนหนึ่งไม่อยู่   การให้บริการโดยไม่มีการพักเที่ยง   เตรียมการทำงานบางเรื่องเมื่อไฟฟ้าดับโดยใช้กระดาษ  ปากกา  เครื่องพิมพ์ดีด
                         - จัดระบบจัดระเบียบ  ได้แก่  จัดระบบงานให้สั้น  สะดวก  รวดเร็ว  แก่ผู้มาติดต่อ  จัดระบบการเดินเอกสาร  จัดระเบียบการเก็บข้อมูลและเอกสารให้ค้นหาง่าย  ให้เป็นส่วนกลางไม่เก็บตามโต๊ะหรือตู้ส่วนตัว
                         - รับฟังความคิดเห็นของทั้ง  ผู้ร่วมงาน  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และผู้มาติดต่อ  เช่น  ติดตั้งตู้รับความคิดเห็น  ฯลฯ  แล้วนำมาพิจารณาปรับปรุง  พัฒนางาน  ให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว  มีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้น

๖.   สรุป          
                         - การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน  ต้องเริ่มที่ใจ  ทำใจ  เปิดใจ  ตั้งใจ
                         - ต้องปรับทัศนคติทั้งของตัวเองและลูกน้องให้สนใจที่จะคิดเพื่อปรับปรุงงาน
                         - ต้องพัฒนาทักษะความคิดทั้งของตัวเองและลูกน้อง
                         - โดยการถามตัวเองอยู่เสมอว่า
                                         . งานในหน้าที่  ทำครบถ้วน  ถูกต้อง  รวดเร็ว  ไม่ผิดพลาด  ไม่บกพร่องแล้วหรือยัง
                                         . วิธีทำให้เร็ว  ให้มาก  ให้สะดวก  ให้สมบูรณ์  กว่านี้  มีหรือไม่
                                         จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้คลายทุกข์กายทุกข์ใจ  ได้มาก  ได้สะดวก  ได้รวดเร็ว  กว่านี้อีก
                                         . หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา  เขาทำอย่างไร
                         - แนวทางการปรับปรุงงาน  ได้แก่
                                         ๑.   ลดขั้นตอน                                                    ๖.  ใช้สายการบังคับบัญชา
                                         ๒. รวมงานลักษณะเดียวกัน                            ๗.  ใช้เทคโนโลยี
                                         ๓.  บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ                      ๘.  ทำงานได้โดยต่อเนื่อง
                                         ๔.  กระจายการบริการให้เพียงพอ                  ๙.  จัดระบบจัดระเบียบ
                                         ๕.  ระดมทรัพยากร                                            ๑๐. รับฟังความคิดเห็น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ 1 เอกสาร power point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤติ               จากภาพ มีทั้งหมด 3 เส้นทางที่เป็นไปได้คือ               A - D - I = ใช้ระยะเวลา 0+3+8+6 = 17              B - E - G - J = ใช้ระยะเวลา 0+5+5+4+4 = 18               C - F - H - J  =  ใช้ระยะเวลา 0+7+5+5+4= 21              ดังนั้น   เส้นทางที่เป็น critical path คือ   C - F - H - J  ระยะเวลาที่วิกฤติคือ 21   คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 กับ 26 การบริหารงานโครงการด้วยการ วางแผนควบคุม โดยใช้เทคนิค PERT : Program Evaluation and Review Technique และ CPM : Critical Path Method เป็นการวิเคราะห์ข่ายงานที่มักนำมาใช้ในการบริหารงานโครงการ มีจุดเริ่มต้นของโครงการจนถึงปิดโครงการที่แน่นอน มีส่วนงานย่อยต่าง ๆ ที่มีการกระจายโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างชัดเจนระหว่าง PERT และ CPM คือ เวลาในการทำกิจกรรม โดยที่เวลาในการทำกิจกรรมของ PERT จะเป็นเวลาโดยประมาณซึ่งคำนวณได้ด้วยการใช้ความน่าจะเป็น PERT จึงใช้กับโครงการ

สอนงานการทำงวด งานการก่อสร้าง การจัดงวดงานเบื้องต้น มูลค่างานที่จ่ายควรใกล้เคียงกัน ส่งเสริมให้องค์กรแข็งแรง

รายงานย่อยฉบับที่ 1 ปัญหาจากการจัดงวดงานที่ควรทราบ กระทู้คำถาม ออกแบบและสร้างบ้าน คุ้มครองผู้บริโภค สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆชาวพันทิพย์ จากกระทู้ที่ผมเคยตั้งไว้   รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 1   http://pantip.com/topic/30590647 รายงานการก่อสร้างบ้านพัก 2 ชั้น ฉบับที่ 2   http://pantip.com/topic/30609981 ถ้าท่านใดขอรับบันทึกการประชุมทางหลังไมค์ของผมไปจะพบว่าช่วงท้ายได้มีการพูดถึงการจัดงวดงานใหม่ ผมจึงอยากนำกรณีนี้มานำมาประกอบความเข้าใจ ผมขออนุญาตติด tag 2 ห้องนะครับ 1. ห้องชายคา - เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างบ้าน 2. คุ้มครองผู้บริโภค - เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ให้เจ้าของบ้านซึ่งอาจถูกเอาเปรียบได้ ถ้าท่านไหนมีคำแนะนำเพิ่มเติม แนะนำได้เลยนะครับ เพราะผมเองอาจจะมีข้อผิดพลาด ถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ 7   6   chekub       17 มิถุนายน 2556 เวลา 21:56 น. สมาชิกหมายเลข 1439329  ถูกใจ,   You raise me up  ถูกใจ,   Paradise Slice and double shot  ถูกใจ,   สาวบางกอก  ถูกใจ,   แมวมองนอนหวด  ถูกใจ,   สมาชิกหมายเลข 746318  ทึ่ง 18 ความคิดเห็น ความคิ

กลยุทธ์ใหม่ ModernTrade เพิ่มยอดขาย ขยายรูปแบบ แย่งลูกค้าคู่แข่ง

      โดย...ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย                หลังจากควบรวมกิจการกับคาร์ฟูร์                บิ๊กซี ก็ผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 2                จ่อไล่หลังเทสโก้โลตัสมาติดๆ                 และก็มีความเคลื่อนไหว ใน "รูปแบบ" ของตัวห้างออกมาอย่างต่อเนื่อง                มาลองทบทวนดูความเคลื่อนไหวดูอีกสักครั้ง               เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Casino Guichard-Perrachon หรือ กลุ่มคาสิโน ได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทรวมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขา จาก 60 สาขาในขณะนั้น คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท               การควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน บิ๊กซีได้ทำการรีโนเวตห้างคาร์ฟูร์ทุกสาขาให้กลายเป็น "บิ๊กซี" ทั้งหมด               โดยรูปแบบจะแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี มาร์เก็ต (เดิม